ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากมีวงเงินสินเชื่อเต็มเพดานกำหนดของธกส.แล้ว
จึงไม่มีสิทธิขอกู้เพิ่ม แต่ในภาวะแห้งแล้งแบบนี้จำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม เพื่อหันไปปลูกพืชหลากหลายจึงกลายเป็นความหนักใจของผู้บริหารธกส.
ถ้าไม่ช่วยก็ถูกค่อนขอดว่าแล้งน้ำใจถ้าช่วยก็จะกลายเป็นการเพิ่มหนี้ภาคครัวเรือน จึงตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
แต่ใช่ว่าจะไร้ซึ่งทางออก
พอมีทางรอดอยู่เหมือนกันหากเกษตรกรรายเดิมจะขอสินเชื่อเพิ่มก็มีทางได้รับการอนุมัติ
ถ้ามีแผนการบริหารจัดการที่ดีพอ เช่นในอดีตเคยทำนาถ้ามาขอสินเชื่อเพื่อเอาไปทำนาแบบเดิมคงไม่ได้
แต่ถ้ามีการรวมกลุ่มในหมู่บ้านทำนาแปลงใหญ่
(ไม่ใช่การเอานามารวมกัน)แต่เป็นการบริหารจัดการร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต
สร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าขายปุ๋ย โรงสี หรือการหาตลาดกระจายสินค้า
ถ้าสามารถปรับกระบวนการทำนาแบบนี้ได้ แล้วรวมกลุ่มกันมาขอสินเชื่อก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการอนุมัติ
ในขณะเดียวกันหากเป็นเกษตรกรายใหม่แม้จะยังไม่เคยขอสินเชื่อกับธกส.
แต่การปล่อยสินเชื่อยุคนี้แบงก์ก็ต้องป้องกันความเสี่ยงเต็มพิกัด
ถ้ามองแล้วมีโอกาสความเป็นไปได้น้อยคงไม่อนุมัติ
แต่ถ้าเป็นเกษตรยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต หรือมีช่องทางการตลาดสามารถพัฒนาเป็นกิจการได้
เช่น การปลูกพริกเพื่อทำน้ำพริกขายอันนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ พูดง่าย ๆคือการขอสินเชื่อยุคนี้ต้องขอเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ทำสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม จะขอเพื่อไปนำไปทำแบบเดิม ๆเหมือนเช่นในอดีตคงไม่ได้แล้ว