120 ปีไทย-รัสเซีย “ลุงตู่” หวังเชื่อมสัมพันธ์แบบพลวัต

120 ปีไทย-รัสเซีย “ลุงตู่” หวังเชื่อมสัมพันธ์แบบพลวัต


เรื่องต่อมาเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน อยากขอชมเชยการที่มีเกษตรกรจำนวนมากเข้าร่วม“เกษตรแปลงใหญ่” หรือการจัดทำแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการหลายมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในเรื่องของเงินทุน เมล็ดพันธุ์ เครื่องไม้เครื่องมือในการทำไร่ทำนา และได้มีการปรับปรุงกฎหมายการทวงถามหนี้  การให้เช่าที่นาไม่ให้มีราคาแพงเอาเปรียบชาวไร่ชาวนามากเกินไป  

    สำหรับประเด็นต่อมามองเรื่องการสร้างอนาคตของประเทศโดยมีนโยบายขับเคลื่อนที่เรียกว่า  “ประชารัฐ” เป็นการประสานพลังประชารัฐ เน้นไปในเรื่องของประชาชนกับรัฐ และการขับเคลื่อนที่มีคณะสานพลังประชารัฐ 12 คณะ  เป็นการทำงานของภาครัฐและเอกชนเป็นคู่ขนาน กลุ่มต่าง ๆ ทั้ง 12 กลุ่มไปจับคู่กับภาครัฐของแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบงานโดยตรงกับรัฐมนตรีกับคณะทำงาน  และล่าสุดได้มีการตั้งบริษัทประชารัฐจำกัดของจังหวัดหรือ Holding  ที่มีสัดส่วนถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และประชาชนถือหุ้น โดยประชาชนสามารถตรวจสอบได้  ฝ่ายภาคเอกชนก็จะช่วยในการบริหารในระยะแรก ต่อไปวันหน้าเมื่อประชาชนแข็งแรงสามารถขึ้นมาบริหารเป็นประธานบริษัทเองได้ ทุกอย่างจะโตมาจากพื้นที่ไปสู่จังหวัดไปสู่กลุ่มจังหวัดและภูมิภาคโดยการประสานพลังประชารัฐ เพราะฉะนั้นก็ไม่อยากให้ขัดแย้งและบิดเบือนข้อมูลกัน 

      อีกประเด็นที่สำคัญคือวันที่ 17-20  พ.ค.2559 นายกรัฐมนตรีกำหนดเดินทางร่วมประชุมผู้นำอาเซียน-รัสเซียสมัยพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 20 ปีของความสัมพันธ์ ตามคำเชิญของนายดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย และการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-รัสเซียครบ 120 ปี (2560) โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงหารือว่าจะร่วมมืออะไรได้บ้างเพื่อสร้างความร่วมมือแบพลวัต คือรวดเร็ว และต้องทำสัญญาอะไรบ้าง การสร้างมิติใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันที่เรียกว่า Partner Ship  เพื่อนำประเทศไปสู่ยุคใหม่คือยุคอุตสาหกรรม 4.0  การพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีคุณภาพเป็นไปตามหลักสากล  การเคลื่อนย้ายแรงงานต่อไปมีการเคลื่อนย้ายง่ายขึ้นโดยเฉพาะในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) 

          รวมทั้งประเทศไทยหวังในการร่วมมือกับรัสเซียในรอบ ๆด้านทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ก็มีหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของการเกษตร และการเติบโตทางเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เรื่องของพลังงาน เทคโนโลยีใหม่ ยุทโธปกรณ์ต่างๆที่มันมีความจำเป็น ในเรื่องของทหาร ยุทโธปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการบรรเทาภัยพิบัติ เครื่องไม้เครื่องมือของเราผลิตเองไม่ได้  เป็นสิ่งที่รัสเซียมีมากกว่าเรา แต่เราก็ต้องมีสิ่งต่างตอบแทน นั้นคือเรื่องอาหารและการเกษตร  ไม่ใช่การไปแลกกัน เพียงแต่ต่างคนก็ต้องต่างซื้อสินค้าในปริมาณที่มากๆเท่าเทียมกันเพื่อจะได้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

