แม้ว่าโครงการนี้จะเต็มไปด้วยปัญหาอุปสรรคนานัปการ เริ่มตั้งแต่เม็ดเงินลงทุนที่ต้องใช้จำนวนมหาศาลมากกว่า
1.2 แสนล้านบาท และมีทีท่าจะสะดุดครั้งแล้วครั้งเล่า
อย่างไรก็ตามในมุมมองของภาคเอกชนอย่าง นิยม ไวยรัชพานิช ประธานคณะกรรมการการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
หอการค้าไทย ซึ่งติดตามโครงการนี้อย่างใกล้ชิดยืนยันว่า..ไม่มีทางที่โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายจะถูกพับเก็บ
เนื่องจากเป็นโครงการระดับประเทศ
เป็นการคุยกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ ประกอบกับเมียนมาก็หวังจะให้ทวายจุดประกายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ล่าสุดบริษัท อิตาเลียนไทย
ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับสัมปทานในการบริหารโครงการทวายพร้อมเดินหน้าเฟสที่
1 บนพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร ได้จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เสร็จเรียบร้อยแล้ว และการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรมว.ต่างประเทศ
สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย. 2559 นี้จะมีการหยิบยกเรื่องนี้มาหารือกับรัฐบาลไทย
โดย
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายจะเป็นวาระหนึ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
จะหารือกับนางออง ซาน ซูจี ซึ่งโครงการทวายเป็นจุดสำคัญของเมียนมา
เพราะเป็นโครงการที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจเมียนมาได้ เพราะไม่ได้เป็นเพียงเมืองท่า
แต่เป็นเส้นทางที่จะสร้างประโยชน์ในด้านการค้าการลงทุนทั่วภูมิภาค
“ทวายเป็นจุดสำคัญ
ถ้าเมียนมาสามารถจัดการให้ทวายเป็นแหล่งกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ประเทศเขาได้
ไม่ใช่เป็นแค่เมืองท่า ถ้าทำให้ได้ดีพอก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
และเป็นประโยชน์ร่วมกัน” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
ธีรชัย ชุติมันต์
ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยกับสำนักข่าว THAIQUOTE ว่า การเดินทางมาเมืองไทยของออง
ซาน ซูจี จะทำให้นักลงทุนเห็นความชัดเจนของโครงการนี้มากขึ้น
หากเดินหน้าสร้างตั้งแต่วันนี้ โครงการเฟส 1 จะแล้วเสร็จและดำเนินธุรกิจได้ภายใน 3
ปี การค้าชายแดนจะคึกคักขึ้นอย่างมาก ในขณะที่การขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก
หรือจากตะวันตกมาตะวันออกจะลดเวลาลง โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าการเจรจาโครงการทวายในครั้งนี้จะสัมฤทธิ์ผลด้วยดี
เนื่องจากเมียนมากำลังเปิดกว้างด้านการลงทุน และต้องการให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนภายในประเทศ
ซึ่งทวายเป็นจุดดึงดูดสำคัญที่สุด
ที่มา : thaiquote