จับตา! จีดีพีไทยจะกลับมาโตสูงสุดในอาเซียน

จับตา! จีดีพีไทยจะกลับมาโตสูงสุดในอาเซียน


ย้อนกลับไปเดือนธันวาคม 2558
ได้เกิดปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นในเมืองไทย เมื่อมีการจัดตั้ง
คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public
– Private Steering Committee)
ฟังชื่อผิวเผินดูเหมือนไม่มีอะไร แต่เมื่อไปดูคณะทำงานแล้วต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่กลุ่ม
“เจ้าสัว – ซีอีโอ” ระดับคีย์แมนเมืองไทย ที่หลับตาคิดถึงใครก็มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มนี้
มารวมตัวกันทำงานร่วมกับรัฐบาลในฐานะ
คณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งเศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง

คณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ แบ่งเป็น
12 คณะ ครอบคลุมกระบวนการทำงานทุกมิติ ทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ท่องเที่ยว
การค้า การลงทุน ฯลฯ
โดยทำงานร่วมกับรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ
ยกตัวอย่าง คณะทำงานด้านการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ มีนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าคณะทำงาน,
คณะทำงานด้านการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
มีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายชาติศิริ โสภณพนิช
กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เป็นหัวหน้าคณะทำงาน,
คณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
มีนายฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอิสระ ว่องกุศลกิจ
ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
, คณะทำงานด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น
(
SMEs
& Start-up) มีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
, คณะทำงานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ มีพล.อ.ดาว์พงษ์
รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ยังไม่นับเจ้าสัว-ซีอีโอ
ชื่อดังอีกหลายคนที่ช่วยคิด-ช่วยทำอยู่เบื้องหลัง

คณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐได้รับโจทย์ให้ไปคิดว่าหากจะพัฒนาประเทศไทยไปสู่ยุค
4.0 จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง โดยมี
เป้าหมายหลักคือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อให้หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และติดท็อป 20
ประเทศที่น่าลงทุนของโลก

พรีเซนเตชั่นของภาคเอกชนที่นำมาเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในบ่ายวันที่ 18 เมษายน 2559 โชว์วิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่มีผลลัพธ์จับต้องได้
อาทิ โครงการ
แปลงโฉมอยุธยา
ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ทำนองเดียวกับเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
โดยมีขั้นตอนการทำงาน จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น รายได้กลับสู่ชุมชน และการติด
10 เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก,  โครงการสร้างรายได้เกษตรกร ด้วยการปรับโซนนิ่งเพาะปลูก
เพิ่มผลผลิตต่อไร่ สนับสนุนการจัดซื้อผลผลิต การแปรรูปผลผลิต จนถึงการส่งออก, โครงการรีแบรนดดิ้งสถาบันอาชีวะศึกษา
ภายใต้คอนเซ็ปต์ “อาชีวะ ฝีมือชน คนสร้างชาติ” เพื่อสร้างบุคลากรมาพัฒนาประเทศ, โครงการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ,  โครงการพัฒนาเมืองชายแดน, โครงการอุตสาหกรรมใหม่,
การแก้กฎหมาย 50,000 ฉบับให้เสร็จในเดือนสิงหาคมปี 2560
เพื่อลดอุปสรรคการค้าการลงทุน และเอื้ออำนวยให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของอาเซียน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐ
ที่คิดและวางแผนโดยเจ้าของธุรกิจและซีอีโอที่ประสบความสำเร็จระดับโลก
หากความคิดของคนเหล่านี้ได้รับการขับเคลื่อนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจีดีพีของประเทศไทยจะกลับมาเติบโตสูงสุดในอาเซียน
เมื่อเทียบจากขนาดและมูลค่าทางเศรษฐกิจ