“ลุงตู่” ปลื้ม ไทยยับยั้งการถ่ายทอดเชื้อ HIV ประเทศแรกในเอเชีย

“ลุงตู่” ปลื้ม ไทยยับยั้งการถ่ายทอดเชื้อ HIV ประเทศแรกในเอเชีย


รวมทั้งในปีนี้เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย
สถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้จัดสร้างอาคารจตุรมุขโถง
มียอดทรงปราสาท 9 ยอด เป็นสถาปัตยกรรมเรือนยอดแบบไทย ที่มีจำนวนยอดปราสาทมากที่สุดเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์
และเป็นผลงานชิ้นแรกของช่างศิลปาชีพสถาบันสิริกิติ์
สร้างขึ้นด้วยถาวรวัตถุประกอบด้วยโลหะและหินอ่อน
มีการปิดทองประดับกระจกและตกแต่งด้วยจิตรกรรมในส่วนต่างๆ ทั้งเรือนยอด
ถือเป็นอาคารโลหะทั้งหลัง และเป็นหลังแรกของไทย 

              โดยได้รับพระราชทานนามว่า เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์”  หมายถึงเรือนยอดที่สร้างขึ้น
เพื่อเป็นที่ระลึก เฉลิมพระเกียรติในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ กล่าวคือ
เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่   


1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พุทธศักราช 2559 และ

2. จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90
พรรษา 5 ธันวาคม 2560 พร้อมด้วยในโอกาสที่

3. สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559และ

4. เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบรมวงศานุวงศ์
ทุกพระองค์

              นอกจากนี้เมื่อวันที่  8 
มิถุนายนที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
70 ปีครองราชย์ ประชารัฐรวมใจภักดิ์ รักษ์น้ำตามรอยพ่อณ คลองบางสองร้อย  ต.ธรรมเสน
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายรัฐบาล ที่มอบให้กระทรวงกลาโหม
รับผิดชอบ โดยมีหลักดำเนินการ
ตามแนวทางประชารัฐเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ
ครบ 70 ปี  แห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่ดี
กินดี ของพสกนิกรชาวไทย  

               โดยได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย   ด้านการเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง นอกจากนี้
เพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามแนวทาง
ป่ารักน้ำที่พระองค์จะทรงเป็น ป่าที่ถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ที่ทรงเป็น
น้ำ”  
โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการพร้อมกัน
ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย

             นายกรัฐมนตรียังได้ร่วมปลูกต้นราชพฤกษ์(ต้นคูน)
ต้นไม้ประจำชาติไทย ถือเป็นไม้มงคลที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย มีดอกเป็นพวงระย้า
สีเหลืองสด เป็นสีแห่งพระพุทธศาสนาและสีประจำวันจันทร์
ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมทั้งยังได้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ในการฟื้นฟู ปรับปรุง และพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ แก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

             นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในการช่วยกันกำกับดูแลเพื่อให้ประชาชนมาร่วมมือกันเป็นกลุ่มๆ
ร่วมกันทำฝายชะลอน้ำ และนำพืชคลุมดินไว้ก่อนเพื่อเก็บความชุ่มชื้น  โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้แล้งน้ำ เพื่อจะได้มีการเก็บพืชต่างๆ
ที่จะปลูก ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ พริก หอม กระเทียม กล้วย อ้อย ฯลฯ 

             เรื่องต่อมาขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมการปฏิรูประบบวิจัยไทยใหม่ทั้งหมด
โดยมีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ
20 ปี (2560
– 2579)ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมกรรมนโยบายระบบวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ให้มีหน้าที่ในการกำกับนโยบายทางด้านนี้ของประเทศ จะต้องมีเอกภาพในทุกๆ มิติ เช่น
การกำหนดทิศทาง การจัดสรรงบประมาณ การให้กรอบทุนสนับสนุน
การเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ
การปรับปรุงคนและโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับ  ตลอดจนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ ในโอกาสต่อไป โดยต้องมีเงินทุนวิจัยเพิ่มขึ้น
และมีเงินให้กับนักวิจัยเป็นกรณีพิเศษด้วย

