รัฐบาลน้อมนำ 7 แนวทาง “ศาสตร์พระราชา” เพื่อการบริหารยั่งยืน

รัฐบาลน้อมนำ 7 แนวทาง “ศาสตร์พระราชา” เพื่อการบริหารยั่งยืน


ทั้งนี้รัฐบาลได้มีแนวทางในการน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน
เพื่อให้เกิดผลจากการทำงานที่เป็นรูปธรรมดังนี้

              เรื่องที่
1. การปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ด้านการเชื่อมโยง การสร้างเครือข่าย การรวมตัวกัน
เช่นการที่เราสร้างกลไก
ประชารัฐ”,  การรวมกลุ่มสหกรณ์,  การสร้างห่วงโซ่คุณค่าทั้งต้นทาง
กลางทาง ปลายทาง และตลาดชุมชน ที่ต่อไปนั้นจะต้องใช้เป็นสถานที่
จับคู่ทางธุรกิจ เป็นวงจรธุรกิจระดับฐานรากให้ความสำคัญกับทักษะ การทำงานเป็นทีมในทุกระดับ

              เรื่องที่ 2.ขอให้ทำความเข้าใจ
พินิจพิเคราะห์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
อาทิเช่นในการดำเนินการแก้ปัญหา
โรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ในระยะแรกอาจส่งผลกระทบเป็นรายบุคคล รายครอบครัว
เพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มาคือคุณภาพการศึกษาและสุขภาพจิตของนักเรียนที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานด้าน
ICT ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ในอนาคตจะทำให้ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น  ประเทศไทยก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลในทุกมิติ

              เรื่องที่
3.การกำหนดผลสัมฤทธิ์ตามห้วงระยะเวลา ให้มีผลเป็นรูปธรรมชัดเจน จับต้องได้
  อาทิเช่น การกำหนดเป้าหมาย
ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
2569 และโครงการอื่นๆ ที่จะต้องขยายเป็นปี 2560 2579  เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

               เรื่องที่
4.การรักษาสมดุลทั้งภายในและภายนอกประเทศ
โดยเริ่มต้นจากการรวมกลุ่มในอาชีพเดียวกันแล้วมีการเชื่อมโยงไปสู่อาชีพอื่น
หรือกลุ่มอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน อาทิเช่นการรวมกลุ่มของเกษตรกร
  การตั้งสหกรณ์การเกษตร จากนั้นก็เชื่อมโยงไปสู่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป
สถาบันวิจัยทางการการเกษตรเข้ามาช่วยเหลือ และตลาดชุมชุน
ตลาดส่งออก

               เรื่องที่
5.ต้องทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก กับอาเซียนและประเทศไทยนั้น
  มีผลสืบเนื่องกันใน
ทุกมิติ  ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในระดับประชาคมโลก

               เรื่องที่ 6.การสร้างความเข้าใจ – ความร่วมมือของประชาชน และการทำงานของข้าราชการในพื้นที่
สร้างความใกล้ชิดระหว่างข้าราชการกับประชาชน
ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้
    

               เรื่องที่
7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชใหม่ จากเดิม
เกษตรแบบธรรมชาติเป็นการใช้เทคโนโลยี การใช้เครื่องมือเช่น ระบบการปลูกพืชน้ำหยด
การทำไร่นาสวนผสมแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว จาก
เกษตรครัวเรือนเป็นเกษตรแปลงใหญ่ หรือการรวมตัวเป็นกลุ่มเกษตรกร
เป็นทางเลือกให้เกษตรกรไทย
ยุคใหม่ที่เรียกว่า
“Smart Farmer”

               ในส่วนของรัฐบาลนั้น
ได้วางยุทธศาสตร์ของประเทศเป็น
สะพานเชื่อมโยงกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก อาทิเช่น G20 
หรือกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (
G77) ทั้งนี้ก็เพื่อจะรักษาความสมดุล
ในการพัฒนาของโลก ในฐานะที่เป็น
หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

               ขณะเดียวกันหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็น
ศาสตร์พระราชาที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากประชาคมโลกจะช่วยย้ำเตือนเราถึงการพัฒนาที่สมดุล
ทั้งในมิติสังคม คือการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
อย่างพอเพียง  และในมิติสิ่งแวดล้อม
ที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากร
อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน