เพราะวิธีคิดที่แตกต่างทำให้เรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ต้องกลายมาเป็นเรื่องของเล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองที่มีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และไม่น่าเชื่อว่าจะถูกหยิบยกเอามาสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองอย่างน่ารังเกียจ
คำพูดของ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” ออกมาระบุถึงกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ โดยกล่าวถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนมูลค่า 1.35 หมื่นล้านว่า การจัดซื้อดังกล่าวต้องคำนึงถึงว่าเมื่อมีเม็ดเงินจำกัด ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาว่าจะใช้อะไรเป็นอย่างแรก เพราะทราบว่ารัฐบาลมีความจำเป็นถึงขนาดจะยอมยกเลิก 30 บาทแต่กลับไปซื้อเรือดำน้ำ ต้องพิจารณาว่าอะไรเร่งด่วนกว่ากัน และอะไรคือความคุ้มค่าในภาวะเช่นนี้ในฐานะเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหมก็เข้าใจในเรื่องความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำไว้เพื่อป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง แต่วันนี้บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะปกติอาจมีบางส่วนที่สามารถที่จะชะลอได้ แล้วนำงบประมาณนั้นไปใช้ในสิ่งที่เร่งด่วนกว่า ซึ่งในวันข้างหน้าหากมีงบประมาณและมีความสามารถในการหารายได้มากขึ้น มีงบประมาณเหลือเพียงพอก็สามารถที่จะซื้อสิ่งที่ต้องการหรือต้องใช้ในอนาคตได้
“การซื้อเรือดำน้ำเป็นการซื้อที่มีภาระผูกพันในอนาคต เป็นภาระด้านงบประมาณรายจ่ายต่อปี ค่าบำรุงรักษาจึงเป็นภาระระยะยาว ยังไม่รวมถึงค่าบำรุงรักษา การฝึกยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ และจำนวนเรือดำน้ำ ซึ่งต้องดูประกอบว่าน่านน้ำที่ต้องการจะต้องใช้กี่ลำ เท่าที่ทราบต้องมีเป็นชุดไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานป้องกันได้ ถ้าสั่งมาเพื่อทดสอบอย่างเดียวก็สามารถซื้อในช่วงที่ไม่เกิดภาวะเร่งด่วนหรือว่ารัฐมีเงินงบประมาณเหลือเพียงพอที่จะใช้ในส่วนนั้นได้ นอกจากนี้การใช้งบประมาณจะต้องคำนึงว่าเงินอะไรที่ใช้เร่งด่วนก็ต้องใช้สิ่งนั้นก่อน โดยเฉพาะความเป็นอยู่ เรื่องความจำเป็นในการบริหารบ้านเมืองและเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชนจากนั้นสิ่งที่อยากได้ก็จะเป็นความสำคัญอันดับสองรองลงมา ซึ่งฝ่ายบริหารเท่านั้นที่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเรื่องนี้
ในแง่ความจำเป็นในอนาคตตนเคารพความต้องการของกองทัพเรือ แต่ก็ต้องมาพิจารณาระหว่างความเร่งด่วนและความจำเป็นในการใช้เม็ดเงินเพื่อความมั่นคงในการที่จะฝึกซ้อมของกองทัพเรือ หรือเทียบกับงบประมาณที่บ้านเมืองมีความต้องการในการใช้เม็ดเงินที่เป็นงบประมาณจากรัฐ ออกไปให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่า อย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน และมีความจำเป็นเร่งด่วนส่วนการนำเข้ามาพิจารณาในครม.ไม่ควรจะพิจารณาในลักษณะของวาระลับเพราะเรื่องนี้ประชาชนติดตามกันทั้งประเทศอย่างน้อยควรให้มีโอกาสได้รับทราบ ถ้าการใช้ริมแดงแบบนี้ตลอดจะไม่มีโอกาสได้รู้แม้กระทั่งการตรวจสอบความคุ้มค่าในการลงทุนหรือแม้กระทั่งราคาซื้อ ประชาชนทุกคนต้องติดตามเงินงบประมาณที่เกิดจากเงินภาษีของประชาชน ยิ่งยามบ้านเมืองเช่นนี้จะต้องมาช่วยกันดู สมัยตนเมื่อพิจารณาแล้วก็ได้ขอให้ทางกองทัพเรือชะลอในการจัดซื้อและเอาเงินไปพัฒนาส่วนอื่นที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแทน”
ด้วยถ้อยคำและวิธีคิดที่ตอกย้ำถึงความพยามตอกย้ำถึง “นโยบายหลาย ๆด้าน” รวมถึงมีการตั้งข้อสังเกตการออกมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวพันไปถึงเรื่องของ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ที่หลายฝ่ายมองว่า “การนำเอาเรื่องนี้มาแสดงความเห็นเกี่ยวไปถึงกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ” เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนัก
ข้อเท็จจริงของนโยบาย 30 บาท รัฐยังไม่ได้มีการยกเลิกแต่อย่างใด การออกมาแสดงความเห็นที่พาดพิงไปถึงเรื่องนี้ที่จะมีผลกระทบต่อความเข้าใจและความรู้สึกของประชาชนโดยบิดเบือน เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ เป็นการหยิบฉวยโอกาสหวังผลทางการเมืองอย่างอย่างน่าละอาย โดยเฉพาะเกิดจากบุคคลที่เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศ
