จาก ไทยแลนด์ 4.0 สู่ SMEs – StartUp ฟันเฟืองเล็ก ๆสร้างเศรษฐกิจ“บิ๊กเบิ้ม”

จาก ไทยแลนด์ 4.0 สู่ SMEs – StartUp ฟันเฟืองเล็ก ๆสร้างเศรษฐกิจ“บิ๊กเบิ้ม”


1.เปลี่ยนจากเกษตรดั้งเดิมมาเป็นเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีและการบริหารจัดการมาขับเคลื่อนเกษตรกรรม

2.เปลี่ยนจาก SMEs มาสู่การทำธุรกิจแบบ StartUp
โดยนำเอาแนวคิดและไอเดียบรรเจิดมาเป็นตัวขับเคลื่อนและต่อยอด เพื่อเพิ่มรายได้สร้างให้เป็นธุรกิจที่มีมูลค่า

3. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่เติมเต็มไปด้วยความรู้
ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

และถึงแม้
SMEs
กับ START UP จะมีที่มาต่างกันชัดเจน  แต่เป้าหมายเดียวกันคือมุ่งพัฒนาธุรกิจให้รุดหน้าประสบผลสำเร็จ
เติบโตอย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ไทยแลนด์
4.0

ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานต่างตบเท้าเข้าร่วมให้การสนับสนุน
Model
START UP
ทั้งจัดการฝึกอบรม ให้การสนับสนุน Start Up รายใหม่ ๆ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมนวัตกรรมนั้นเพิ่มความเข้มแข็ง
ในธุรกิจนั้นๆ ให้เด่นชัดขึ้น 

ทั้งนี้หนึ่งในกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริม
StartUp
ตามแนวทางของกระทรวงการคลังมีขอบเขตคือ การส่งเสริมให้ StartUp
เข้าถึงแหล่งเงินทุน ผลักดันให้ StartUp มีความพร้อมในเชิงพาณิชย์
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้
StartUp และสานสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
StartUp

ขณะที่การสนับสนุนของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อผู้ประกอบการ
StartUp
และ SMEs เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยในปีงบประมาณ
2560 ภายใต้งบประมาณกว่า 850 ล้านบาท ถูกผลักดันในโครงการส่งเสริม
SMEs และ StartUp ผ่านกลยุทธ์ 3s

อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่
SMEs
มักประสบปัญหาด้านเทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรม ปัญหาด้านการตลาด
การอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาด้านการเงิน ด้านบุคลากร
ด้านการจัดซื้อและปัจจัยการผลิต ด้านการบริหารองค์กรและกลยุทธ์ 

                ทั้งนี้ยังพบว่ามี 3 อุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบและมีอุปสรรคมากที่สุด ได้แก่
อุตสาหกรรมเซรามิก และแก้ว
,อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน ซึ่งทั้ง
3 อุตสาหกรรมถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
และหาก
SMEs ยังไม่สามารถปรับตัวหรือ ได้รับการพัฒนา
ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการจ้างงาน สัดส่วนการส่งออก
และสัดส่วนมูลค่าเพิ่มตามมาในระยะยาว          

ดังนั้นจึงต้องมีการจะพัฒนาโดยทั้ง
SMEs
ก็ดีหรือ StartUp จะต้องวางหลักหรือกลยุทธ์สำคัญใน
3 เรื่องสำคัญด้วยกันคือ  กลยุทธ์ที่ 1  Start มุ่งเน้นและสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่เริ่มต้นโยใช้เทคโนโลยี
เพื่อความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดเล็ก 
กลยุทธ์ที่
2 Strong สร้างความเข้มแข็งและเสริมความสามารถให้กับผู้ประกอบการรายเดิม  กลยุทธ์ที่ 3 Sustain เน้นผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาด้านการแข่งขัน
เช่นมีธุรกิจอยู่แล้วแต่ข้ามไปทำธุรกิจใหม่ๆ เช่น
ทำอาหารอยู่แล้วข้ามไปทำอาหารที่เป็นออร์กานิค

SMEs
และ START UP จึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่ไทยแลนด์
4.0 การสร้างกลยุทธ์และส่งเสริมอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม
โดยเฉพาะในย่างก้าวที่ประเทศไทยเริ่มเดินหน้าเข้าสู่โลกเสรีแห่งประชาคมอาเซียน  หรือ เออีซี เช่นนี้