ประการแรก
เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐโดยการสร้างรูปธรรมพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน
โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน โดยเครือข่ายองค์กรชุมชน 77
จังหวัด กับภาคีภาครัฐและภาคธุรกิจ 21 องค์กร ได้แก่ธนาคารออมสิน, สานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กรมการค้าภายในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) สานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ
สโมสรโรตารีสัมพันธวงศ์ กรมการพัฒนาชุมชน สานักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ
สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายธุรกิจ Biz Club
Thailand สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท
เอสซีอีอินเตอร์เนชั่นแนล จากัด มูลนิธิสายใยแผ่นดิน เครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส,
องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) สานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มูลนิธิสัมมาชีพ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประการที่สอง
เป็นการบันทึกลงนามความร่วมมือ “สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน ระหว่างองค์กรชุมชน
หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน” ประการที่สาม เพื่อกำหนดแนวทางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากสู่การขับเคลื่อนการทำงานเชิง
Cluster และเชิงพื้นที่
ทั้งนี้ดร.สมคิดได้กล่าวว่า
การที่ภาครัฐเอกชนและภาคประชาชนมาร่วมแสดงความสามัคคีแสดงพลังร่วมกันในการดูแลเศรษฐกิจฐานราก
แสดงให้เห็นว่าทุกคนจุดประกายร่วมกันเนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับท้องถิ่น
ซึ่งจะมีในเรื่องของยุ้งฉาง โกดัง การส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายในพื้นที่ การแปรรูปสินค้า
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า หากเกษตรกรต้องการลงทุนหรือเอกชนสร้างโรงงานแปรรูปสินค้าก็จะเสนอสิ่งจูงใจทางด้านการลงทุนเพื่อยกระดับสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
จะให้นำไปหักค่าใช้จ่ายภาษีของบริษัทได้
คาดว่าปีนี้จะเริ่มเดินหน้าโครงการ
1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี ดังนั้นการลงนามในครั้งนี้จึงขอความร่วมมือจากภาคเอกชน
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้เข้ามาร่วมในการมองหาตลาดจากสินค้าเกษตรเพื่อเป็นเครือข่ายจำหน่ายสินค้าและกระจายตลาดไปตามช่องทางต่าง
ๆ รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ด้วยการกลับไปพัฒนานำสินค้าเกษตรมาวางขายตามแหล่งท่องเที่ยว โดยปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
จะลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 1 ตำบล 1
อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว เพื่อผลักดันเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาในปีนี้
1,500 ตำบล และเพิ่มเป็น 2,500 ตำบล
ในปี 2560
ทั้งนี้แผนพัฒนาทุกด้านที่วางไว้จะเห็นเป็นรูปธรรมในปีนี้อย่างแน่นอน
และยังได้เดินหน้าในการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถค้าขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ
หากพื้นที่เป็นนักพัฒนาจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและพัฒนาจีดีพีในพื้นที่เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง
ยืนยันเจ้าสัวไม่ได้เข้ามากินประเทศอย่างที่มีบางคนตั้งข้อสงสัย
เพราะภาคเอกชนเข้ามาร่วมงานกับรัฐบาลทำงานจึงขอให้รอดูผลงานเพื่อพิสูจน์ผลงานร่วมกัน
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศจะปราศจากเอกชนไม่ได้
“ไม่ต้องกลัวว่าการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมจะเป็นการนำปลาใหญ่มาฮุบปลาเล็ก
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องดีที่ทุกคนยินดีเข้ามาช่วยกัน ถ้าเขาไม่ช่วยก็ได้เพราะเขาก็รวยอยู่แล้วแต่นี่เขายินดีเข้ามาช่วยเพราะมองเห็นแล้วว่าประเทศไทยเดินต่อไปแบบเดิมไม่ได้”
รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อว่า
ภาครัฐจะผลักดันในเศรษฐกิจฐานรากผ่าน 5 มาตรการใหญ่
ๆด้วยกัน คือ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชนบท ในสิ่งที่จำเป็นต่อการผลิตต่อชีวิตของคนในท้องถิ่น
2.การสร้างเอสเอ็มอีเกษตรอุตสาหกรรม เพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาสร้าง
1 เอสเอ็มอี เกษตรอุตสากรรมให้เกิดขึ้นใน 1 ตำบล 3.การสร้างตลาดให้ภาคการเกษตร 4.การผลักดันอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
และมาตรการสุดท้ายก็คือ ภาครัฐจะลงทุนอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ในทุกตำบล
เพื่อเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีคอมเมิร์ซ ซึ่งล่าสุด ครม.อนุมัติในหลักการแล้ว
โดยจะเริ่มลงทุนเดินหน้าให้เกิดขึ้นในทันที
ขณะที่ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ กล่าวว่า
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชารัฐได้มีแนวทาง 3 ข้อในการขับเคลื่อน โดยจะประกอบด้วย
1.การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง 2.การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ
3.การเพิ่มขีดความสามารถ
เบื้องต้นเอกชนจะจัดงบฝึกอบรมพนักงานในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น
เพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น