รัฐบาลน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา”รัชกาลที่ 10 สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน

รัฐบาลน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา”รัชกาลที่ 10 สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน


p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
span.Apple-tab-span {white-space:pre}

หลายปีที่ผ่านมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  ในโครงการในพระราชานุเคราะห์ และโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาทิเช่น “โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่” ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีการเกษตรหรือนวัตกรรมที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างแรงจูงใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการเกษตร ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิจัยและพัฒนาภาคการเกษตร กับกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ในการให้คำปรึกษาด้วยความรู้และบริการทางวิชาการใหม่ ๆ, การตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัย, รวมทั้งการให้บริการด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการเข้าถึงเกษตรกรโดยตรง นับว่าสามารถตอบสนองทั้งความต้องการและทันต่อเหตุการณ์ด้วย 


     ทั้งนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ 1. คลินิกพืชช่วยแก้ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช, วัชพืช, สารพิษตกค้าง, และการขาดธาตุอาหารพืช และวัตถุมีพิษทางการเกษตร 2. คลินิกดิน ช่วยวิเคราะห์และตรวจสอบดินและปุ๋ย 3. คลินิกสัตว์ ช่วยแก้ปัญหาโรคสัตว์ด้วยการตรวจรักษาพยาบาล, ควบคุมบำบัด และให้ฉีดวัคซีนแก่ปศุสัตว์ 4. คลินิกประมง เผยแพร่องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งการแก้ปัญหาโรคสัตว์น้ำ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำ 5. คลินิกบัญชี ให้คำแนะนำและส่งเสริมการจัดทำบัญชีฟาร์ม เพื่อการบริหารจัดการที่ดี


6. คลินิกชลประทาน ให้ความรู้และหลักวิชาการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ  7. คลินิกสหกรณ์ ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ในการรวมกันเป็นสหกรณ์ 8. คลินิกกฎหมาย ที่ดำเนินงานด้านกฎหมายที่ดิน 


      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ ในพื้นที่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่  ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อดำเนินการในลักษณะ “คลินิกเกษตร” เผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการเกษตร จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยแบ่งพื้นที่ ร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ป่าไม้ สำหรับพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววนเกษตร ในลักษณะเส้นทางเดินป่าสำหรับการศึกษาธรรมชาติและพื้นที่ส่วนอื่น ๆที่เหลือเป็นที่ตั้งศูนย์เรียนรู้ พื้นที่ทรงงาน และแปลงสาธิต เพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ประกอบด้วย การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ, การฟื้นฟูปรับปรุงดิน, การพัฒนาแหล่งน้ำ และการส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น 


      นอกจากพระราชกรณียกิจด้านการเกษตรที่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ชาวประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชนชาวไทยแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงให้ความสำคัญกับด้านการศึกษา โดยทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการ “โครงการทุนการศึกษา” ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทย โดยเฉพาะที่มีฐานะยากจน  ลำบาก แต่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษา  ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่อง  ตามความสามารถของแต่ละคน  เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและเพิ่มศักยภาพแก่เยาวชนไทย ให้เข้าถึงระบบการศึกษาที่มีมาตรฐาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ในอนาคต


       รวมทั้งพระองค์ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งเป็น “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” (หรือ ม.ท.ศ.) ขึ้น    อีกทั้งทรงมีพระราชดำริให้กำหนดหลักเกณฑ์การพระราชทานทุนและวิธีการคัดเลือก คัดสรร และกลั่นกรองนักเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อรับทุนการศึกษาพระราชทาน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ  ต่อเนื่องไปจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน ที่สำคัญทรงให้ยึดหลักการกระจายทุนครบในทุกจังหวัด และให้มีความเท่าเทียมระหว่างเพศของผู้รับพระราชทานทุนด้วย ปัจจุบันมีนักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กว่า 1,000 คน


      ขณะเดียวกันในส่วนของรัฐบาลนั้น ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนา “ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ด้วยการปฏิรูปการศึกษา ที่รองรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นการการสร้างจิตนาการ, การคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงสร้างสรรค์ 

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 11.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 11.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 13.0px}
span.s1 {font-kerning: none}