แต่เมื่อเอาแผนที่ประเทศไทย และ แผนที่ เอเชีย
มากกางพร้อมๆ กับ คิดตามไปเรื่อยๆ ก็พอจะเห็นภาพลางๆ ว่า เส้นทางสายนี้
มีความสำคัญ และเป็น กุญแจแห่งความมั่งคั่งของประเทศ กับแนวคิด การเชื่อม “2มหาสมุทร”
คือ มหาสมุทร อินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน
• หลัง
รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำ ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 28
มิ.ย.นี้
กระทรวงคมนาคมจะนำแผนพัฒนาระบบคมนาคมภาคตะวันออกเข้าหารือเพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินการ
ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West
Corridor
(อีสต์-เวสต์
คอริดอร์) โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา
รวมถึงการพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ที่นี้เริ่มต้นจากการกางแผนที่ประเทศไทย
แล้วมองภาพไปพร้อมๆ กัน ก็จะเห็นว่า ประเทศไทย มีภูมิศาสตร์ ที่เป็นจุดสำคัญ
คือการเป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อมสองมหาสมุทรของโลก โดยฝั่งอ่าวไทย
คือมหาสมุทรแปซิฟิก และ ฝั่งอันดามัน คือ มหาสมุทรอินเดีย
ไม่น่าแปลกใจที่ก่อนหน้านี้ หลายคน จะเคยมองภาพ
และนำเสนอแนวคิดเกี่ยว “การขุดคลองกระ” ซึ่งได้รับการสนับสนุน
และ คัดคัดค้าน จนกลายเป็นประเด็นร้อน และ ยากที่จะดำเนินการในเรื่องนี้
ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงเวลาที่การเมืองระหว่างประเทศ
รวมถึงผลประโยชน์ของมหาอำนาจในเชิงยุทธศาสตร์ของโลกเลยทีเดียว
ถัดจาก
แนวคิด “คอดกระ” คือเรื่องของ
“โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย”
หรือ (Landbridge) ที่เริ่มจะเป็นเรื่อง “ล้าสมัย”
เพราะกำลังจะถูกทดแทนด้วย แนว “การขนส่งระบบราง”
ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดมากกว่า
เมื่อ
ทั้ง “คอดกระ” และ
“Landbridge” เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ก็มาถึง “อีสต์-เวสต์ คอริดอร์” พระเอกของงานนี้
ที่นี้
อย่าเพิ่งเก็บแผนที่ ให้กางไว้ แล้วลองอ่านต่อลงมา ว่าทำไม จึงต้องเป็น “อีสต์-เวสต์
คอริดอร์” และการเชื่อมสองมหาสมุทร
ซึ่งเมื่อมองจากแผนที่ประเทศไทย ทางซ้ายคือ
ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ตลาดการค้าขนาดใหญ่
ประชากรนับพันล้านคน ลากต่อไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่วนทางเหนือคือประเทศจีน
ตลาดใหญ่ ที่มีประชากรนับพันล้านคนเช่นกัน ส่วนเมื่อมองทางขวา คือ ทางตะวันออก
เป็นมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีนใต้
และลากขึ้นเหนือไปถึงกลุ่มประเทศทะเลเหลือง จนถึงประเทศรัสเซีย
“อีสต์-เวสต์
คอริดอร์” คือจุดบรรจบที่ลงตัวที่สุด
ที่จะเชื่อมสองฟากนี้เข้าด้วยกัน ด้วยศักยภาพประชากร ที่มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ถึงตรงนี้แล้ว ไม่น่าแปลกใจ ที่ ทำไม ดร.สมคิด
จึงเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับโครงการนี้
และเมื่อนำมาผ่าออกไปทีละคำ “East-West” คือการเชื่อมระหว่าง
ตะวันออก และ ตะวันตก (มองแผนที่จากขวาไปซ้าย)
ส่วนคำว่า “คอริดอร์ส”
(corridors) เหล่านี้คือเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างเมืองสำคัญๆ
ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ประกอบด้วย
6 ประเทศคือ ไทย จีน (มณฑลยูนนาน) เวียดนาม
กัมพูชา ลาว พม่า
เมื่อนำเอามารวมกัน ทั้งหมดนี้
คือการเชื่อมโยงเอาเมืองสำคัญๆ
เพื่อเชื่อมต่อบนเส้นทางพาดผ่านเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร ซึ่งคาดว่า แนวคิดนี้
จะนำไปสู่มิติใหม่แห่งตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในอนาคตเลยทีเดียว
ถัดมาก็จะมารู้จักกันอีกว่า โครงการ “อีสต์-เวสต์
คอริดอร์”อยู่ตรงไหนบ้าง ? สำหรับโครงการนี้
จะมีอยู่ 3
เส้นทาง คือ เส้นทางแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร, เส้นทางน้ำพุร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ระยอง
และเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่เชื่อมโยงระบบคมนาคม ผ่าน ประเทศเพื่อนบ้าน
กลายเป็นเส้นทางตามแนวเส้นลองติจูดของแผนที่
บนเนื้อที่อันจำกัด แบบสั้นๆ
ที่จะทำความรู้จักกับโครงการ “อีสต์-เวสต์ คอริดอร์” คงไม่จำเป็นต้องคำนวนให้เห็นภาพว่า
มูลค่าการค้า บนเส้นทางนี้ จะมีมูลค่าสูงมากน้อยเพียงใด และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยขนาดไหน
เพราะมันมากมายมหาศาลเกินกว่าจะมานำเสนอได้บนพื้นที่อันจำกัดนี้
ที่นี้รู้แล้วหรือยังว่า ทำไม “ดร.สมคิด”
จึงให้ความสำคัญกับเส้นทางนี้
และผลักดันขับเคลื่อนให้มีความชัดเจนให้ได้
เพราะนี้เป็นกุญแจสู่ความแข็งแกร่ง
มั่งคั่ง และมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ สู่อนาคตอันสดใสของเศรษฐกิจไทย และประเทศ
บนความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ที่ประเทศไทยมีอยู่ และเป็นความได้เปรียบ
ที่ควรจะต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มา : thaiquote