การรวมกลุ่มของเกษตรกร
–
การสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มอาชีพ
“กลุ่มพลังเกษตรกร” ในพื้นที่เดียวกัน
เพื่อให้เกิดช่องทางใหม่ มีผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นมวลรวม ควบคุมคุณภาพเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง
รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งในสหกรณ์ภาคการเกษตรกว่า 4,000 แห่ง
จัดให้มีการลงทะเบียนที่ชัดเจนเพื่อสะดวกในการที่รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือ
การบริหารและการกำหนดนโยบายของรัฐบาล
“ศาสตร์พระราชา” สู่ “ศูนย์การเรียนรู้”
–
หน่วยงานราชการของแต่ละกระทรวงฯที่ได้น้อมนำ
“ศาสตร์พระราชา” มาจัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” กว่า 10,000 แห่ง ทั่วประเทศ
ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่, ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
และศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อจะสร้าง “Smart
Farmer” เกษตรกรยุคใหม่
–
การรวมกลุ่มตาม “โครงการข้าวขวัญสุพรรณ”
ซึ่งน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ในเรื่อง “การระเบิดจากข้างใน” ของมูลนิธิขวัญข้าว, สมาคมโรงสีข้าวสุพรรณบุรี
และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ในการร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง คือ “ขาวตาเคลือบ”
ผลิตเป็นข้าวปลอดสารพิษ
ภาพรวมโครงการ
“เกษตรแปลงใหญ่”
–
รัฐบาล
สามารถดำเนินการได้แล้ว จำนวน 600 แปลง
ด้วยอาศัยกลไก “ประชารัฐ” มีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์แล้ว ราว 97,000 ราย
ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1.5 ล้านไร่
–
“สินค้าข้าว”
สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ย ร้อยละ 13 และลดต้นทุนการผลิตได้ ร้อยละ
19 และยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกร
ในเรื่ององค์ความรู้, การบริหารจัดการ, การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, การแปรรูป, การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการตลาด เป็นต้น
–
ในปี 2560 มีเป้าหมาย “เพิ่มเติม” อีก 400 แปลง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่
ที่ตามแนวทางพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงมุ่งหวังให้เกิดการรวมกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชุมชนชนบท ดังเช่นการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริ
โครงการบริหารจัดการน้ำ
แนวทางแห่ง “ศาสตร์พระราชา”
–
การใช้ Agri
Map (แผนที่ทางการเกษตร)
เป็นเครื่องมือในการกำหนดพื้นที่ทำเกษตรกรรม ให้สอดคล้องกันทั้งมิติของ “ประเภทพืช – พื้นที่ – ฤดูกาล
– ปริมาณน้ำ – และตลาด”
–
ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ การน้อมนำแนวทางพระราชดำริ
มาประยุกต์ใช้ในแผนงานการบรรเทาอุทกภัย พื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ตาม“โครงการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ”
ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่น้ำท่วมได้
ถึง 3.58 ล้านไร่ ใน 14 จังหวัดภาคกลาง
การศึกษา กับ การพัฒนาประเทศ
–
การบริหารจัดการ “โรงเรียนขนาดเล็ก”โดยกำหนดเป็นโครงการ“โรงเรียนดีใกล้บ้าน” หรือ “โรงเรียนแม่เหล็ก” สำหรับเป็นโรงเรียนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ให้มีคุณภาพการศึกษา
ที่ดีและได้มาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนที่อยู่ในเมือง
หรือในโรงเรียนขนาดใหญ่
ให้มีความเท่าเทียมกันในอนาคต
–
น้อมนำแนวทางพระราชดำรัส
ที่ว่า “เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ
ที่ว่าจะอบรมโดยใช้สื่อที่ก้าวหน้าที่มีเทคโนโลยีสูงแต่เพียงอย่างเดียวนั้นเป็นเรื่องยากที่สุด ไม่มีอะไรทดแทนคนสอนคนและการอ่านจากหนังสือได้”แสดงให้เห็นว่า “ครู– อาจารย์”
มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะสอนคนให้เป็นคน
–
การใช้กลไก “ประชารัฐ” ภายใต้โครงการ “คอน-เน็ต-อี-ดี”
(CONNEXT-ED) เพื่อจะดูแลโรงเรียนในช่วงแรก จำนวน 3,342
โรงเรียน และขยายผลให้ครบ 7,424
โรงเรียนในปี 2560 ให้เป็น “โรงเรียนต้นแบบประชารัฐ”
–
“กองทุนการศึกษาวิจัย”
เพื่อเพิ่มศักยภาพ การค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตใน 4 ด้าน
คือBio, Nano, Robotic และ Digital ให้สอดคล้องกับนโยบาย
“ไทยแลนด์ 4.0” ในการผลิต “แรงงานมีทักษะฝีมือ” เพื่อป้อน 10
อุตสาหกรรมเป้าหมาย