เริ่มต้นที่อันดับ
1 บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวย่อ บตท . หรือ Secondary Mortgage Corporation (SMC)ซึ่งมีชื่อเป็น
“รัฐวิสาหกิจ” ประเภทสถาบันการเงินในสังกัดกระทรวงการคลัง
จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยพ.ศ. 2540 ด้วยทุนประเดิมจากกระทรวงการคลัง 1,000
ล้านบาท อำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วยการนำหลักการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ถูกมาใช้เพื่อให้สามารถระดมทุนสำหรับการขยายสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้มากเพียงพอสม่ำเสมอ
และเป็นการขยายสินเชื่อที่อยู่อาศัยในวงกว้างขึ้น เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหน่วยงานนี้หลายคนอาจงง
ๆ ทั้งที่มีธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วทำไมจึงต้องมีหน่วยงานนี้ อันนี้ก็ไม่ทราบต้องลองกระซิบถามผู้มีอำนาจกำกับดูแลกันดู
อันดับ
2 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) Thai
Credit Guarantee Corporationมีอำนาจและหน้าที่
ให้การค้ำประกันสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อมให้เงินกลับมาลงทุนใหม่ด้วยวิธีขายทรัพย์สินที่บรรษัทได้มาจากการลงทุนกู้ยืมเงิน
ในหรือนอกราชอาณาจักรเพื่อธุรกิจของบรรษัท
และให้หลักประกันเงินที่กู้ยืมใช้เงินคงเหลืออยู่เปล่าของบรรษัทซื้อหลักทรัพย์ที่มั่นคง
ให้ได้มาถือกรรมสิทธิ์เช่าหรือให้เช่า จำนองหรือรับจำนอง จำนำหรือรับจำนำ
และขายหรือ จำหน่ายด้วยวิธีอื่นใดซึ่งอสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์หรือหลักทรัพย์เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารจัดให้ได้มาซึ่งสัมปทาน
สิทธิ หรือเอกสิทธิ์ใด ๆ
บรรดาที่บรรษัทเห็นว่าจะช่วยให้วัตถุประสงค์ของบรรษัทสำเร็จผล ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหาร
การจัดการ และทางเทคนิคแก่ภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมและช่วยให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อมนั้นได้รับบริการเกี่ยวกับการบริหาร
การจัดการและทางเทคนิคสั่งจ่าย รับรอง
หรือสลักหลังตั๋วเงินหรือใช้เงินตามตั๋วเงินเพื่อประโยชน์แห่งธุรกิจของบรรษัทจัดให้มีการสงเคราะห์ตามสมควรแก่ลูกจ้าง
หรือผู้ที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของบรรษัทและครอบครัว
ของบุคคลเหล่านั้นกระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท
หน่วยงานนี้ภารกิจหน้าที่ยาวเหยียดแต่ไหงไม่ค่อยมีใครได้ยินชื่อ
แล้วเอสเอ็มอีจะไปใช้บริการได้ยังไงก็ไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน
เลยเป็นอันดับสองของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแบบ งงงงมึนๆ
อันดับ
3 บริษัท สหโรงแรมไทยและท่องเที่ยว จำกัด The
Syndicate of thai Hotels & Tourists Enterprises Limited กับภารกิจระบุสั้น
ๆ ว่าเป็นหน่วยงานที่เสริมสร้างคุณค่า
และมูลค่าให้กับองค์กร เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน
แต่ไม่ระบุชัดว่า มีอำนาจหน้าที่อะไร แล้วจะติดต่อได้อย่างไร สังกัดไหน
หน่วยงานนี้ ถามจริง คนทั่ว ๆ รู้กันมั้ยว่าเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ในกำกับดูแลของรัฐ
อ้าว รัฐมนตรีท่านไหนกำกับดูแล ยกมือชูจั๊กแร้ให้เห็นตัวกันหน่อย …..
อันดับ
4 บริษัท ไทย-อะมาดิอุสเซาท์อีสต์ เอเชีย จำกัด (ทอส) THAI-Amadeus
Southeast Asia Co.,Ltd. ที่มีภารกิจเป็นระบบสำรองที่นั่ง และระบบสนับสนุนธุรกิจเกี่ยวกับการเดินทางที่ลูกค้าเลือกใช้เป็นอันดับแรก
ด้วยระบบที่ทันสมัยและบริการเป็นเลิศสนับสนุนกิจการของการบินไทย และสายการบินอื่น พัฒนาบริษัทฯสายการบิน ตัวแทนจำหน่วย รองรับการเปลี่ยนแปลง หาช่องทางสร้างรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจาก Booking Fee ใช้ทรัพยากร เงินทุน ที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล
(เปิดเผย เป็นธรรม โปร่งใส) ลองถามรัฐมนตรีคมนาคมดูหน่อยว่าบริษัทนี้มีผลประกอบการเป็นอย่างไร
และอยู่ในพื้นที่ข่าวตรงไหน
อันดับ
5 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) Thailand
Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) ภารกิจพัฒนาขีดความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนาพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริการงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาขีดความสามารถด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี
และการผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมพัฒนาขีดความสามารถด้านการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม
พัฒนาขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการขององค์กร
แถมท้ายด้วยเป้าหมายให้ วว. เป็นองค์กรชั้นนำระดับอาเซียนในด้านวิจัย
พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตกลงหน่วยงานนี้มาในในแนว
สร้างสรรค์ วิจัยพัฒนาอีกแล้ว รัฐมนตรีท่านไหนกำกับดูแลถามหน่อย
หน่วยงานนี้แตกต่างจาก วช. สนช. สสวท. และสวทช.ตรงไหน
โอ๊ยประเทศไทย รัฐวิสาหกิจเยอะแยะตาแปะไก่เต็มไปหมด
จนมีชื่อหน่วยงานเหล่านี้ขึ้นมา ที่ว่ากันแบบไม่หลอกตัวเอง ถามคนในโลกโซเชียลดู
ว่ารู้จักที่ไหนกันบ้าง ผู้บริหารเป็นใคร มีผลงานเป็นอย่างไร และที่สำคัญ รัฐมนตรีที่กำกับดูแล
รู้จักบ้างอะปะ …. ตอนหน้าไปดูกันอีก 5 แห่งว่ามีที่ไหนบ้างที่เป็น “รัฐวิสาหกิจโลกลืม”