“บัญชีนวัตกรรมไทย”ต่อยอดงานวิจัยสู่ความร่ำรวย

“บัญชีนวัตกรรมไทย”ต่อยอดงานวิจัยสู่ความร่ำรวย


บัญชีนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดย
คณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ” (คพน.)
ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา
เพื่อให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
และยังเพื่อเป็นการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าดังกล่าว
รัฐบาลจึงเปิดช่องให้ผู้คิดค้นสินค้านวัตกรรมส่งผลิตภัณฑ์เข้ามาเพื่อพิจารณาขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย
ถ้าผลิตภัณฑ์ไหนมีนวัตกรรมน่าสนใจ ผ่านมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ก็จะได้รับการประกาศชื่อในบัญชีนวัตกรรมไทย
เพื่อใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ เช่น คุณนำยางพารามาผลิตเป็นปากกาอัจฉริยะ
และได้รับการประกาศให้เป็นสินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทย เมื่อภาครัฐต้องการซื้อปากกาก็จะเข้ามาดูกลุ่มผู้ผลิตปากกาในบัญชีดังกล่าว

                ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงแนวคิดดังกล่าวว่าต้องการเปิดโอกาสให้ผลงานวิจัยที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
ได้รับการดัดแปลงเป็นผลงานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และมีตลาดภาครัฐรองรับอีกหนึ่งตลาด เป้าหมายเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ
สร้างสรรค์สังคมไทยรวมทั้งสร้างความยั่งยืนและมั่งคั่งให้แก่ประเทศในระยะยาว ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการนำผลงานวิจัยมาสู่เชิงพาณิชย์อย่างมีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้

                ด้าน ดร.อรรชกา สีบุญเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาการผลิตสินค้านวัตกรรมอาจใช้เวลานานเนื่องจากผู้ประกอบการต้องนำงานวิจัยไปผลิตในเชิงพาณิชย์
จากนั้นจึงนำมาตรวจสอบมาตรฐานกับสมอ. ถ้าไม่ผ่านก็ต้องกลับไปแก้ไข แต่ตอนนี้ภาครัฐได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการ
Thailand Spring Up ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก”ระหว่าง
สมอ.กระทรวงอุตสาหกรรม กับ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เพื่อให้สองหน่วยงานทำงานร่วมกัน สนับสนุนผู้ประกอบการสร้างงานนวัตกรรมและทดสอบมาตรฐานไปในตัว
เมื่อสินค้าผลิตเสร็จก็สามารถทำตลาดได้เลย
หรือส่งเข้าประกวดในโครงการบัญชีนวัตกรรมไทยได้เลย

                จากการตรวจสอบของสำนักข่าว “Thaiquote” ล่าสุดมีผลงานนวัตกรรมที่ยื่นแบบคำขอฯ มายัง
สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แล้วทั้งสิ้น
87 ผลงาน
และผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯ แล้วจำนวน
34 ผลงาน โดยสำนักงบประมาณได้ประกาศขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยเรียบร้อยแล้วจำนวน
26 ผลงาน