เงินเฟ้อคืออะไร? เฟ้อแล้วดีหรือเปล่า?

เงินเฟ้อคืออะไร? เฟ้อแล้วดีหรือเปล่า?


 ถ้าจะอธิบายความถึงความหมายของคำว่าเงินเฟ้อ ก็คือค่าของเงินที่ลดลงหมายความว่ามีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยลง
เช่น เคยซื้อไข่ไก่ใบละ 2 บาท แต่ปัจจุบันไข่ไก่ขึ้นราคาเป็นใบละ 2.50 บาท เงิน 2
บาทก็ไม่สามารถซื้อไข่ไก่ได้ ต้องควักเงินเพิ่มอีก .50 บาท
โดยปกติแล้วหากเงินเฟ้อสูงขึ้นนิดหน่อย ไม่เกิน 5 % เรียกเงินเฟ้ออย่างอ่อน : Mild inflation ถือเป็นสิ่งที่ดีที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้
เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตมีการลงทุนขยายการผลิต และมีการจ้างงาน
ซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้ดี ไม่มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ และสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (
Hyper inflation) จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง
ด้วยการกำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ยกตัวอย่างการควบคุมค่าโดยสารรถสาธารณะ
การควบคุมราคาน้ำมัน เป็นต้น
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด

                ล่าสุด นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (
CPI) เดือน
พ.ค.59 อยู่ที่ 107.02 ขยายตัว 0.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่
2 และกลับมาเป็นบวกสูงสุดในรอบ 17 เดือน นับจากเดือนธันวาคม 2557
จากการปรับขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ
15.71 ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37
รวมทั้งหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ราคาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.15
อย่างไรก็ตามเมื่อรวมระยะ 5 เดือนแรกปีนี้อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบร้อยละ 0.20

             ทั้งนี้
กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2559 ว่าจะขยายตัวเป็นบวกในกรอบร้อยละ
0-1 ตามเดิม แม้สภาพอากาศเริ่มมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงและมีผลให้อัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลง
แต่คาดว่าสินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างจะเป็นตัวดึงอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังตามโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
รวมทั้งมาตรการสนับสนุนกำลังซื้อของภาคครัวเรือนจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจ คาดว่าไตรมาส
3 อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวร้อยละ 1 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้งราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ในกรอบ
30-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง 36-38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ในทางกลับกันคำว่าเงินฝืด ถ้าจะอธิบายความเงินฝืดหมายถึงผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อสินค้าทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าจูงใจให้เกิดการซื้อ
ถ้าเกิดภาวะเงินฝืดมากๆจะเกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจ
เนื่องจากผู้ประกอบการลดการจ้างงาน ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความเป็นอยู่ของประชาชน