             ทั้งนี้ที่ผ่านมาจะเห็นว่า
“คนไทยก็มีความเก่งกาจไม่ย่อหย่อนไปกว่าชนชาติใดในโลก”
ในเรื่องของการสร้างนวัตกรรมเพื่อจะสร้างชาติของเราให้เข้มแข็งในอนาคต  โดยมีผลงานของนักวิจัยไทย ที่ประสบความสำเร็จ
จนได้รับรางวัลในเวทีระดับนานาชาติ เช่น  
1. เครื่องช่วยฟังในหู สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน แบบชาร์จได้ ราคาถูก 800 บาท 2.แผ่นใยไม้อัดปลอดพลาสติก
จากขี้เลื่อยไม้ยางพาราสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน เป็นภาชนะบรรจุอาหาร และของเล่นเด็ก  ราคาถูกและปลอดภัย
3. บรรจุภัณฑ์สำหรับการส่งออกลำไยสด
ซึ่งสามารถเก็บได้นานกว่า
4 เดือน และ  4. เครื่องรีไซเคิลขยะขวดแก้ว
ใช้แทนทรายทำอิฐสร้างบ้าน เป็นต้น

             สำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร 
ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่
5 อุตสาหกรรมตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล
ในเรื่อง ฟู๊ด อินโนโพลิสต์  การสร้างเมืองอาหาร
เพื่อให้ไทยเป็นครัวโลกอย่างแท้จริง  โดยเปิดให้ดำเนินการไปแล้วในปี
2559  เพื่อให้สามารถสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ  ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ในฟาร์ม
การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ การตลาด  เพื่อที่จะดึงดูดบริษัทผู้ผลิต หรือวิจัยพัฒนาอาหารชั้นนำของโลกมาลงทุนในกิจกรรมด้าน
นวัตกรรมอาหารในประเทศไทย โดยได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์
แรงจูงใจด้านภาษีในเรื่องของการนำเข้าเครื่องจักร 
และการพำนักของผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในไทย 
รวมทั้งการการสนับสนุนเอกชนไทยในทุกระดับ ตั้งแต่
Start Up SMEs ไปจนถึงบริษัทไทยขนาดใหญ่
ได้เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก
เพื่อยกระดับความสามารถของ
Start Up และ SMEs

              นอกจากนี้ยังมีผลงานการวิจัยพัฒนาด้านอื่นๆ
ที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมาก ก็คือ จากการประเมินและรับรองขององค์กรอนามัยโลกความสำเร็จในการยุติการถ่ายทอดเชื้อ
HIV
และซิฟิลิส(Syphilis)จากแม่สู่ลูกได้ต่ำกว่าร้อยละ2
ในปี 2559 เป็นประเทศแรกในอาเซียน
เป็นประเทศที่
2 ของโลก   
อันนี้ก็ขอให้ทุกคนภูมิใจ
เป็นผลจากการจัดทำยุทธศาสตร์เอดส์ของชาติในการป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ
ทั้งผู้หญิง ผู้ชายและเด็ก  ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวนั้นเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน องค์การนานาชาติ และภาคประชาสังคม

             ที่ผ่านมารัฐบาลยังได้มีการการแก้ปัญหาด้านกฎหมาย
เช่น กระบวนการทางกฎหมาย รัฐบาลจะเข้าไปแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ในระยะต่อไป
2559
– 2560   โดยจะเร่งดำเนินการในกลุ่มที่ 1 คือ กฎหมายในเชิงปฏิรูปตามนโยบายรัฐบาล อาทิ เช่น ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ร.บ.
การแข่งขันทางการค้า พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ร.บ.
บรรษัทวิสาหกิจ พ.ร.บ. วิสาหกิจชุมชน 
พ.ร.บ. กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 

            กลุ่มที่ 2 คือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ที่เรียกว่ากฎหมายลูก  กฎกระทรวง
พระราชกฤษฎีกาต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายหลัก 
และวิธีการของเจ้าหน้าที่และประชาชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน  กลุ่มที่ 
3 คือกฎหมายเชิงปฏิรูปที่ต้องออกตามร่างรัฐธรรมนูญ
เช่น เรื่องของการปฏิรูปตำรวจ  การศึกษา
และกฎหมายอื่นที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ต้องออกภายในเวลาที่กำหนด เช่น
กฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ
120 วัน
กฎหมายแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ
120 วัน
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
240 วันกฎหมายวินัยการคลัง 240 วันเป็นต้น