“Thailand Startup” พลิกโฉมหน้าประเทศ

“Thailand Startup” พลิกโฉมหน้าประเทศ


ที่ตำบลบึงปลาทู
อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ อาทิเช่น
การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ในการทำการเพาะปลูกพืชตามที่รัฐบาลได้ให้คำแนะนำไป แล้วก็ได้เข้าถึงกองทุนต่าง
ๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไปทำให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง
แล้วก็ตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืนระยะที่
2 เกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมด เราก็ได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ
เอกชน ประชาชนได้ร่วมกันขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล
ตั้งแต่ กกร. ลงไปถึง กรอ. ลงถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน    สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้ง ที่ผ่านมานั้นได้มีการทำนาปรังสูงขึ้นถึง
268,000 ไร่แต่หลังจากรัฐบาลได้ขอความร่วมมือใจากพี่น้องเกษตรกรให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้
เนื่องจากอาจจะเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้งก็ได้รับความร่วมเป็นอย่างดีในพื้นที่

 

              เรื่องของการขอความร่วมมือของการทำนาปรังลดลงเหลือเพียง
7,135 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่นั้นปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น
ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว
แล้วก็ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้นก็สามารถทำให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลาง
จากตลาดไทมารับซื้อถึงเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของนโยบายประชารัฐของรัฐบาลอย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร
คือถ้าทำตรงกับนโยบายทำตามสิ่งที่แนะนำมันก็เร็วขึ้นเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญก็คือรัฐบาลก็ต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูก
แล้วก็การตลาด พร้อมสนับสนุนในเรื่องของเครื่องมือ เครื่องใช้

 

               เรื่องโครงการฟื้นฟูสระเก็บน้ำ
บ.หนองดู่ 400 ไร่ เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชัยนาทซึ่งให้รองนายกรัฐมนตรีประวิทย์ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่
และใช้งบประมาณในส่วนของรองนายกรัฐมนตรี
สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง มีชาวบ้านร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนซื้อพื้นที่หาพื้นที่
ร่วมกันบริจาค แล้วก็ทำให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำเป็นผลสำเร็จ ภาครัฐก็เข้าไปสนับสนุน
วันนี้ก็มีน้ำเข้าไปเป็นจำนวนมากสามารถเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากได้ ถ้าปีหน้าน้ำมากขึ้นฝนตกมากขึ้นก็คงจะไม่เป็นปัญหาเหล่านี้
เพราะเราได้เตรียมระบบน้ำ การกักเก็บน้ำไว้มากมายพอสมควรในระยะที่ 1
ในเรื่องแผนบริหารจัดการน้ำ สำหรับที่ห้วยมะโมงนี้ทำให้พี่น้องประชาชนกว่า 900
ครัวเรือนได้รับผลประโยชน์ทั้ง 2 ตัวอย่าง ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำ
ประชารัฐเป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน และประชาชน
อันนี้จะเห็นถึงความร่วมมือระดับชาติลงไปถึงระดับชุมชน

 

สถานการณ์โลกวันนี้เต็มไปด้วยการแข็งขัน
เพราะฉะนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่อง
การพัฒนาคนและชุมชน
ใช้หลักการตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า
ทุกอย่างต้องระเบิดจากข้างใน
คือหมายถึงต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชนมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อน
ให้มีความอยากมีความต้องการ แล้วอยากร่วมมือ อยากได้ แล้วอยากร่วมมือด้วย
ไม่ใช่เรียกร้องหรือไม่ใช่รัฐยัดเยียดความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไป
วันนี้ต้องสร้างตั้งแต่ชุมชนหมู่บ้าน ขึ้นไปจังหวัด กลุ่มจังหวัดไปตลาดชายแดน ไป
CLMV
ไปประชาคมอื่นๆ รัฐบาลใช้หลักการนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แล้วก็ได้นำหลักการ
ประชารัฐเข้ามาเสริมเพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกัน
ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้กำหนดความต้องการ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูในภาพรวม ว่าแต่ละเรื่องแต่ละเรื่องนั้นมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นอย่างไร
ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง

 

