ตามไปดู! นโยบายแก้ปัญหาแรงงาน ยุคหุ่นยนต์มาแรง

ตามไปดู! นโยบายแก้ปัญหาแรงงาน ยุคหุ่นยนต์มาแรง


ล่าสุดรัฐบาลรื้อใหญ่ปรับบทบาทกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
จากผู้ฝึกอบรมเป็นผู้ส่งเสริมและควบคุมกติกาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการใช้กฎหมายและสิทธิประโยชน์ให้นายจ้างฝึกคนของตัวเองตามทักษะ
เพื่อปั้นแรงงานฝีมือให้ผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการอิสระในอนาคต
แทนการมุ่งเข้าสู่โรงงานหรือเป็นลูกจ้างอย่างเดียว

จับตายุทธศาสตร์แรงงาน 20 ปี

นายกรีฑา  สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิรูปและปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และฝีมือแรงงานของประเทศ  ตามนโยบายแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20  ปี ของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา 
เพื่อวางรากฐานประเทศและผลักดันให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
บนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงว่า
ในส่วนของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศนั้น
มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระดับมากถึงขั้นเปลี่ยนแปลงทั้งกรม
หรือเหมือนตั้งกรมใหม่ขึ้นมาเลย ทั้งการปรับปรุงบทบาท แนวคิด วิสัยทัศน์ ภารกิจ
และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ

 

ปรับฝีมือรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานต้องสร้างแผนแนวทางปฏิรูประยะ 20 ปีระหว่าง พ.ศ.2561 – 2580
ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศของรัฐบาล โดยระยะแรกมีแผนเร่งด่วน 1 ปีคือ พ.ศ.2560
มุ่งเน้นการ
Start
Up Skills Worker เน้นการเตรียมความพร้อมกำลังแรงงานไทยรองรับประเทศไทย
4.0 เช่น การปฏิรูปองค์การด้านวิสัยทัศน์และเป้าหมายหน่วยงาน
ปรับทัศนคติและวัฒนธรรมองค์การเพื่อการทำงานเชิงรุก การจัดโซนนิ่งการพัฒนาฝีมือแรงงานในรายจังหวัด
เน้นหนักการพัฒนาทักษะฝีมือรองรับ 10 อุตสาหกรรมศักยภาพเป็นหลัก
และการพัฒนาฝีมือแรงงานตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล
การปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการทำงาน และจูงใจภาคเอกชนด้วยสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
เป็นต้น

 

พัฒนาทักษะต่อยอดทางความคิด

จากนั้นขับเคลื่อนด้วยแผนแม่บท
20 ปี ระหว่าง พ.ศ.2561-2580 แบ่งเป็นช่วงละ 5 ปีคือระยะ 2 พ.ศ. 2561-2565  มุ่งเน้นเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (
Labour Productivity
เน้นการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ พัฒนาแรงงานไทยให้เป็นแรงงานฝีมือ มีทักษะที่หลากหลาย
(
Multi  Skills)
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี หรือการปรับตัวจากการใช้แรงงานเข้มข้นสู่การทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล
ต่อด้วยระยะ 3 พ.ศ. 2566-2570 มุ่งเน้นพัฒนาต่อยอดทักษะแรงงานไทยเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการ  มีนวัตกรรมทางความคิดในการบริหาร
การจัดการแนวใหม่ เป็นต้น

 

ผันตัวจาก ลูกจ้าง เป็น เถ้าแก่

สำหรับระยะสุดท้ายคือระยะ
4 และ 5
คือยุคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดนวัตกรรมให้สามารถเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ได้คือ
พ.ศ.2571 – 2575 มุ่งเน้นพัฒนาต่อยอดสร้างผู้ประกอบกิจการรายใหม่  เน้นการพัฒนาต่อยอดด้านการบริหารจัดการ  กลยุทธ์การตลาด การทำธุรกิจ เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะส่งเสริมให้องค์การเอกชนและสถานประกอบการดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานแก่ลูกจ้าง
ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
หรือสิทธิประโยชน์อื่นที่จะกำหนดเพิ่มขึ้นแก่สถานประกอบการเหล่านี้ด้วย

และระยะที่ 5 พ.ศ.
2576-2580 มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบกิจการ
SMEs ไทย  เน้นพัฒนาต่อยอดด้านความคิดเชิงระบบ
เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญาที่มีผลิตภาพสูง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง