“ดอยตุง โมเดล” จาก “ตำราแม่ฟ้าหลวง” สู่ “ศาสตร์พระราชา”

“ดอยตุง โมเดล” จาก “ตำราแม่ฟ้าหลวง” สู่ “ศาสตร์พระราชา”


โครงการพัฒนาดอยตุงหรือ
“ดอยตุงโมเดล” คือการพลิกฟื้น
ดอยตุงจากพื้นที่ทุรกันดารให้เป็นพื้นที่ทำกินของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย 6
เผ่า ซึ่งในอดีตนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นไม่มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทำให้คนในพื้นที่อาศัยการทำไร่หมุนเวียน
ไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น ค้ายาเสพติด กลายเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดขนาดใหญ่ที่สุด

              กระทั่งมีการพัฒนาอย่างมีระบบแบบแผนและมียุทธศาสตร์
ทำให้
ภูเขาหัวโล้นกลายเป็นพื้นที่ป่า การทำไร่หมุนเวียนหมดไป
มีป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอยและป่าเศรษฐกิจมาแทนที่ 
ทุกคนได้รับสัญชาติไทยได้เข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งเป็นการ
สร้างคนด้วยความรู้และการศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองได้เข้มแข็ง
ยืนบนลำแข้งของตนเองได้ในที่สุด

               ปัจจุบันชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย
มีอาชีพหลักเป็น
เกษตรกรรับจ้างและพนักงานของโครงการสามารถเพิ่มรายได้จากในอดีตเฉลี่ยไม่ถึง
4,000 เป็น 12,000 บาทต่อคนต่อปี โดยรัฐบาลร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ได้น้อมนำองค์ความรู้ของ
ศาสตร์พระราชาและ ตำราแม่ฟ้าหลวงเรื่องของการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำไปปรับใช้
ในโครงการปลูกป่าสร้างคนบนวิถีพอเพียง เพื่อรักษาต้นน้ำ และบรรเทาอุทกภัย
ในพื้นที่ 250,000 ไร่ ใน 3 อำเภอ ของจังหวัดน่าน

               ทั้งนี้การดำเนินโครงการดังกล่าว
เป็นไปเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ รวมทั้งให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
และส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน  ผลการดำเนินการในขณะนี้ ทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขึ้น
จาก 40 % เป็น 60 % 
และเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูง ให้เป็นป่าเศรษฐกิจได้
และมีผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวโพด 
รวมทั้งช่วยลดการเกิดไฟป่า จาก 76,000 กว่าไร่ เหลือเพียง 89 ไร่ ในปี 2558

              ขณะเดียวกันรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้นำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ตาม
ดอยตุงโมเดลไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์บูรณาการ สำหรับการจัดการป่าเสื่อมสภาพ
บนพื้นที่สูงชัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ใน 13 จังหวัดภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งในปีนี้นั้น รัฐบาลได้น้อมนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ไปใช้ใน 3
จังหวัดชายแดนใต้ โดยการบูรณาการหน่วยงานของรัฐ อย่างมียุทธศาสตร์ เสริมด้วยกลไก
ประชารัฐในพื้นที่

             ปัจจุบันนั้น
ศาสตร์พระราชาภายใต้ ดอยตุง
โมเดล
ได้รับการยกย่องและยอมรับ จากประชาคมโลก
ให้เป็นแบบอย่างของแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
หลายประเทศนำไปขยายผล อาทิเช่นโครงการส่งเสริมปศุสัตว์และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ธนาคารแกะ ครอบคลุม 500 ครัวเรือน ใน 15 หมู่บ้าน จังหวัดบัลห์
สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน และโครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน
จังหวัดอาเจะห์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของชาวอาเจะห์
และเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด หลังต้องเผชิญกับภัยพิบัติ “สึนามิ” และประสบความขัดแย้งภายในประเทศมานานกว่า
30 ปี

             เช่นเดียวกันกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
(
UNGA)
ได้ให้การรับรอง ศาสตร์พระราชาเป็น หลักปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก
(
UNGPs)”

 ที่มา : Thaiquote 

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค Thaiquote.org

ทวิตเตอร์ @ThaiQuoteORG

สนใจลงโฆษณาติดต่อด่วน
[email protected]

โทรศัพท์
022463270