                โดยเฉพาะเรื่องของความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว
การบริการ เทคนิเชียล นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนา นักคณิตศาสตร์อะไรเหล่านี้
มันมีความหลากหลาย ถ้าทำให้ทุกอย่างนั้นสามารถเป็นกลุ่มๆ ได้ จัดระเบียบได้
เตรียมคนได้ วางแผนว่าในปีนี้ถึงปี 2560 จะทำคนเหล่านี้ได้เท่าไรจะต่อยอดยังไง
จะเอาใครมาเชื่อมโยง จะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร ธุรกิจอย่างไรเพื่อจะเติมคนเหล่านี้ให้ได้
ให้เร็ว วันนี้เราขาดตลาดแรงงานในทุกระดับ งานเรามากมายตอนนี้เพราะมีคนจะมาลงทุนในประเทศไทยภายใน
2 ปีนี้ เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษา
กระทรวงแรงงาน ภายใต้นโยบาย 
“Thailand
Startup” หมายความว่ารุกไปข้างหน้าเริ่มต้นให้ดี ที่ยังไม่เข้มแข็งก็สตาร์ท
ที่ยังไม่เกิดก็สตาร์ทขึ้นมา ไอ้สตาร์ไปแล้วก็ต้องสตาร์ทต่อ ไม่งั้นติด ๆ ดับ ๆไปไม่ได้
แนวทางในการดำเนินการมีดังนี้

               

1. ในเรื่องของการจัดตั้ง National Startup
Center ก็เพื่อจะเชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรมที่มีอยู่ในแต่ละกระทรวงและจดทะเบียน
Startup สำหรับทั้งหมด ส่งเสริมให้กลุ่มเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั้งจากธนาคารของรัฐและเอกชน
มีกองทุนร่วมลงทุนให้เกิดความเข้มแข็ง

2. การนำภาคเกษตรเข้าสู่ระบบ ภาคการเกษตร วันนี้รายได้น้อย
ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำลง เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลกนี้ เพราะฉะนั้นเราก็มีโครงการในเรื่องของการจัด
1 ตำบล 1 SME” ขึ้น เป็นระยะแรก
เราต้องการปฏิรูปการเกษตรของประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
ให้เข้าถึงแหล่งวิชาการ รัฐบาลต้องพิจารณาหาทางสนับสนุน ตามขีดความสามารถที่มีอยู่
แล้วก็ขอความร่วมมือจากบรรดานักธุรกิจ ขณะนี้เราจะทำยังไงให้นวัตกรรมไทยคือสิ่งใหม่
ๆที่ผลิตออกมา คิดออกมาแล้วมีความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย
เกื้อกูลต่อการใช้วัตถุดิบในประเทศ แล้วก็ไปสร้างแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของอาเซียน
แบรนด์ของสินค้าไทยที่เราเรียกว่า
Made in Thailand ต่อไปก็มี
Made in ASEAN 

3.
การส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ ได้มีการจับมือทุกฝ่าย
ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร ดิจิทัล เทคโนโลยี และธุรกิจบริการ
มาร่วมกันคิดและสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง
ใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาด
แล้วก็นำสู่กระบวนการกฎหมายซึ่งมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประชาคมโลก พันธะสัญญาอีกหลายสิบฉบับ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  
และต้องดูกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
WTO ,FTO
ข้อตกลงเจรจาเยอะแยะไปหมด ถ้าเราทำไม่ดีอาจจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
เรื่องที่เราเสียสิทธิ์
GSP บ้าง หรือภาษี 0% บ้าง
เป็นเรื่องของประเทศเรา เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถูกตัดภาษีตัวนี้ออกไปนะ
การให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป ไม่ใช่เพราะผมเข้ามาหรอก เพราะเรามีรายได้ต่อหัว
รายได้
GDP มันสูง

วันนี้ขอแสดงความยินดี
ในเรื่องของการ
การไม่ซื้อ ไม่ใช้
ไม่ขายของปลอม
ว่าขอความร่วมมือ ใครที่ทำอยู่แล้วคือไม่ซื้อ
ไม่ขาย ไม่ใช้ ไม่อุดหนุนนี่ผมว่านั่นแหละเป็นวิธีการที่ถูกต้อง

 

สุดท้ายนี้ขอเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทาน
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีจำนวน 2 ท่าน คือ สาขาการแพทย์ได้แก่  ศาสตราจารย์ นายแพทย์ มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ (
Professor
M. Mower) จากประเทศสหรัฐอเมริกา 
เป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย (
AICD:
Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) และคิดค้นหลักการของเครื่องรักษาหัวใจ
ด้วยวิธีให้จังหวะ (
CRT: Cardiac Resynchronization Therapy) และ (2) สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir
Michael Gideon Marmot) จาก 
สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา
ที่เน้นสร้างความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา
และฐานะทางสังคมจนนำไปสู่การกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะของโลก
ซึ่งนับว่าทั้งสองท่านได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าแก่มวลมนุษยชนโดยรวมของโลกนี้
ขอยกย่องคุณงามความดีและความวิริยะอุตสาหะของทั้งสองท่าน ใช้เวลายาวนานกว่าจะประสบความสำเร็จในวันนี้
และขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ทั้งของโลก
และของไทยของอาเซี่ยนในการที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ให้พร้อมที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
มวลมนุษยชาติให้กับโลกใบนี้ในอนาคต
แล้วก็ขณะเดียวกันต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