พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่17 กุมภาพันธ์ 2560 ว่า รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเพื่อจะมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ของประเทศคือ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ตาม “การจัดลำดับความเร่งด่วน” อาทิเช่น
(1) การบริหารจัดการน้ำ สถานการณ์วันนี้ก็ “ดีขึ้น” ตามลำดับ เป็นการแก้ปัญหาทั้งน้ำแล้ง – น้ำท่วม ได้อย่างทันเหตุการณ์ ก็ผ่านพ้นมา 2 ปีกว่าแล้ว
(2) เรื่องการหยุดการบุกรุกป่า– การยึดพื้นที่ครอบครองโดยผิดกฎหมายคืน นำมาเป็นที่ดินที่ใช้ในการจัดสรรให้กับประชาชน เป็นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย ในแนวทางใหม่ของคณะกรรมการนโยบายจัดที่ดิน ไม่ออกโฉนดให้ แต่เป็นพื้นที่ทำกิน
(3)การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ในทุกผลิตภัณฑ์ ทุกผลิตผลด้านการเกษตร ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่–ไร่นาส่วนผสม ทั้งประมง ทั้งเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ก็รวมอยู่ในนี้ด้วย เป็นแปลงใหญ่ เราจะได้ส่งเสริมหลายอย่างให้ได้เป็นกลุ่ม โดยใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปด้วย ในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
(4) มาตรการช่วยเหลือประชาชน–เกษตรกรผู้ที่มีรายได้น้อย “ทุกกลุ่ม” จากมาตรการช่วยเหลือ เป็นกรณีเร่งด่วน แล้วก็มีมาตรการสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ ในระยะยาวอย่างยั่งยืน หลายโครงการ ใช้งบประมาณจำนวนมากพอสมควร
(5) การขึ้นบัญชีช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพื่อที่จะกำหนดมาตรการช่วยเหลือต่อไปที่เหมาะสม ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
(6)การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย เรื่อง บ้านพัก–อพาร์ทเม้นท์– แฟลตดินแดง– ชุมชนริมคลอง ซึ่งเริ่มดำเนินการเป็นระยะเริ่มแรก ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บ้านพักข้าราชการ เพื่อการสวัสดิการต่างๆ
(7) การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การปฏิรูปการศึกษา – การพัฒนาครูหลักสูตร นักเรียน ระบบการศึกษา – ยกระดับอาชีวะศึกษา โดยมีความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา เช่น 1 บริษัท : 1 อาชีวะเพื่อการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดตั้ง ศูนย์การศึกษาต่างๆ การวิจัยพัฒนา ที่มาจากภาคอุตสาหกรรมด้วย
(8) การตั้งศูนย์ดำรงธรรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จ
(9)การลดความเหลื่อมล้ำทางกฎหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียม มีกองทุนยุติธรรม, การติดตามและดูแลการคืนสู่สังคม (ของผู้พ้นโทษ) – การดูแลผู้ต้องโทษเด็ก – สตรี ( “โครงการกำลังใจ”ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา)
(10) การส่งเสริมกลไกในการสร้างความเข้มแข็งในระดับ “ฐานราก – ชุมชน” ได้แก่ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด, วิสาหกิจชุมชน, “1 ธุรกิจ – 1 ตำบล” และการปรับปรุงระบบสหกรณ์
(11) การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การสร้างห่วงโซ่คุณค่า – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อหารายได้เข้าประเทศ
(12) การประมูลรถไฟฟ้า/รถไฟ เพื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพ โดยไม่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อทั้งหมดต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
(13) เดินหน้าโครงการถนน–มอเตอร์เวย์ การขยายโครงการเดิม ตัดเส้นทางใหม่แก้ไขปัญหาจราจร ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(14) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ICT และ Digital เรื่องการส่งเสริมการแข่งขันการทำธุรกิจในประเทศ การประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว
(15) การจัดการประมูล 4G
(16) กฎหมายการค้า – กฎหมายอำนวยความสะดวก – กฎหมายเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
(17) การปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้เกิดความเท่าเทียม
(18) ระบบงบประมาณใหม่ บูรณาการไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
(19)การบริหารราชการ ออกไปในกรอบของ 6 ภูมิภาค 18 กลุ่มจังหวัด 76 จังหวัด เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัดชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ( EEC )
