ถอดสองมุมมอง จีนปล่อยน้ำลงโขง “น้ำใจ” หรือ “น้ำลาย” ?

ถอดสองมุมมอง จีนปล่อยน้ำลงโขง “น้ำใจ” หรือ “น้ำลาย” ?


บนสิ่งที่ถูกตีความว่า
“ช่วยเหลือ” เป็น “น้ำใจ” แต่กระแสโซเชียลและหลายฝ่ายในประเทศไทย
กลับมองเรื่องการปล่อยน้ำในครั้งนี้เป็นเชิงลบ และโน้มเอียงไปเรื่องของความเดือดร้อนเกษตรกรที่เกิดขึ้น
จากการปล่อยน้ำที่ใช้คำว่า “ผิดธรรมชาติ” เป็นแค่ “น้ำลาย” ที่พยายามสร้าง
“บุญคุกณ” ให้กับประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่เป็น “ต้นเหตุ”
ที่แท้จริงของปัญหา

ฟังเสียงจาก
“นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ
และสมาชิกเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
เปิดเผยว่า
จีนได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนจิงหง
แม่น้ำโขงโดยระบุว่าเป็นการช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่ประเทศท้ายน้ำ ซึ่งจริง ๆแล้วปัญหาแม่น้ำโขงต้องพิจารณาว่าปัญหาเกิดจากอะไร
การแห้งของแม่น้ำโขงทุกวันนี้สาธารณชนมองไปที่จีนอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแม่น้ำสาละวินที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน
แถบเขาหิมาลัย แม่น้ำสาละวินกลับไม่พบปัญหานี้เลย 

การที่จีนประกาศปล่อยน้ำลงมาตอนนี้เหมือนมีบุญคุณกับประเทศท้ายน้ำ
กลายเป็นข้อสังเกตว่าจีนเอาน้ำมาจากไหน? และจีนมีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงถึง 6 เขื่อนเท่ากับมีการกักเก็บน้ำไว้เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
หรือประโยชน์ในด้านอื่นใช่หรือไม่? และใครกันแน่คือตัวสร้างปัญหาที่แท้จริง  ตั้งแต่สัปดาห์นี้มาแม่น้ำโขงเพิ่มระดับขึ้นเห็นชัดเจน
แต่ตามฤดูกาลแล้วนั้นฤดูแล้งหลายเดือนชาวบ้านมีกิจกรรมหลายอย่าง และได้ใช้พื้นที่ริมโขงทำการปลูกผักปลูกพืช
แต่เมื่อน้ำขึ้น ๆ ลง ๆ ความผันผวนตามการใช้งานของเขื่อนกลับเกิดปัญหาตลิ่งพัง ซึ่งการปล่อยน้ำเพื่อดันน้ำทะเลใช่ว่าดีเสมอไป
ที่สำคัญคือเขื่อนที่กั้นแม่น้ำโขงทำให้เกิดความสับสนในการจัดการน้ำไปหมด ซึ่งประชาชนริมแม่น้ำโขงไม่ใช่ว่าหน้าแล้งอยากได้น้ำเยอะ
ๆ อย่างที่เจ้าของเขื่อนอ้าง แต่การให้แม้น้ำโขงเป็นไปตามธรรมชาติเป็นไปตามฤดูกาล
น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า
นายนิวัฒน์กล่าว

จากข้อมูลของเครือข่ายประชาคมที่ตั้งโจทย์
ระบุถึงการปล่อยน้ำในครั้งนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหา และการบริหารจัดการน้ำของจีนคือปัญหาที่แท้จริง
รวมถึงการหยิบยกเอาความเดือดร้อนของเกษตรกร
ที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำในครั้งนี้ของจีน ที่เป็นตัวการสร้างความเดือดร้อนในเวลานี้

จริงเท็จประการใด
ต้องลองพิจารณาจากข้อมูลรอบด้าน ในอีกมุมมองหนึ่งของ “นายสุพจน์
โตวิจักษ์ชัยกุล”  
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
เปิดเผยกับ
THAI QUOTE
เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “เขื่อนจากจีนที่ปล่อยน้ำมาไม่ได้ปล่อยตั้งแต่ตอนนี้
ปล่อยมาตั้งแต่กุมภาพันธ์แล้วและทางจีนมีหนังสือแจ้งโดยระบุชัดเจนว่า
เป็นการปล่อยน้ำเพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง จีนมีเขื่อนอยู่หลายเขื่อนสามารถปล่อยมาได้เยอะแต่เขื่อนส่วนใหญ่จะเป็นเขื่อนที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
ซึ่งการปล่อยน้ำของจีนในช่วงเวลานี้นั้นต้องยอมรับว่าถ้าปล่อยในปริมาณที่ไม่พอดีก็มีผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้าของประเทศจีนเช่นกัน