ข้อเท็จจริงของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ออกมาชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวเผยแพร่บนโลกออนไลน์ว่ารัฐบาลจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และรัฐบาลก็ไม่เคยมีแนวคิดหรือนโยบายที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าวด้วยมีแต่จะพัฒนาให้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคดีขึ้นตามลำดับ
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติอนุมัติงบประมาณ ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2561 ซึ่งได้รับเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 ถึงร้อยละ 4.28 หรือคิดเป็นเงิน 7,088.29 ล้านบาท นอกจากนี้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวได้รับเพิ่มขึ้นเช่นกัน คือ 3,197.32 บาทต่อประชากร โดยได้รับเพิ่มขึ้นหัวละ 87.45 บาท เมื่อเทียบจากปี 2560 ที่ได้รับ 3,109.87 บาทต่อประชากร
เรื่องนี้จึงมีความชัดเจนว่า “การจัดซื้อเรือดำน้ำไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับนโยบาย 30 บาททุกโรคและเป็นคนละส่วนกัน” รวมถึง “รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคแต่อย่างใด”
ฉะนั้นบุคคลที่ลากโยงเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำจึงกำลังสร้างเส้นทางอันน่ารังเกียจ ผ่านการบิดเบือนข้อมูลอย่างไม่ละอาย โดยมุ่งหวังผลทางการเมืองและใช้ข่าวสารไปในเชิงที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด เรื่องแบบนี้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตในโลกโซเชียลว่าผิดพรบ.คอมพิวเตอร์หรือไม่?
และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ป้องกันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่บิดเบือนและการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จที่น่ารังเกียจเช่นนี้
ซึ่งเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้ว หลัง“ความจริงและข้อเท็จจริงทุกอย่างปรากฏ” ก็ควรจะมีการให้บทเรียน หรือ ดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันและปรามไม่ให้เกิดการกระทำเช่นนี้อีก
นอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติแล้ว ยังถือเป็นการ “ผิดต่อจริยธรรมอย่างแรง” ที่คนมี “สามัญสำนึก” คงไม่มีใครอยากจะทำกัน ยกเว้นคนที่ไม่มี
คำพูดของ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” ออกมาระบุถึงกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ โดยกล่าวถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนมูลค่า 1.35 หมื่นล้านว่า การจัดซื้อดังกล่าวต้องคำนึงถึงว่าเมื่อมีเม็ดเงินจำกัด ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาว่าจะใช้อะไรเป็นอย่างแรก เพราะทราบว่ารัฐบาลมีความจำเป็นถึงขนาดจะยอมยกเลิก 30 บาทแต่กลับไปซื้อเรือดำน้ำ ต้องพิจารณาว่าอะไรเร่งด่วนกว่ากัน และอะไรคือความคุ้มค่าในภาวะเช่นนี้ในฐานะเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหมก็เข้าใจในเรื่องความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำไว้เพื่อป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง แต่วันนี้บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะปกติอาจมีบางส่วนที่สามารถที่จะชะลอได้ แล้วนำงบประมาณนั้นไปใช้ในสิ่งที่เร่งด่วนกว่า ซึ่งในวันข้างหน้าหากมีงบประมาณและมีความสามารถในการหารายได้มากขึ้น มีงบประมาณเหลือเพียงพอก็สามารถที่จะซื้อสิ่งที่ต้องการหรือต้องใช้ในอนาคตได้
“การซื้อเรือดำน้ำเป็นการซื้อที่มีภาระผูกพันในอนาคต เป็นภาระด้านงบประมาณรายจ่ายต่อปี ค่าบำรุงรักษาจึงเป็นภาระระยะยาว ยังไม่รวมถึงค่าบำรุงรักษา การฝึกยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ และจำนวนเรือดำน้ำ ซึ่งต้องดูประกอบว่าน่านน้ำที่ต้องการจะต้องใช้กี่ลำ เท่าที่ทราบต้องมีเป็นชุดไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานป้องกันได้ ถ้าสั่งมาเพื่อทดสอบอย่างเดียวก็สามารถซื้อในช่วงที่ไม่เกิดภาวะเร่งด่วนหรือว่ารัฐมีเงินงบประมาณเหลือเพียงพอที่จะใช้ในส่วนนั้นได้ นอกจากนี้การใช้งบประมาณจะต้องคำนึงว่าเงินอะไรที่ใช้เร่งด่วนก็ต้องใช้สิ่งนั้นก่อน โดยเฉพาะความเป็นอยู่ เรื่องความจำเป็นในการบริหารบ้านเมืองและเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชนจากนั้นสิ่งที่อยากได้ก็จะเป็นความสำคัญอันดับสองรองลงมา ซึ่งฝ่ายบริหารเท่านั้นที่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเรื่องนี้
