ลุงตู่ ย้ำจุดยืนไทย “ผู้สร้างสะพาน” แห่งอาเซียน

ลุงตู่ ย้ำจุดยืนไทย “ผู้สร้างสะพาน” แห่งอาเซียน


          สำหรับประเด็นของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯนั้น สิ่งที่เป็นจุดเยือนที่อาเซียนได้แสดงก็คือ 1. การส่งเสริมความมั่นคั่งของภูมิภาคผ่านกลไกทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย โดยอาศัยการขยายความร่วมมือ ในลักษณะเกื้อกูลกัน ควบคู่ไปกับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างเข้มแข็ง และก้าวไปด้วยกัน
     อันดันที่ 2. การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจุดยืนของไทยจะมีบทบาทเป็น “ผู้สร้างสะพาน” เชื่อมฝ่ายต่างๆ (Bridge builder) โดยการชูการพัฒนาตาม “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การร่วมมือตาม “ประชารัฐ” ของรัฐบาล เพื่อให้โลกบรรลุตามวัตถุประสงค์วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ร่วมกัน
    สำหรับเรื่องที่ 3. การรักษาสันติภาพและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ที่จำเป็นต้องเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน โดยสนับสนุนให้ใช้สถาปัตยกรรมและกรอบความร่วมมือเดิม แล้วเสริมประสิทธิภาพในการพูดคุยเจรจากัน ด้วยสายด่วนระดับนโยบาย – ระดับปฏิบัติการ ให้ทำงานร่วมกัน ที่ใกล้ชิดขึ้น และลดความหวาดระแวง
   ขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศอาเซียนและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมรับหลักการซันนี่แลนด์ (Sunnylands Declaration) ซึ่งว่าด้วยเรื่องการตอกย้ำเจตนารมณ์ ในการสนับสนุนและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกัน บนพื้นฐานของความเคารพในอิสรภาพ อธิปไตย และความเสมอภาคของทุกประเทศ โดยยึดมั่นในกฎระเบียบในภูมิภาคและระหว่างประเทศ  เชิดชูและปกป้องสิทธิและเอกสิทธิ์ของทุกรัฐ  แสวงหาแนวทางสันติร่วมกันในการแก้ปัญหาต่างๆ  และยืนยันสิทธิในการเดินเรือและการบินผ่านอย่างเสรี
   นอกจากนี้การเดินทางไปประชุมในครั้งนี้ ตนได้มีโอกาสพบปะหารือนักวิทยาศาสตร์ไทย จากสมาคมวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และกลุ่มนักวิชาชีพไทย สาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แสดงความห่วงใยบ้านเมือง ยินดีเสนอแนวทางช่วยประเทศของเขา โดยตนถือว่าเป็น “กลุ่มที่ 13” ของคณะทำงานร่วมรัฐเอกชน ประชาชน หรือ “ประชารัฐ”​     ทั้งนี้จากการหารือทุกฝ่ายเห็นตรงกันกับรัฐบาลในหลายๆ เรื่อง อาทิ (1) การผลักดันวิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันของประเทศ (2) การขับเคลื่อนการลงทุน ในนวัตกรรมตามนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ (3) การผลักดันการสร้างผู้ประกอบการ SME และการสร้างสตาร์ทอัพ (4) การขยายโอกาสกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ Digital Content  ศูนย์ Data Center การสร้าง Software Park การสร้าง Movie Town  การสร้างภาพยนตร์และการบริการธุรกิจสร้างภาพยนตร์  และ (5) การบริหารจัดการน้ำ ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ ในการแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเสีย ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่
     อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำหคัญและต้องเร่งดำเนินการก็คือ นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เพื่อการเข้าถึงบริการภาครัฐ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม  รัฐบาลมีนโยบายเดินหน้า (1) โครงการยกระดับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคุลมทุกหมู่บ้าน ทั่วประเทศ (2) โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ให้สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับต่างประเทศ