ส่วนที่เป็นข้อถกเถียงถึงการปล่อยน้ำในครั้งนี้แล้วเกิดปัญหาเกี่ยวกับเกษตรกรนั้น
คงต้องมามองกันในมุมนี้ด้วย ในฤดูแล้งนี้ซึ่งแล้งผิดปกติจากธรรมชาติแม่น้ำโขงเองที่ไหลผ่านหลาย
ๆ ประเทศ ก็ได้รับผลกระทบด้วย ในประเทศไทยเมื่อแล้งหนักกว่าปกติแม่น้ำโขงก็จะมีลักษณะเป็นสันดอนทราย
แต่ก็ยังมีความชื้นอยู่ เกษตรกรก็ลงไปเพาะปลูกกันบริเวณสันดอนทรายกลางแม่น้ำโขง
เมื่อทางจีนปล่อยน้ำออกมาก็เก็บเกี่ยวไม่ทันได้รับความเสียหาย

เรื่องการปล่อยน้ำของจีน
มีทั้งสองมุมคือจากเดิมแม่น้ำโขงมีน้ำไหลเฉลี่ย(ในช่วงแล้งปัจจุบัน) ประมาณ 800
ลูกบาศก์เมตร / วินาที ตลิ่งริมแม่น้ำโขงก็สูงเฉลี่ย 10 เมตร แต่เมื่อจีนปล่อยน้ำออกมาราว
2,000 ลูกบาศก์เมตร / วินาที ซึ่งสูงเป็นสองเท่า ก็เพิ่มระดับน้ำเพียงเมตรกว่า ๆ
จากตลิ่งเดิมที่สูงนับ 10 เมตร ซึ่งก็ถือว่ายังไม่ได้ผิดปกติมาก
ประชาชนสองฝั่งไม่ได้รับผลกระทบอะไร และก็ยังคงถือว่าแล้งอยู่ดี ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแม่น้ำโขงในฤดูน้ำหลากที่มีปริมาณน้ำในหลัก
1 – 2 หมื่น ลูกบาศก์เมตร / วินาที แล้ว ถือว่า การปล่อยน้ำนั้นไม่ได้มีผลต่อประชาชนสองฝั่งแม่น้ำโขงแต่อย่างใด

เรื่องการปล่อยน้ำในครั้งนี้มีทั้งส่วนที่ได้และเสีย
ส่วนที่เสียก็คือเกษตรกรที่ไปปลูกพืชในสันดอนทรายกลางแม่น้ำเก็บเกี่ยวไม่ทัน  แต่ส่วนดีก็คือเมื่อระดับน้ำมากขึ้น 1 เมตร
สองฝั่งแม่น้ำโขงตลอดแนวก็สามารถตั้งปั๊มสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง  ซึ่งกรณีการปล่อยน้ำของประเทศจีนนี้ได้แจ้งเตือนแล้ว
แต่เนื่องจากกรมทรัพยากรน้ำเราไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ไปแจ้งลักษณะนี้ จึงทำได้เพียงข้อมูลเรารวบรวมไว้ให้
เราแจ้งไปทางจังหวัด ทางกรมป้องกันฯ และแจ้งข้อมูลผ่านศูนย์เตือนภัยฯ  เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่มองได้หลากหลายด้านมีทั้งดีและไม่ดี

ส่วนกระแสที่ว่า
จีนตั้งใจปล่อยน้ำช่วยเหลือจริงหรือเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้น เรื่องนี้จีนได้แจ้งมาแล้วว่าเป็นการปล่อยน้ำเพื่อช่วยเหลือภัยแล้งจริง
ซึ่งถือเป็นมิติที่ดีสำหรับความร่วมมือที่จะบริหารจัดการน้ำร่วมกันในระดับภูมิภาค”
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าว

เมื่อเรื่อง
ๆ เดียวกันแต่มองกันไปในต่างมุมมอง จุดจบของเรื่องจะอยู่ตรงไหนในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำโขง
ระยะกลาง และระยะยาว คงต้องลองไปมองในเวทีใหญ่ เวทีเจรจาระดับรัฐบาล ระดับนโยบาย
แต่ในระยะสั้นที่เกิดขึ้นคือปัญหาภัยแล้งที่คงไม่ใช่แต่เพียงประเทศไทย
ที่ได้รับผลกระทบ แต่หลายประเทศในภูมิภาคนี้ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

กรณี
“จีนปล่อยน้ำ” คงจะมองแต่เพียงด้านเดียวจากประเทศเดียวไม่ได้
เรื่องนี้ต้องมองในหลากหลายมิติ หลากหลายพื้นที่และเป็นเรื่องที่ต้องหาข้อเท็จจริง
และข้อสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการแม่น้ำโขงในเวทีใหญ่ๆ ต่อไป