จาก “ไชน่าทาวน์พระราม
9” สยายสู่ ขอนแก่น-เชียงใหม่
ภายหลังเกิดโครงการ
“ไชน่าทาวน์” บริเวณถนนพระราม 9 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานทูตจีนประจำประเทศไทย รวมถึงได้ซื้อตึกในโครงการแกรนด์พระราม
9 ยกตึกจำนวน 80 ยูนิต เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่
รวมถึงมีชาวจีนซื้อห้องชุดอีกกว่า 100 ยูนิต ในบริเวณใกล้เคียงกันเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว
ขอนแก่นเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ชาวจีนถือเป็นทำเลทอง
จับจองไว้ทำมาหากิน เพราะขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและเป็นจุดกึ่งกลางของเส้นทางประเทศในแถบระเบียงเศรษฐกิจ
(East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแพนเอเชีย คุนหมิง-สิงคโปร์
วิ่งผ่านทำให้ที่ดินถูกจับจองจนแทบจะไม่เหลือพื้นที่ว่าง รวมถึงโครงการจัดสร้างนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว
หรือกรีนซิตี้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตของกลุ่มทุนจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ที่จะเข้ามาลงทุนในขอนแก่นจำนวนมาก
นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังลงทุนซื้อที่ดินเบื้องต้นจำนวน
200 ล้านบาท
เพื่อจัดตั้งสถานกงสุลที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเมืองไทย นอกเหนือจากกรุงเทพฯ
เชียงใหม่ และ สงขลา การจัดตั้งสถานกงสุลขนาดใหญ่ในหลาย ๆ แห่งของจีนบ่งบอกถึงการยึดขอนแก่น
เพื่อใช้ฐานการค้าและฐานการเชื่อมโยงกับทั่วโลก ซึ่งไม่ต่างจากจังหวัดในช่วงก่อน
จับตา ‘ภูเก็ต’ ทำเลทองแห่งใหม่
เมื่อเชียงใหม่ ขอนแก่น ยังเป็นที่จับตามองของนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่แล้ว
มีหรือที่ “ภูเก็ต”จะถูกเมิน! กลิ่นอาย “ดอลลาร์”ยังไม่ทันจางหายกระแสเงิน “หยวน” ก็โชยมา
ภูเก็ตได้รับการกล่าวขานให้เป็นแหล่ง‘ดอลลาร์โซน’ แต่ในช่วง 5 ปีหลังกระแสการเข้าไปลงทุนจีนเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเริ่มจากการเข้ามาท่องเที่ยวและเปิดร้านขายอาหาร ขายของที่ระลึก ซึ่งประตูจังหวัดภูเก็ตมิเคยปิดกั้นกระแสทุนจากทั่วโลกอยู่แล้ว
ที่ผ่านมาคนภูเก็ตมีวิธีปรับตัวให้อยู่กับชาวต่างประเทศแบบวิน-วินด้วยกันทั้งสองฝ่าย
แต่กับนักธุรกิจชาวจีนชาวภูเก็ตจะต้านอยู่หรือไม่หรือจะซ้ำรอยจันทบุรีกับระยอง
ท่องเที่ยวขนมหวานชิ้นโต
ท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จีนมีความได้เปรียบ
เนื่องจากคนจีนนิยมเข้ามาเที่ยวในเมืองไทยจากตัวเลขนักท่องเที่ยว 26-28 ล้านคน
เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนกว่า 8 ล้านคน หรือกว่า 40 %
บริษัททัวร์ของจีนจึงสามารถควบคุมระบบบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จัดคณะทัวร์เองเมื่อเข้ามาถึงเมืองไทยก็ใช้บริการบริษัททัวร์ของคนจีนที่เข้ามาเปิดอยู่ในเมืองไทย
ซื้อสินค้าในร้านของผู้ประกอบการจีน เท่ากับว่ารายได้ 80% จากธุรกิจท่องเที่ยวตกอยู่ในมือผู้ประกอบการคนจีนทั้งหมด
ธุรกิจจีนที่นิยมลงทุนในเมืองไทย
สำหรับธุรกิจที่ชาวจีนนิยมลงทุนในเมืองไทยคือ 1.ผลิตภัณฑ์การเกษตร
2.แร่และเซรามิก 3.อุตสาหกรรมเบา
และสิ่งทอ 4.ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 5.เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 6.สารเคมีและกระดาษ
7.การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายต่อไป
จีนมีเป้าหมายที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียน
รวมถึงส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะสินค้าจีนที่ถูกกีดกันจากการส่งออก
นอกจากนี้ยังส่งกลับไปจำหน่ายในจีน เนื่องจากสินค้าหลายอย่างผลิตในไทยมีต้นทุนถูกกว่า
เช่นยางรถยนต์ซึ่งไทยมีวัตถุดิบคือยางพารา ยกตัวอย่างในช่วง 2-3
ปีที่ผ่านมามีทุนจีนทยอยเข้าไปลงทุนแปรรูปยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น
8 ปัจจัยดึงดูดจีนมาไทย
ปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้จีนเข้ามาลงทุนในเมืองไทยคือ 1.ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้า
การลงทุน การผลิตและส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียน 2.ระบบสาธารณูปโภค
3.ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพ 4.มีวัตถุดิบในการผลิต และแรงงานมีศักยภาพ 5.ที่ตั้งภูมิศาสตร์ที่มีความโดดเด่น
6.มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืนที่เป็นทิศทางเดียวกับประเทศต่างๆ
ทั่วโลก 7.มีอุตสาหกรรมสนับสนุนหลากหลายที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของภาคการนำเข้า
8.ความใกล้ชิดกันมานานของประชาชน 2 ประเทศ
มูลค่าการลงทุนของจีนในไทย
ปี 2558 ที่ผ่านมา
ยอดการลงทุนของนักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยมีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท
สูงจากอัตราปกติที่มีมูลค่าลงทุน 30,000 ล้านบาท
และคาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะเห็นภาคเอกชนจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากกว่า
100,000 ล้านบาท
เมื่อมองภาพรวมด้านการแข่งขันในเชิงธุรกิจแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะต่อต้านการไหลบ่าของทุนจีน
ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านรายรอบของไทยไม่ว่าจะเป็น ลาว เมียนม่า หรือ กัมพูชา
ได้อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มทุนจากจีนแบบอ้าซ่า หนุนจีนลงทุนเป็นเจ้าของเศรษฐกิจพิเศษได้ถึง
99 ปี และต่ออายุได้ 5 ครั้งๆละ 20 ปี เพราะทุนจีนเข้าไปจับจองหัวใจของระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด
ในส่วนไทยนั้นเมื่อต้านทานกระแสไม่อยู่การเปลี่ยนจากศัตรูให้เป็นพันธมิตรร่วมทุนคือทางออกที่ดีที่สุด