กะเทาะ “เมียนมาร์” หลัง AEC (1)

กะเทาะ “เมียนมาร์” หลัง AEC (1)


ยุคประวัติศาสตร์ของพม่า
ที่คนไทยรู้จักดี ในนามของ “อาณาจักรพุกาม” อันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่
และเป็นที่มาของอาณาจักรที่ปกครองโดยอาณาจักร และราชวงศ์อื่นๆ ต่อๆ มา คือ
อังวะ  หงสาวดี และตองอู
จวบจนเข้าสู่ราชวงศ์สุดท้ายคือราชวงศ์ คองบอง และสิ้นสุดที่พระเจ้าธีบอ
กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักแห่งนี้ และเข้าสู่
การเป็นประเทศราชของอังกฤษจนเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงเรียกร้องเอกราชโดย “อองซาน”
(บิดา ของอองซานซูจี นักต่อสู้ทางการเมืองรางวัลโนเบล) 

                แต่ประวัติศาสตร์พม่า
มีความพลิกผัน จากปัจจัยหลากหลาย โดยเฉพาะความเป็น “พหุสังคม”
ซึ่งประชากรในประเทศพม่า มีหลากหลายเผ่าพันธุ์ หลากหลายเชื้อชาติ
สุดท้ายการเมืองในประเทศพม่า
หลังดี้รับเอกราชก็ยังคงติดขัดกับปัญหาการบริหารจัดการประเทศ
ในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จนกลายเป็นที่มาของ “สัญญาปางโหลง” (ปางหลวง)  ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
มีความเกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

                และการเมืองพม่าจบลงด้วยการรัฐประหารจาก
“นายพลเนวิน”  พร้อมๆ กับการฉีก
“สัญญาปางโหลง”     ส่งผลให้พม่าอยู่ในสภาพการปกครองในแบบรัฐทหารมาเป็นเวลายาวนาน
ก่อนจะมีการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อของ
“สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์”

                “เมียนมาร์”
หรือ “พม่า” ที่คนไทยรู้จัก และเป็นหนึ่งในสมาชิกสำคัญของประชาคมอาเซียน
มีลักษณะภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยมากที่สุด แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือมี พื้นที่กว่า 
676,578 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นประเทศปิดมานาน ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองในระดับภูมิภาคออกเป็น
7 ภูมิภาค (region)
สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ 7
รัฐ (states) ที่มีความเป็นมาและชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป

                เศรษฐกิจหลักของพม่า
 จีดีพีของพม่าอยู่ที่
42,953 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ
2.9 ต่อปี
และเศรษฐกิจหลักของพม่า ยังคงพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก
แต่หลังจากเข้าสู่
AEC แล้ว
พม่าอาจมีรายได้และพึ่งพาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ มากขึ้น รวมถึง
อุตสาหกรรมที่กำลังจะมีศักยภาพอย่างท่าเรือทวาย รวมถึงแรงงาน
และทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมีอยู่อีกมหาศาล

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจฉบับใหม่
และมีการคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (
GDP) ของพม่าจะเติบโตถึง
8.3% ในปี 2558-2559
ทั้งนี้มีผลมาจาก การปฏิรูปโครงสร้างครั้งใหญ่ของพม่าช่วยสนับสนุนให้การเติบโตแข็งแกร่งในปีที่ผ่านๆมาต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้

ด้วยจำนวนประชากรราว 56 ล้านคน และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทำให้พม่าเป็นอีกตลาดใหญ่ทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ทั้งในด้านทรัพยากรและในด้านอุตสาหกรรม เป็นอีกประเทศหนึ่งใน
AEC ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี
และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว