จากอีสเทิร์นซีบอร์ด สู่ อีสเทิร์น อีโคโนมิก คอริดอร์..โฉมใหม่ลงทุนไทย

จากอีสเทิร์นซีบอร์ด สู่ อีสเทิร์น อีโคโนมิก คอริดอร์..โฉมใหม่ลงทุนไทย


นอกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวแล้ว
ยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษตอนในหรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูแบบ “คลัสเตอร์อุตสาหกรรม”
ซึ่งแตกต่างจากเขตเศรษฐกิจทั้ง 5 แห่งเนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่เน้นนวัตกรรม
เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตสินค้ามูลค่าสูงตามความต้องการของโลกยุคดิจิทัล
ซึ่งมีทั้งหมด 10 อุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่
1 การต่อยอด
5 อุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive)
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (
Smart Electronics)
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (
Affluent,
Medical and Wellness Tourism) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
(
Agriculture and Biotechnology) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food
for the Future)

กลุ่มที่
2 การเติม
5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน
ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (
Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and
Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (
Medical Hub)

                เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากจากจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17
พ.ย. 2558 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมในเรื่องการสนับสนุนการลงทุ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย :
กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต
  โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการจัดตั้ง
“พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ
หรือ เขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ
เพื่อให้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีความได้เปรียบจากการลงทุนของหลายคลัสเตอร์ที่เชื่อมโยงกัน
พร้อมกับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ สนามบิน รถไฟ โรงเรียน มหาวิทยาลัย
ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เบื้องต้นแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมและชิ้นส่วน กลุ่มที่ 2
คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม ทั้ง 2
กลุ่มนี้ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดคือ อยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา
ฉะเชิงเทรา ระยอง และ ปราจีนบุรี กลุ่มที่ 3 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ครอบคลุม 2 จังหวัดคือชลบุรีและระยอง กลุ่มที่ 4 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล
ครอบคลุม 2 จังหวัดคือเชียงใหม่และภูเก็ต

                โดยคณะกรรมการขับเคลื่อน ประกอบด้วย คณะกรรมการระดับชาติ
(นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ทำหน้าที่อนุมัติแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
อนุมัติงบประมาณ และประสานงานเชิงนโยบายภายในและระหว่างประเทศ
คณะอนุกรรมการเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ มีรองนายกรัฐมนตรี
(เป็นประธาน) มีกรรมการประกอบด้วย รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม รมว.กระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการลงทุน
และผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่คัดเลือก-เจรจากับผู้ลงทุนรายสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายเกิดขึ้นได้
จากนั้นเสนอผลการเจรจาให้กับคณะกรรมการระดับชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)
เพื่อการพิจารณาอนุมัติต่อไป

                อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผลการเจรจาดึงดูดการลงทุนกลุ่มเป้าหมายสัมฤทธิ์ผล
จำเป็นต้องอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน และมีการคุ้มครองการลงทุนที่ได้มาตรฐาน
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน จึงเสนอให้
แก้ไขอุปสรรคและเพิ่มสิทธิประโยชน์พิเศษนอกเหนือจากการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป
อาทิ การยกเว้นอัตราภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 10-15 ปี
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นในโครงการลงทุน
ยกเว้นอากรขาเข้าอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อทำการวิจัย พัฒนาหรือทดสอบ ให้สิทธิประโยชน์การเข้าออกและการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ/เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากต่างประเทศเทียบเท่าคนไทยครั้งละ
5 ปี ตลอดช่วงอายุการส่งเสริมการลงทุน
ให้มีการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
100% ในระยะเริ่มต้น
หรือกรณีที่เป็นการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (
R&D) ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
ซึ่งนักลงทุนไทยไม่มีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น

ล่าสุด การประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน
ได้สรุปการพัฒนาพื้นที่ใน 3 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา
ให้เป็นพื้นที่นำร่องการลงทุนในรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและปิโตรเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยตั้งชื่อพื้นที่ดังกล่าวว่า
 “อีสเทิร์น อีโคโนมิก คอริดอร์” หรือ “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

สาเหตุที่รัฐบาลต้องผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว
เนื่องจากการลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล
มีศักยภาพที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (
New Growth Engine)
เนื่องจากสินค้าที่ผลิตได้ไม่ใช่แค่มีมูลค่าสูง
 (High
Value Activities : HVA) เท่านั้น แต่เป็น HHVA คือมีมูลค่าสูงอย่างมหาศาล
ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมหน้าการลงทุนของไทยอย่างสิ้นเชิง