                   และสิ่งสำคัญก็คือ อย่ามองเรากับรัสเซียอย่างเดียว เราต้องมองตัวเรากับอาเซียนว่าประโยชน์จะเกิดกับฝ่ายเราก็คือ ไทยจะต้องเชื่อมไทยบวกหนึ่งกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อเชื่อม สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย  5 ประเทศ ได้แก่  รัสเซีย  อาเบเนีย เบรารุส คาซักสถาน และ คีกีส หากเชื่อมโยงได้สำเร็จจะส่งเสริมสร้างรายมูลค่าให้ทั้ง 2 ข้างก็มหาศาล จะได้เพิ่มพูนปริมาณการค้าการลงทุน ขยายโอกาสสินค้าส่งออกของไทย สินค้าอาเซียนด้วยอะไรด้วย 

                ในการเดินทางครั้งนี้ได้นำคณะนักธุรกิจไทยที่ประสงค์จะลงทุนในรัสเซียร่วมเดินทางไปด้วย และส่วนหนึ่งประสงค์เดินทางไปด้วยตนเอง  เพื่อสร้าง Business Matching  ให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจมีการลงนามเซ็นสัญญาโดยร่วมกันเป็นสักขีพยานหรือมาอยู่ในการประชุมเพื่อกลับมาจะได้สามารถขับเคลื่อนต่อไป 

                สำหรับประเด็นสำคัญอีกประเด็น การประชุมใหญ่ นายกฯพบเพื่อนครู “คืนความสุขให้ครู คืนครูให้นักเรียน”   เพื่อการศึกษาสร้างคนสร้างประเทศ   ขอขอบคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ทำงานหนักมายาวนาน การเป็นครูไม่ใช่เรื่องง่าย  ครูก็เหมือนเป็นพ่อแม่ของเด็กนักเรียน และตนก็เป็นลูกครู และยังเป็นครูทหาร  เข้าใจว่าเหนื่อย ต้องใช้สมอง ต้องใช้สติปัญญามากมาย วันนี้ต้องมาพิจารณาดูว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน จำนวนโรงเรียน คุณภาพโรงเรียนและการการศึกษามันมันสัมพันธ์กันหรือไม่ใน 5 แท่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน

             การแก้ปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณในด้านของการศึกษามันสูงมากเป็นลำดับต้นๆ แต่การพัฒนาการศึกษาไม่สมดุลกับรายจ่ายที่จ่ายไป ซึ่งเป็นความบกพร่องของรัฐบาลในการบริหาร และขาดความเป็นเอกภาพ ปัญหาการทุจริต  ซึ่งไม่ได้โทษครู  มองว่าส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์ มีความตั้งใจในการสอนสูง  แต่ต้องมาเผชิญกับปัญหาการบริหารที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้มีความสุข มีความสบายใจในการสอน วันนี้ก็อาจจะอึดอัดอยู่บ้าง รัฐบาลเข้ามาเพราะว่ามันมีปัญหาของประเทศชาติ  ต้องมาแก้ด้านการศึกษา เขาเรียกว่าการศึกษาที่จะสร้างคนสร้างประเทศ เพราะฉะนั้นทุกประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องหลัก  

                   การหาแหล่งเงินงบประมาณเพื่อให้นักเรียน จาก ป.1 ถึง ม.6 เรียนฟรีเหมือนเดิม จะต้องทำเรื่องเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับปรุงทางด้านการเกษตร ผลผลิตราคาให้มันดีขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาที่รัฐ และรัฐก็จะนำเอารายได้เหล่านี้ ไปดูแลคนเรื่องการศึกษา เรื่องการพยาบาลแก่ประชาชน

                 สำหรับประเด็นที่อยากฝากไว้คือใกล้ถึงวันวิสาขบูชาแล้ว ก็ขอให้เตรียมตัวไปทำบุญทำทาน เข้าวัดฟังธรรม ฟังเทศน์  ตามความศรัทธาของแต่ละคน  เพราะทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี และเชิญร่วมจิตศรัททา รวมกันบริจาคเงินแล้วกัน ในการสมทบทุนกันก่อสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราตามสมัครใจ มีมากก็ทำมาก มีน้อยก็ทำน้อย ตามโครงการที่ “ทำดีได้ ด้วยปลายนิ้ว” โดยบริจาคเงินผ่านมือถือ โทรออก 1 ครั้ง เป็นเงินบริจาค 100 บาท รายละเอียดติตามได้ตามสื่อต่างๆ