นายกฯมั่นใจ “EEC – One Belt One Road” เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก

นายกฯมั่นใจ “EEC – One Belt One Road” เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 ว่า ในอนาคต รัฐบาลหวังให้ พื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของอาเซียน ที่ตั้งของอุตสาหกรรมอนาคต และพื้นที่สำหรับการสร้างนวัตกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การขนส่งและกระจายสินค้า และการบินของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ไทยเป็น gateway สำคัญหรือเป็นประตูเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ทั้งนี้พื้นที่ EEC จะตอบโจทย์อีก 1 ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสอดรับด้านการผลิต การขนส่ง และการเชื่อมต่อกับนโยบาย “One Belt One Road” ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และนี่คือคำตอบว่าทำไมไทยต้องมีโครง สร้างพื้นฐาน ที่เชื่อมโยงกับจีนและประเทศอื่นๆ ทำไมไทยให้ความสำคัญกับการทำให้พื้นที่ EEC เพื่อให้เกิดการดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก รวมทั้งจีนและประเทศอื่นๆ อีกด้วย แนวคิดการมี “One Belt One Road” นี้เป็นนโยบายของจีน ในการสร้างความเชื่อมโยงกับอีก 64 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่เอเชีย ไปจนถึงยุโรปและแอฟริกา ซึ่งครอบคลุมจำนวนประชากรราว 4,500 ล้านคน มี GDP ที่บ่งบอกขนาดเศรษฐกิจรวมกันแล้วกว่า 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62 และ 30 ของโลก โดยจีนพยายามที่จะส่งเสริมความเชื่อมโยงทั้งทางบก หรือที่เรียกว่าเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจ จำนวน 3 เส้นทาง และทางทะเล หรือเส้นทางสายไหมทางทะเล ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 2 เส้นทาง ซึ่งจะเชื่อมระหว่างอาเซียน เอเชีย แอฟริกา และยุโรปแน่นอนว่าหากไทยได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “One Belt One Road” นี้ ก็หมายถึงการเชื่อมต่อกับตลาดขนาดใหญ่ทั่วโลก สำหรับการเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของ “One Belt One Road” นี้ สอดคล้องกับนโยบายการค้าของไทยที่ให้ความ สำคัญกับความเชื่อมโยงในภูมิภาค (Connectivity) เพื่อให้ไทย เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรัฐบาลได้มุ่งเสริมสร้างความเชื่อมโยงของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับนโยบายดังกล่าวเช่น (1) โครงการประเทศไทย 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับจีนที่มี แผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ซึ่งเน้นเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และสินค้านวัตกรรม ซึ่งจะทำให้ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ได้ (2) โครงการ EEC เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาใช้ EEC ในการเป็นฐานการผลิตเพื่อกระจายสินค้าไปสู่กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมถึงประเทศอื่น ๆ บนเส้นทางสายไหม ขณะเดียวกันเราก็ได้มีการหารือกับสหรัฐอเมริกา กับท่านประธานาธิบดี ทรัมป์ ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุนของไทย และอาเซียน กับสหรัฐอเมริกาอีกด้วย และได้มีการหารือกับรัสเซีย อียู และประเทศอื่นๆ ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามในเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศ ตัวเลขการขอลงทุนผ่านบีโอไอในช่วงสามปีที่ผ่านมา มียอดคำขอรวม 5,431 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 2.4 ล้านล้านบาท ลงทุนไปแล้วกว่า 1.62 ล้านล้านบาท และยังคงมีการขอเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ไตรมาสแรกขอลงทุนไปกว่า 60,000 กว่าล้าน ซึ่งก็น่าจะ ไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่ประมาณการไว้ทั้งปี ในโอกาสต่อไปไตรมาสต่อไป อีกทั้งเรายังมีโครงการ EEC นโยบาย “One Belt One Road” ที่ และแผนงาน IMT-GT ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นโอกาสของประเทศไทยเราทั้งสิ้น