เปลี่ยนผ่านประเทศไทยกับ กรณี “สมัครใจลาออก”

เปลี่ยนผ่านประเทศไทยกับ กรณี “สมัครใจลาออก”


ปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มนำเรื่องของเทคโนโลยีใหม่
ๆ เข้ามาใช้แทนแรงงานของมนุษย์ กระทั่งว่ากันว่าในอนาคตอันใกล้นี้เครื่องจักรกว่า
70
% จะถูกนำเข้ามาแทนที่แรงงานคน ซึ่งมิใช่เพียงประเทศไทยแต่ทั่วโลกก็เป็นเหมือนกันหมด
แม้กระทั่ง
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
ก็ยอมรับว่าการเปิดโครงการสมัครใจลาออกในช่วงที่ผ่านมาเพื่อปรับกระบวนการผลิตให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ของโลก               

จึงไม่แปลกหากนับจากนี้เราจะเห็นโครงการสมัครใจลาออก
หรือการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพื่อจัดสมดุลแรงงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต
ล่าสุดนายวิสุทธิ์
เรืองฤทธิ์ รองประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์
กล่าวถึงผลการสอบถามผ่านเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดต่าง
ๆพบว่า นอกจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการปรับลดคนงานแล้ว ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทอนิกส์ก็มีการเปิดโครงการสมัครใจลาออก
อาทิบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มีลูกจ้างจำนวน
3,667 คน เปิดรับสมัครลูกจ้างเข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก โดยมีลูกจ้างเข้าโครงการจำนวน
334 คน เป็นลูกจ้างรายวันฝ่ายผลิต 202 คน
และลูกจ้างรายเดือน
140 คน บริษัทเอชจีเอสที (ประเทศไทย) จังหวัดปราจีนบุรี
ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก
2,041 คน
ประกอบด้วยลูกจ้างฝ่ายผลิต
1,922 คน ช่างเทคนิค 119 คน แต่ได้รับการอนุมัติให้ลาออกจำนวน
352 คน ประกอบด้วยลูกจ้างฝ่ายผลิต 300 คน ช่างเทคนิค
52 คน  โดยบริษัทฯได้จ่ายสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและพิเศษนอกเหนือกฎหมายแรงงานครบถ้วน

                ในขณะที่ภาครัฐนั้นได้มองเห็นสัญญาณการเปลี่ยนผ่านมาก่อนหน้านี้
จึงสร้างนโยบายประเทศไทย 4.0 ขึ้นมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น
SMART
FARMER เกษตรยุคใหม่ การปั้น STARTUP นักธุรกิจยุคดิจิทัล
รวมถึงการจัดระบบการศึกษาผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อป้อนเข้าสู่
10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (
Next-generation
Automotive) 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(
Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4.อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture
and Biotechnology) 5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) 6.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม
(
Robotics) 7.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 8.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
(
Biofuels and Biochemicals) 9.อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) 10.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
(
Medical Hub) ซึ่งประเทศไทยได้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                นอกเหนือจากการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่
การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ
SMEs อีกหนึ่งสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญอย่างมากคือการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา
โดยมีนโยบายเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาของประเทศโดยรวมให้ได้
1 % ของจีดีพี จากที่หยุดนิ่งอยู่ในระดับ 0.4% ของจีดีพีมานานกว่า
20 ปี อาทิ การส่งเสริมบริษัทที่ใช้เงินลงทุนวิจัยและพัฒนาจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงถึง
300 % เป็นต้น

                ขณะที่ ไพบูลย์
พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

กล่าวกับสำนักข่าว
THAI QUOTE ว่า สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการถือเป็นเรื่องที่ดี
ซึ่งเรื่องนี้ควรจะทำมาตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมา
ยกตัวอย่างประเทศไต้หวันซึ่งปรับตัวมาก่อนหน้านี้ด้วยการสนับสนุนธุรกิจ
SMEs
อย่างเป็นระบบจนผู้ประกอบการของเขาสามารถผลิตสินค้าระดับโลกได้
หรือประเทศเกาหลีใต้ที่สร้างสินค้าชั้นนำของโลกก็เพราะให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานั่นเอง
               

                ในอนาคตมูลค่าการส่งออกของไทยจึงไม่ใช่มาจากการส่งออกสินค้าพื้นฐานหรือสินค้าที่อาศัยการลงทุนจากต่างชาติเหมือนที่ผ่านมา
แต่จะเกิดจากสินค้านวัตกรรมที่สร้างด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีมูลค่าสูงและเม็ดเงินทั้งหมดตกอยู่กับประเทศไทย
เพื่อหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
  (middle Income countries) ไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่มีฐานะร่ำรวย (high
income countries)
 

                เริ่มต้นช้า ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มต้น!!! 

ที่มา : thaiquote