(20) ระบบการเงินการคลัง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใหม่, พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เพื่อจะช่วยป้องปรามการทุจริต
(21) กฎหมายเพื่อสังคม(ยาเสพติด + ทุจริต) – กฎหมายตามพันธสัญญาระหว่างประเทศ (IUU + ICAO)
(22) พระราชบัญญัติป้องกันภัยแห่งชาติ ที่ครอบคลุมภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศ
(23) การบูรณาการศูนย์ข้อมูลน้ำและการพยากรณ์อากาศ
(24) การจราจรและการป้องกันอุบัติภัยทางถนน
(25) e-Ticket “ใบสั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อลดปัญหาจราจร และอุบัติเหตุ
(26) การจัดระเบียบบ้านเมือง– จัดระเบียบสังคม –ชายหาด–สถานบริการ–แหล่งท่องเที่ยว
(27) การกวาดล้างยาเสพติด
(28) การดำเนินคดีที่สำคัญ ๆในอดีตที่ปล่อยปละละเลย ละเว้น ให้มีการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
(29) การจำนำข้าว การเบิกจ่ายเงินค้างชำระ การระบายข้าว
(30) คดีทุจริตต่างๆ หลายคดี
(31) การปฏิรูปเรื่องของศาสนา
(32)พ.ร.บ.สงฆ์
(33) การแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นทางสังคม ทางเศรษฐกิจ สร้างสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
(34) การปรับปรุงเรือนจำ และการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
(35) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจ–การปฏิรูปตำรวจ
เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องปรองดอง เรื่องการสร้างความเข้าใจในกระบวนการประชาธิปไตย มันต้องมีกรอบของรัฐ ของประชาชน ของปวงชน เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายถูกละเมิด แล้วรัฐควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ประชาชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกกฎหมายที่มีอยู่ แสดงว่าประชาธิปไตยเราเวลานั้นมีปัญหา มันกำลังไปสู่อนาธิปไตย และเราจะทำอย่างไร ที่จะไม่ไปถึงจุดนั้น รัฐ – ประชาชน – ปวงชน ต้องหาจุดพอดีให้ได้
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนกล่าวมาทั้งหมดนี้คือสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการไปแล้ว หรือบางส่วนกำลังดำเนินการอยู่ และบางส่วนที่เริ่มทำให้อยู่ในกรอบระยะเวลาของการทำยุทธศาสตร์ชาติ สิ่งเหล่านี้ก็เพื่อคนไทยทุกคน เพราะฉะนั้นรัฐบาล ปวงชน ประชาชน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะสร้างความร่วมมือร่วมกัน
(1) การบริหารจัดการน้ำ สถานการณ์วันนี้ก็ “ดีขึ้น” ตามลำดับ เป็นการแก้ปัญหาทั้งน้ำแล้ง – น้ำท่วม ได้อย่างทันเหตุการณ์ ก็ผ่านพ้นมา 2 ปีกว่าแล้ว
(2) เรื่องการหยุดการบุกรุกป่า– การยึดพื้นที่ครอบครองโดยผิดกฎหมายคืน นำมาเป็นที่ดินที่ใช้ในการจัดสรรให้กับประชาชน เป็นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย ในแนวทางใหม่ของคณะกรรมการนโยบายจัดที่ดิน ไม่ออกโฉนดให้ แต่เป็นพื้นที่ทำกิน
(3)การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ในทุกผลิตภัณฑ์ ทุกผลิตผลด้านการเกษตร ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่–ไร่นาส่วนผสม ทั้งประมง ทั้งเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ก็รวมอยู่ในนี้ด้วย เป็นแปลงใหญ่ เราจะได้ส่งเสริมหลายอย่างให้ได้เป็นกลุ่ม โดยใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปด้วย ในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
(4) มาตรการช่วยเหลือประชาชน–เกษตรกรผู้ที่มีรายได้น้อย “ทุกกลุ่ม” จากมาตรการช่วยเหลือ เป็นกรณีเร่งด่วน แล้วก็มีมาตรการสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ ในระยะยาวอย่างยั่งยืน หลายโครงการ ใช้งบประมาณจำนวนมากพอสมควร
(5) การขึ้นบัญชีช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพื่อที่จะกำหนดมาตรการช่วยเหลือต่อไปที่เหมาะสม ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
(6)การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย เรื่อง บ้านพัก–อพาร์ทเม้นท์– แฟลตดินแดง– ชุมชนริมคลอง ซึ่งเริ่มดำเนินการเป็นระยะเริ่มแรก ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บ้านพักข้าราชการ เพื่อการสวัสดิการต่างๆ
(7) การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การปฏิรูปการศึกษา – การพัฒนาครูหลักสูตร นักเรียน ระบบการศึกษา – ยกระดับอาชีวะศึกษา โดยมีความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา เช่น 1 บริษัท : 1 อาชีวะเพื่อการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดตั้ง ศูนย์การศึกษาต่างๆ การวิจัยพัฒนา ที่มาจากภาคอุตสาหกรรมด้วย
(8) การตั้งศูนย์ดำรงธรรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จ
(9)การลดความเหลื่อมล้ำทางกฎหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียม มีกองทุนยุติธรรม, การติดตามและดูแลการคืนสู่สังคม (ของผู้พ้นโทษ) – การดูแลผู้ต้องโทษเด็ก – สตรี ( “โครงการกำลังใจ”ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา)
(10) การส่งเสริมกลไกในการสร้างความเข้มแข็งในระดับ “ฐานราก – ชุมชน” ได้แก่ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด, วิสาหกิจชุมชน, “1 ธุรกิจ – 1 ตำบล” และการปรับปรุงระบบสหกรณ์
(11) การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การสร้างห่วงโซ่คุณค่า – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อหารายได้เข้าประเทศ
(12) การประมูลรถไฟฟ้า/รถไฟ เพื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพ โดยไม่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อทั้งหมดต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
(13) เดินหน้าโครงการถนน–มอเตอร์เวย์ การขยายโครงการเดิม ตัดเส้นทางใหม่แก้ไขปัญหาจราจร ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(14) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ICT และ Digital เรื่องการส่งเสริมการแข่งขันการทำธุรกิจในประเทศ การประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว
(15) การจัดการประมูล 4G
(16) กฎหมายการค้า – กฎหมายอำนวยความสะดวก – กฎหมายเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
(17) การปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้เกิดความเท่าเทียม
(18) ระบบงบประมาณใหม่ บูรณาการไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
(19)การบริหารราชการ ออกไปในกรอบของ 6 ภูมิภาค 18 กลุ่มจังหวัด 76 จังหวัด เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัดชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ( EEC )
(20) ระบบการเงินการคลัง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใหม่, พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เพื่อจะช่วยป้องปรามการทุจริต
(21) กฎหมายเพื่อสังคม(ยาเสพติด + ทุจริต) – กฎหมายตามพันธสัญญาระหว่างประเทศ (IUU + ICAO)
(22) พระราชบัญญัติป้องกันภัยแห่งชาติ ที่ครอบคลุมภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศ
(23) การบูรณาการศูนย์ข้อมูลน้ำและการพยากรณ์อากาศ
(24) การจราจรและการป้องกันอุบัติภัยทางถนน
(25) e-Ticket “ใบสั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อลดปัญหาจราจร และอุบัติเหตุ
(26) การจัดระเบียบบ้านเมือง– จัดระเบียบสังคม –ชายหาด–สถานบริการ–แหล่งท่องเที่ยว
(27) การกวาดล้างยาเสพติด
(28) การดำเนินคดีที่สำคัญ ๆในอดีตที่ปล่อยปละละเลย ละเว้น ให้มีการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
(29) การจำนำข้าว การเบิกจ่ายเงินค้างชำระ การระบายข้าว
(30) คดีทุจริตต่างๆ หลายคดี
(31) การปฏิรูปเรื่องของศาสนา
(32)พ.ร.บ.สงฆ์
(33) การแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นทางสังคม ทางเศรษฐกิจ สร้างสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
(34) การปรับปรุงเรือนจำ และการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
(35) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจ–การปฏิรูปตำรวจ
เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องปรองดอง เรื่องการสร้างความเข้าใจในกระบวนการประชาธิปไตย มันต้องมีกรอบของรัฐ ของประชาชน ของปวงชน เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายถูกละเมิด แล้วรัฐควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ประชาชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกกฎหมายที่มีอยู่ แสดงว่าประชาธิปไตยเราเวลานั้นมีปัญหา มันกำลังไปสู่อนาธิปไตย และเราจะทำอย่างไร ที่จะไม่ไปถึงจุดนั้น รัฐ – ประชาชน – ปวงชน ต้องหาจุดพอดีให้ได้
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนกล่าวมาทั้งหมดนี้คือสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการไปแล้ว หรือบางส่วนกำลังดำเนินการอยู่ และบางส่วนที่เริ่มทำให้อยู่ในกรอบระยะเวลาของการทำยุทธศาสตร์ชาติ สิ่งเหล่านี้ก็เพื่อคนไทยทุกคน เพราะฉะนั้นรัฐบาล ปวงชน ประชาชน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะสร้างความร่วมมือร่วมกัน