ในแง่ความจำเป็นในอนาคตตนเคารพความต้องการของกองทัพเรือ แต่ก็ต้องมาพิจารณาระหว่างความเร่งด่วนและความจำเป็นในการใช้เม็ดเงินเพื่อความมั่นคงในการที่จะฝึกซ้อมของกองทัพเรือ หรือเทียบกับงบประมาณที่บ้านเมืองมีความต้องการในการใช้เม็ดเงินที่เป็นงบประมาณจากรัฐ ออกไปให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่า อย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน และมีความจำเป็นเร่งด่วนส่วนการนำเข้ามาพิจารณาในครม.ไม่ควรจะพิจารณาในลักษณะของวาระลับเพราะเรื่องนี้ประชาชนติดตามกันทั้งประเทศอย่างน้อยควรให้มีโอกาสได้รับทราบ ถ้าการใช้ริมแดงแบบนี้ตลอดจะไม่มีโอกาสได้รู้แม้กระทั่งการตรวจสอบความคุ้มค่าในการลงทุนหรือแม้กระทั่งราคาซื้อ ประชาชนทุกคนต้องติดตามเงินงบประมาณที่เกิดจากเงินภาษีของประชาชน ยิ่งยามบ้านเมืองเช่นนี้จะต้องมาช่วยกันดู สมัยตนเมื่อพิจารณาแล้วก็ได้ขอให้ทางกองทัพเรือชะลอในการจัดซื้อและเอาเงินไปพัฒนาส่วนอื่นที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแทน”
ด้วยถ้อยคำและวิธีคิดที่ตอกย้ำถึงความพยามตอกย้ำถึง “นโยบายหลาย ๆด้าน” รวมถึงมีการตั้งข้อสังเกตการออกมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวพันไปถึงเรื่องของ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ที่หลายฝ่ายมองว่า “การนำเอาเรื่องนี้มาแสดงความเห็นเกี่ยวไปถึงกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ” เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนัก
ข้อเท็จจริงของนโยบาย 30 บาท รัฐยังไม่ได้มีการยกเลิกแต่อย่างใด การออกมาแสดงความเห็นที่พาดพิงไปถึงเรื่องนี้ที่จะมีผลกระทบต่อความเข้าใจและความรู้สึกของประชาชนโดยบิดเบือน เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ เป็นการหยิบฉวยโอกาสหวังผลทางการเมืองอย่างอย่างน่าละอาย โดยเฉพาะเกิดจากบุคคลที่เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศ
ข้อเท็จจริงของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ออกมาชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวเผยแพร่บนโลกออนไลน์ว่ารัฐบาลจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และรัฐบาลก็ไม่เคยมีแนวคิดหรือนโยบายที่จะยกเลิกโครงการดังกล่าวด้วยมีแต่จะพัฒนาให้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคดีขึ้นตามลำดับ
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติอนุมัติงบประมาณ ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2561 ซึ่งได้รับเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 ถึงร้อยละ 4.28 หรือคิดเป็นเงิน 7,088.29 ล้านบาท นอกจากนี้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวได้รับเพิ่มขึ้นเช่นกัน คือ 3,197.32 บาทต่อประชากร โดยได้รับเพิ่มขึ้นหัวละ 87.45 บาท เมื่อเทียบจากปี 2560 ที่ได้รับ 3,109.87 บาทต่อประชากร
เรื่องนี้จึงมีความชัดเจนว่า “การจัดซื้อเรือดำน้ำไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับนโยบาย 30 บาททุกโรคและเป็นคนละส่วนกัน” รวมถึง “รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคแต่อย่างใด”
ฉะนั้นบุคคลที่ลากโยงเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำจึงกำลังสร้างเส้นทางอันน่ารังเกียจ ผ่านการบิดเบือนข้อมูลอย่างไม่ละอาย โดยมุ่งหวังผลทางการเมืองและใช้ข่าวสารไปในเชิงที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด เรื่องแบบนี้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตในโลกโซเชียลว่าผิดพรบ.คอมพิวเตอร์หรือไม่?
และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ป้องกันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่บิดเบือนและการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จที่น่ารังเกียจเช่นนี้
ซึ่งเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้ว หลัง“ความจริงและข้อเท็จจริงทุกอย่างปรากฏ” ก็ควรจะมีการให้บทเรียน หรือ ดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันและปรามไม่ให้เกิดการกระทำเช่นนี้อีก
นอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติแล้ว ยังถือเป็นการ “ผิดต่อจริยธรรมอย่างแรง” ที่คนมี “สามัญสำนึก” คงไม่มีใครอยากจะทำกัน ยกเว้นคนที่ไม่มี