พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ว่าปัจจุบันสถานการณ์ “น้ำท่วม”ในพื้นที่ภาคใต้ ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพพยวรางกูร ได้มีพระราชหัตถเลขาเพื่อให้กำลังใจประชาชนผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ความว่า “ด้วยความรักและห่วงใย ขอเป็นกำลังใจในการร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนา เพื่อความสุข ขวัญที่ดี จิตใจและร่างกายที่เข้มแข็ง นำมาซึ่งความสุข และความมั่นคงของชาติ” ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แสดงถึงความรัก ความห่วงใย ของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่สำคัญเป็นการสะท้อนถึงความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนคนไทย มากว่า 700 ปี”
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระราชทานแนวทางเพิ่มเติมให้กับรัฐบาล ในการทบทวน “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนมาพิจารณาดำเนินการอย่างเหมาะสมและบังเกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อความสุขของประชาชนและความมั่นคงของชาติ ซึ่งตนได้สั่งการไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้สร้างกลไกในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการและการผลักดันความช่วยเหลือ ไปสู่ผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงทีและไม่ซ้ำซ้อน รวมทั้งการจัดกิจกรรม “ประชารัฐร่วมใจ ช่วยอุทกภัยภาคใต้” เพื่อเป็นการระดมความช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ในการช่วยเหลือฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม และบริหารโดย “กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี” เพื่อให้การดำเนินการมีคล่องตัวและโปร่งใส ปัจจุบันมียอดเงินบริจาครวมทั้งสิ้นเกือบ 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุกมิติ อาทิ (1) มาตรการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายจริง เป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้าน อาคาร หรือห้องชุดไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถยนต์ ไม่เกินสามหมื่นบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
(2) มาตรการพักชำระหนี้เป็นเวลา 6 เดือน และมาตรการการให้วงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาทต่อราย เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เปิดให้รับทะเบียนจนถึง 31มี.ค.60
(3) มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เป็นระยะเวลา 1 ปี และงดคิดดอกเบี้ยปรับ
(4) มาตรการ “สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน” ของธนาคารออมสิน วงเงินครอบครัวละไม่เกิน 5 หมื่นบาท และสำหรับลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้สามารถพักชำระหนี้เงินต้นได้ไม่เกิน 2-3 ปี
(5) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน ของสำนักงานประกันสังคม ในการลดการจ่ายเงินสมทบ เหลือ 3 % เป็นเวลา 3 เดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2560 โดยขยาย เลื่อนเวลา ส่งเงินสมทบ และไม่ลดสิทธิประโยชน์แต่อย่างใด
และ (6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้าง แบบเคลื่อนที่ จำนวน 200 ศูนย์ให้บริการประกอบด้วย ช่างยนต์, ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ช่างก่อสร้าง, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม
อย่างไรก็ตามตนต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนทุกฝ่ายที่ได้แสดงความมีน้ำใจ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้นำในพื้นที่และหน่วยงานของทุกกระทรวงในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลมาอย่างดียิ่ง รวมทั้งประชาชน ภาคเอกชนที่ได้มีส่วนร่วมแสดงน้ำใจ มีความขยัน อดทนเพื่อจะร่วมมือกันในการแสดง “พลังประชารัฐ” ที่แฝงอยู่ในเลือดเนื้อคนไทย พร้อมที่จะร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน และ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระราชทานแนวทางเพิ่มเติมให้กับรัฐบาล ในการทบทวน “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนมาพิจารณาดำเนินการอย่างเหมาะสมและบังเกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อความสุขของประชาชนและความมั่นคงของชาติ ซึ่งตนได้สั่งการไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้สร้างกลไกในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการและการผลักดันความช่วยเหลือ ไปสู่ผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงทีและไม่ซ้ำซ้อน รวมทั้งการจัดกิจกรรม “ประชารัฐร่วมใจ ช่วยอุทกภัยภาคใต้” เพื่อเป็นการระดมความช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ในการช่วยเหลือฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม และบริหารโดย “กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี” เพื่อให้การดำเนินการมีคล่องตัวและโปร่งใส ปัจจุบันมียอดเงินบริจาครวมทั้งสิ้นเกือบ 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุกมิติ อาทิ (1) มาตรการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายจริง เป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้าน อาคาร หรือห้องชุดไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถยนต์ ไม่เกินสามหมื่นบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
(2) มาตรการพักชำระหนี้เป็นเวลา 6 เดือน และมาตรการการให้วงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาทต่อราย เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เปิดให้รับทะเบียนจนถึง 31มี.ค.60
(3) มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เป็นระยะเวลา 1 ปี และงดคิดดอกเบี้ยปรับ
(4) มาตรการ “สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน” ของธนาคารออมสิน วงเงินครอบครัวละไม่เกิน 5 หมื่นบาท และสำหรับลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้สามารถพักชำระหนี้เงินต้นได้ไม่เกิน 2-3 ปี
(5) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน ของสำนักงานประกันสังคม ในการลดการจ่ายเงินสมทบ เหลือ 3 % เป็นเวลา 3 เดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2560 โดยขยาย เลื่อนเวลา ส่งเงินสมทบ และไม่ลดสิทธิประโยชน์แต่อย่างใด
และ (6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้าง แบบเคลื่อนที่ จำนวน 200 ศูนย์ให้บริการประกอบด้วย ช่างยนต์, ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ช่างก่อสร้าง, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม
อย่างไรก็ตามตนต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนทุกฝ่ายที่ได้แสดงความมีน้ำใจ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้นำในพื้นที่และหน่วยงานของทุกกระทรวงในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลมาอย่างดียิ่ง รวมทั้งประชาชน ภาคเอกชนที่ได้มีส่วนร่วมแสดงน้ำใจ มีความขยัน อดทนเพื่อจะร่วมมือกันในการแสดง “พลังประชารัฐ” ที่แฝงอยู่ในเลือดเนื้อคนไทย พร้อมที่จะร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน และ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”