ลุงตู่ อุ้ม“เกษตรกร”สู้ภัยแล้ง

ลุงตู่ อุ้ม“เกษตรกร”สู้ภัยแล้ง


                สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมของรัฐบาลในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจากวิกฤติภัยแล้งนั้น
 ได้กำหนดไว้หลายประการด้วยกัน อาทิเช่น
1) การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
2) การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกร 3) การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งการจ้างแรงงานชลประทาน
หรือการจ้างงานเร่งด่วน และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

            4) การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนทั้งการปฏิบัติการของหน่วยฝนหลวง
การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม การพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ
7) การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8) ตลอดจนการสนับสนุนอื่นๆ เช่น การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ.
2556  และแผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน
สหกรณ์ เป็นต้น

             นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วนและระยะกลาง
ซึ่งจะประกอบไปด้วย  
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง
ปี
2558/2559 วงเงิน 6,000 ล้านบาท
โดยให้สินเชื่อไม่เกิน
12,000 บาท/ราย
กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน
1 ปี ไม่มีดอกเบี้ย
กลุ่มเป้าหมายก็คือเกษตรกรลูกค้ารายย่อยของ ธ.ก.ส. จำนวน
500,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เพื่อจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นการชั่วคราว
พร้อมทั้งก่อให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
และช่วยป้องกันการก่อหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร

             (2) โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME ด้านการเกษตร วงเงิน 72,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย
เป็นสินเชื่อระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน
10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
4 ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ภาคการเกษตรทั้งรายคน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร หรือบริษัทชุมชน จำนวน
7,200 ราย             

         (3โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้งวงเงิน
15,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 3
ล้านบาทต่อกลุ่ม กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน
1 ปี
มีอัตราดอกเบี้ย   ร้อยละ
0.01 ต่อปี สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ประสบวิกฤติภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
รวม
26 จังหวัด จำนวน 100,000 ราย

           อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการน้ำยังต้องมองไปในอนาคตปี
60 ด้วย ซึ่งสภาพของภูมิอากาศเป็นสิ่งที่ยังกำหนดไม่ได้
ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาทตนจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน
ช่วยกัน
ประหยัด ใช้น้ำเท่าที่จำเป็นช่วยกันคนละไม้คนละมือ
ในส่วนรัฐบาลได้มีการจัดทำแผนดำเนินการแก้ปัญหาระยะยาวไว้แล้ว ภายใต้แผนการบริหารจัดการน้ำระยะยาวในห้วงระยะเวลา
10 ปี