“ศาสตร์พระราชา”กับการก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0

“ศาสตร์พระราชา”กับการก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0


การรวมกลุ่มของเกษตรกร

         
การสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มอาชีพ
กลุ่มพลังเกษตรกรในพื้นที่เดียวกัน
เพื่อให้เกิดช่องทางใหม่ มีผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นมวลรวม ควบคุมคุณภาพเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง
รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งในสหกรณ์ภาคการเกษตรกว่า 4,000 แห่ง
จัดให้มีการลงทะเบียนที่ชัดเจนเพื่อสะดวกในการที่รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือ
การบริหารและการกำหนดนโยบายของรัฐบาล

 “ศาสตร์พระราชา” สู่ “ศูนย์การเรียนรู้”

         
หน่วยงานราชการของแต่ละกระทรวงฯที่ได้น้อมนำ
ศาสตร์พระราชามาจัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนรู้กว่า 10,000 แห่ง ทั่วประเทศ
ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
, ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
และศูนย์การเรียนรู้
ICT ชุมชน ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อจะสร้าง “Smart
Farmer” เกษตรกรยุคใหม่

         
 การรวมกลุ่มตาม โครงการข้าวขวัญสุพรรณ
ซึ่งน้อมนำ ศาสตร์พระราชาในเรื่อง การระเบิดจากข้างในของมูลนิธิขวัญข้าว, สมาคมโรงสีข้าวสุพรรณบุรี
และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี 
ในการร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง คือ
ขาวตาเคลือบ
ผลิตเป็นข้าวปลอดสารพิษ

ภาพรวมโครงการ
“เกษตรแปลงใหญ่”

         
รัฐบาล
สามารถดำเนินการได้แล้ว จำนวน 600 แปลง 
ด้วยอาศัยกลไก
ประชารัฐมีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์แล้ว ราว 97,000 ราย
ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1.5 ล้านไร่

         
 สินค้าข้าว
สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ย ร้อยละ 13 และลดต้นทุนการผลิตได้ ร้อยละ
19  และยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกร
ในเรื่ององค์ความรู้
, การบริหารจัดการ, การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, การแปรรูป, การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการตลาด เป็นต้น

         
ในปี 2560 มีเป้าหมาย เพิ่มเติมอีก 400 แปลง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่
ที่ตามแนวทางพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
ที่ทรงมุ่งหวังให้เกิดการรวมกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชุมชนชนบท ดังเช่นการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริ

โครงการบริหารจัดการน้ำ
แนวทางแห่ง “ศาสตร์พระราชา”

         
การใช้ Agri
Map (แผนที่ทางการเกษตร)
เป็นเครื่องมือในการกำหนดพื้นที่ทำเกษตรกรรม ให้สอดคล้องกันทั้งมิติของ
ประเภทพืช พื้นที่ ฤดูกาล
– ปริมาณน้ำ
และตลาด

         
ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ การน้อมนำแนวทางพระราชดำริ
มาประยุกต์ใช้ในแผนงานการบรรเทาอุทกภัย พื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง  ตาม
โครงการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ
 ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่น้ำท่วมได้
ถึง 3.58 ล้านไร่ ใน 14 จังหวัดภาคกลาง

 การศึกษา กับ การพัฒนาประเทศ

         
การบริหารจัดการ โรงเรียนขนาดเล็กโดยกำหนดเป็นโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้านหรือ โรงเรียนแม่เหล็ก”  สำหรับเป็นโรงเรียนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ให้มีคุณภาพการศึกษา 
ที่ดีและได้มาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนที่อยู่ในเมือง
หรือในโรงเรียนขนาดใหญ่ 
ให้มีความเท่าเทียมกันในอนาคต 

         
น้อมนำแนวทางพระราชดำรัส
ที่ว่า
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ
ที่ว่าจะอบรมโดยใช้สื่อที่ก้าวหน้าที่มีเทคโนโลยีสูงแต่เพียงอย่างเดียวนั้นเป็นเรื่องยากที่สุด  ไม่มีอะไรทดแทนคนสอนคนและการอ่านจากหนังสือได้
แสดงให้เห็นว่า ครูอาจารย์
มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะสอนคนให้เป็นคน

         
การใช้กลไก ประชารัฐภายใต้โครงการ คอน-เน็ต-อี-ดี
(CONNEXT-ED) เพื่อจะดูแลโรงเรียนในช่วงแรก จำนวน 3,342
โรงเรียน  และขยายผลให้ครบ 7,424
โรงเรียนในปี 2560  ให้เป็น
โรงเรียนต้นแบบประชารัฐ

         
 กองทุนการศึกษาวิจัย
เพื่อเพิ่มศักยภาพ การค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตใน  4  ด้าน
คือ
Bio, Nano, Robotic และ Digital ให้สอดคล้องกับนโยบาย
ไทยแลนด์ 4.0ในการผลิต แรงงานมีทักษะฝีมือเพื่อป้อน 10
อุตสาหกรรมเป้าหมาย