พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายในรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 ว่าจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมาทำให้พื้นที่ใน 44 จังหวัด “ทั่วประเทศ”มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 3 แสน 7 หมื่นครัวเรือนหรือราว 1 ล้าน 2 แสนคน ปัจจุบัน สถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว 34 จังหวัด คงเหลือ 10 จังหวัด ที่ยังประสบปัญหาอุทกภัยอยู่ในขณะนี้
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “สภานายิกา” สภากาชาดไทย พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ “ทุกพระองค์” ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับผลกระทบทั้งในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการ “เราทำความดีด้วยหัวใจ หน่วยพระราชทาน และประชาชนจิตอาสา” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นการด่วน ณ พื้นที่ประสบภัย โดยการประกอบอาหารกล่องแจกจ่ายให้กับประชาชนรวมทั้งพระราชทานน้ำดื่มและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
รัฐบาลได้อัญเชิญพระกระแสรับสั่งฯ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยภาคใต้ที่ผ่านมา นับเป็น “ศาสตร์พระราชา” ใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพื่อเป็นแนวทางพระราชทาน โดยการดำเนินการของภาครัฐที่ผ่านมาได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ “ก่อน – ระหว่าง – หลัง” การเกิดอุทกภัย หรือภัยพิบัติ ทั้งนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยดังนี้
1. มาตรการด้านการคลัง อาทิ เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน, มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ดินราชพัสดุที่ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติและอื่นๆ เป็นต้น
2. มาตรการทางด้านการเงิน อาทิ การให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย, การพักชำระหนี้, การผ่อนผันและการประนอมหนี้ รวมถึงการบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการเร่งประสานการชดเชยค่าสินไหมทดแทน กรณีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย เป็นต้น
3.มาตรการภาษีได้แก่การยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ยานพาหนะ และ การส่งเสริมให้บุคคลธรรมดา บริษัทห้างหุ้นส่วน–นิติบุคคล ได้ร่วมกันบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ผ่าน “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย” สำนักนายกรัฐมนตรีโดยสามารถนำจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 31 ตุลาคมนี้ ไปหักเป็นค่าลดหย่อนรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากปกติได้
สำหรับปัจจุบันสถานะกองทุนฯของรัฐบาลนี้มียอดเงินสะสมประมาณ 788 ล้านบาท โดยหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในมาตรฐานเดียวกับ “น้ำท่วมภาคใต้” ครั้งที่ผ่านมา เช่น ค่าเครื่องอุปโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องใช้อื่นๆ ครัวเรือนละ 5,000 บาท, ค่าซ่อมแซมบ้านเรือน ตามความเสียหาย ตั้งแต่ 15,000 ถึง 230,000 บาท และค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท เป็นต้น
และ (4) “โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560” ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท
นอกจากนี้ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุก โดยสร้างกลไกในการทำงานเพิ่มเติม เฉพาะกิจ เฉพาะกาล “แบบเดินเข้าไปหา และให้บริการ” พี่น้องประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ให้ได้รับความสะดวกที่สุด ให้รู้ช่องทางที่จะเข้ามาติดต่อ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกคนเพิ่งผ่านความยากลำบากในชีวิต มาด้วยกัน
อย่างไรก็ตามตนอยากให้การทำโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลระยะยาว ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมให้ได้เพราะจะเป็นการบริหารจัดการน้ำ “อย่างยั่งยืน” แก้ปัญหาทั้งฝนแล้ง น้ำท่วมได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ช่วยกันต่อไป
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “สภานายิกา” สภากาชาดไทย พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ “ทุกพระองค์” ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับผลกระทบทั้งในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการ “เราทำความดีด้วยหัวใจ หน่วยพระราชทาน และประชาชนจิตอาสา” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นการด่วน ณ พื้นที่ประสบภัย โดยการประกอบอาหารกล่องแจกจ่ายให้กับประชาชนรวมทั้งพระราชทานน้ำดื่มและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
รัฐบาลได้อัญเชิญพระกระแสรับสั่งฯ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยภาคใต้ที่ผ่านมา นับเป็น “ศาสตร์พระราชา” ใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพื่อเป็นแนวทางพระราชทาน โดยการดำเนินการของภาครัฐที่ผ่านมาได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ “ก่อน – ระหว่าง – หลัง” การเกิดอุทกภัย หรือภัยพิบัติ ทั้งนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยดังนี้
1. มาตรการด้านการคลัง อาทิ เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน, มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ดินราชพัสดุที่ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติและอื่นๆ เป็นต้น
2. มาตรการทางด้านการเงิน อาทิ การให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย, การพักชำระหนี้, การผ่อนผันและการประนอมหนี้ รวมถึงการบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการเร่งประสานการชดเชยค่าสินไหมทดแทน กรณีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย เป็นต้น
3.มาตรการภาษีได้แก่การยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ยานพาหนะ และ การส่งเสริมให้บุคคลธรรมดา บริษัทห้างหุ้นส่วน–นิติบุคคล ได้ร่วมกันบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ผ่าน “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย” สำนักนายกรัฐมนตรีโดยสามารถนำจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 31 ตุลาคมนี้ ไปหักเป็นค่าลดหย่อนรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากปกติได้
สำหรับปัจจุบันสถานะกองทุนฯของรัฐบาลนี้มียอดเงินสะสมประมาณ 788 ล้านบาท โดยหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในมาตรฐานเดียวกับ “น้ำท่วมภาคใต้” ครั้งที่ผ่านมา เช่น ค่าเครื่องอุปโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องใช้อื่นๆ ครัวเรือนละ 5,000 บาท, ค่าซ่อมแซมบ้านเรือน ตามความเสียหาย ตั้งแต่ 15,000 ถึง 230,000 บาท และค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท เป็นต้น
และ (4) “โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560” ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท
นอกจากนี้ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุก โดยสร้างกลไกในการทำงานเพิ่มเติม เฉพาะกิจ เฉพาะกาล “แบบเดินเข้าไปหา และให้บริการ” พี่น้องประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ให้ได้รับความสะดวกที่สุด ให้รู้ช่องทางที่จะเข้ามาติดต่อ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกคนเพิ่งผ่านความยากลำบากในชีวิต มาด้วยกัน
อย่างไรก็ตามตนอยากให้การทำโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลระยะยาว ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมให้ได้เพราะจะเป็นการบริหารจัดการน้ำ “อย่างยั่งยืน” แก้ปัญหาทั้งฝนแล้ง น้ำท่วมได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ช่วยกันต่อไป