ความเคลื่อนไหวล่าสุดของอะลีบาบา
ยิ่งน่าสนใจเมื่อจับมือกับ บริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ AJD
ให้เป็นตัวแทนหาสมาชิกในเมืองไทย ตั้งเป้าปีแรก 5 พันราย ราคาแพ็กเกจเริ่มต้น 5 หมื่นบาท 1 แสนบาท และ 2 แสนบาท
ส่วนจะใช้แพ็กเกจไหนก็ขึ้นอยู่กับสินค้า ถ้าสินค้ามากรายการ ต้องการพื้นที่เยอะ
ก็ต้องจ่ายแพงหน่อย
คำถามคือ…ขายสินค้าผ่าน
อะลีบาบา ได้ผลจริงหรือ?
คำตอบจากอะลีบาบาคือสินค้าที่นำไปเสนอขายจะถูกแปลเป็น
17 ภาษา เพื่อเจาะเข้าไปหาผู้ซื้อจาก 240
ประเทศทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง
ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เคยใช้บริการของอะลีบาบาบอกว่า หลังจากสมัครเป็นสมาชิกอะลีบาบา
จะได้รับอีเมล์จากผู้ซื้อในต่างประเทศอย่างน้อยวันละ 2 ราย
บางวัน 10 ราย
คำถามที่ตามมาคือ
ผู้ซื้อเหล่านั้นเห็นสินค้าไทยได้อย่างไร?
ผู้ซื้อทั่วโลกรู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการซื้อของจากที่ไหน
ถ้าเขาต้องการซื้อราคาถูกก็ซื้อจากจีน ถ้าเขาต้องการซื้อคุณภาพก็ซื้อจากเมืองไทย
คลิกธงไทยแลนด์ก็เจอ เมื่อก่อนผู้ซื้อหลักอยู่ที่อเมริกาและยุโรป หลัง ๆตลาดกลายไปอยู่ที่อาหรับ
แอฟริกา และยุโรปที่สามหรือยุโรปที่ยังไม่เจริญเช่นบัลแกเลีย ฮังการี กรีซ โปแลนด์
และยุโรปเกิดใหม่เช่นรัสเซีย รวมถึงจีน นั่นคือตลาดออนไลน์ที่สุดแสนจะรุ่งโรจน์ ราคาซื้อขายค่อนข้างแพง อย่างชุดเดรสธรรมดา 120 เหรียญสหรัฐหรือ 3,000-4,000 บาท
ขณะที่ขายในเมืองไทย 199 บาท
มีคนเคยขายผลไม้กระป๋องผ่านออนไลน์ได้ราคาสูงถึงกระป๋องละ 2 พันบาท เพราะคนแอฟริกาอยากทดลองเอาไปชิมจึงยอมซื้อในราคา 70 เหรียญ
นักธุรกิจคนหนึ่งถ่ายทอดประสบการณ์ว่าเคยมีหนี้จากการทำธุรกิจส่งออกเกือบ
10 ล้าน แต่กลับมาได้เพราะอะลีบาบา สำนักข่าว
“Thaiquote”นำข้อมูลมาเสนอแต่ไม่ขอฟันธงว่าขายสินค้าผ่านอะลีบาบา
รวยจริง..สำเร็จจริง..หรือเปล่า เพราะสุดท้ายเมื่อลงสนามผลลัพธ์ย่อมขึ้นอยู่กับกลยุทธ์บริหารจัดการ
แต่โลกยุคใหม่เป็นโลกออนไลน์เรามีสิทธิ์ปฏิเสธการเข้าร่วมแต่ไม่อาจปฏิเสธการยอมรับ
1 % ในตลาดโลกมูลค่ามากกว่า 50%
ในเมืองไทย
สนหรือไม่..ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ..คุณเท่านั้น!!!