ด้านหนึ่งคือนำนักธุรกิจหน้าใหม่ของเกาหลีใต้ที่ยังไม่เคยค้าขายกับกลุ่มผู้ประกอบการไทยมาก่อน
มาจับคู่ธุรกิจ โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ของไทยร่วมคณะในครั้งนี้ 40
ราย ซึ่งนักธุรกิจเกาหลีใต้ได้ให้ความสนใจสินค้าของไทยเป็นจำนวนมาก อาทิสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง
แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่นและเครื่องนุ่งห่ม Digital Content & Mobile game สินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยง คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางการค้าได้ในอนาคต
ด้านหนึ่งคือการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มเริ่มต้น
หรือ Start up ของไทย โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)
ได้นำคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการบ่มเพาะผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มเริ่มต้นหรือStart up 4 แห่ง คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มเริ่มต้นธุรกิจ (START
UP) ร่วมเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ
SME ที่มีนวัตกรรมของเกาหลีใต้ ซึ่งสสว. และคณาจารย์ทั้ง 4
มหาวิทยาลัยเห็นแนวคิดสำคัญในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs START UP ของเกาหลีใต้ที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดก่อนแล้วจึงพยายามสร้างสรรค์สินค้า
หรือบริการที่มีนวัตกรรมและเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาด
อีกด้านหนึ่งที่ถือว่าสำคัญอย่างยิ่งคือ
การได้เห็นแนวคิดเด็กรุ่นใหม่ของเกาหลีใต้ อาทิ เด็กคนหนึ่งซึ่งทำเครื่องมือชิ้นเล็ก ๆเท่านิ้วก้อยจิ้มเข้าไปในผลไม้
สามารถรู้ได้ในทันทีว่าผลไม้กรอบหรือไม่กรอบ หวานหรือไม่หวาน จนบริษัทใหญ่ในเกาหลีใต้สนใจขอร่วมทุนทำเป็นสินค้าออกมาขายในตลาด
เห็นอย่างนี้แล้วจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเกาหลีใต้ถึงพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง
2 ทศวรรษที่ผ่านมา