เริ่มที่ กระทรวงการคลัง เสนอมาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในเศรษฐกิจฐานราก
ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 1.การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร และ 2.การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านเศรษฐกิจ
วงเงินรวม 1.36 แสนล้านบาท
ประกอบด้วย 1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน
การปล่อยกู้ให้กองทุนหมู่บ้านระดับ A และ B หมู่บ้านละไม่เกิน 1 ล้านบาท
เพื่อไปปล่อยกู้ต่อให้กับสมาชิก วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท
ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ระยะเวลา
โครงการ 7 ปีหรือจะเป็นมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล
เพื่อช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัด จัดสรรงบประมาณให้ระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท จำนวน 7.25 พันตำบล คิดเป็นวงเงิน 3.62 หมื่นล้านฯลฯ
ยังมีเรื่องมาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี) ในระยะเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาอาทิ
การจัดทำโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 1 แสนล้านบาท ผ่านการดำเนินการของธนาคารออมสิน
โดยเป็นการปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% และการปล่อยกู้ให้เอกชน คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 4% ต่อปี ขณะที่มาตรการเรื่องภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เป็นข้อเสนอและเป็นแรงจูงใจพิเศษให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยด้วยมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ
ฯลฯ
และที่พลาดไม่ได้คงเป็นมาตรการส่งท้ายปีในกระตุ้นเศรษฐกิจ
นั่นคือ เรื่องของมาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือช้อปช่วยชาติ โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการไม่เกิน 15,000 บาท
ระหว่างวันที่ 25 -31 ธ.ค.58 ที่ปรากฏว่าได้รับการตอบรับกันเป็นอย่างดีจากประชาชน
ต่อกันที่ กระทรวงอุตสาหกรรม ตลอด
1 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากระทรวงมีผลงานเป็นที่โดดเด่นพอสมควร
นับตั้งแต่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลคาดหวังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจโดยรวมกว่า
600 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม
โดยผลักดันให้ 10 อุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประการต่อมายังได้เสนอนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ซึ่งประกอบด้วยคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน,
คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม ฯลฯ, ส่งเสริมและพัฒนา
SMEs
,ส่งเสริมมาตรฐานอุตสาหกรรมโดยปรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับอาเซียน,
จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ,ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
มาถึงเรื่องการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ที่ถือเป็นไฮไลท์ของกระทรวงคือ การลดขั้นตอนเรื่องเวลาในการพิจารณาขอใบอนุญาตตามกฏหมายต่าง
ๆอาทิการขอใบร.ง.4 จากเดิมใช้เวลา 90 วันเหลือแค่ 30 วัน ,มอก.จากเดิม 81 วันเหลือ
46 วัน 26 วันและ 15 วัน ฯลฯ
ขณะที่การบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น
มีการเสนอแผนที่สำคัญ ๆ อาทิ แผนการจัดการกากอุตสาหกรรมพ.ศ.2558 – 2562
โดยวางเป้าหมายหลักไว้ 5 ปีอาทิ
เร่งรัดให้มีปริมาณกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 90 % ,การติดตั้งระบบ GPS กับรถขนส่งกากอันตราย ฯลฯ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นอีกกระทรวงที่จัดว่ามีผลงานเป็นที่โดดเด่น
และดูจะเป็นอีกหนึ่งความหวังสำคัญของประเทศที่จะช่วยชดเชยรายได้จากการส่งออกของประเทศที่กำลังประสบปัญหาจากเศรษฐกิจโลก
ล่าสุดมีการระบุชัดจากกรมการท่องเที่ยวถึงตัวเลขรายได้ที่เข้าประเทศว่าสูงถึง 2.2
ล้านล้านบาท มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศเกือบแตะตัวเลข 30 ล้านคน
นับเป็นความสำเร็จที่น่าประทับใจ และหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าปีหน้าฟ้าใหม่เราจะได้เห็นตัวเลขที่สดใสเช่นนี้อีก
รวมถึงการสนับสนุนส่งเสริมทางด้านกีฬาให้นักกีฬาไทยโด่งดังในเวทีต่างประเทศ
หลังจากที่ประสบความสำเร็จด้วยดีในปีนี้
ขณะที่ผลงานที่โดดเด่น ของกระทรวงพาณิชย์
คือเรื่องของการเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาซียน หรือ AEC และการช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับค่าครองชีพ
ตลอดจนเป็นแรงขับเคลื่อนการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการณ์ใหม่ และช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการเดิมๆ
ให้กลับเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามแผนและยุทธศาสตร์ของ ดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
และในส่วนผลงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความโดดเด่นของผลงานคงเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาเรื่องของราคาสินค้าเกษตร
แน่นอนนโยบายหลัก ๆจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพภาคเกษตรกร และแนวทางการบริหารจัดการผลผลิต
ทั้งในภาคการผลิต และในภาคการทำการตลาด รวมถึงแผนการเตรียมการในการรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในปีหน้า
ตลอดจนโครงการระบบบริหารจัดการน้ำ
ที่ทำงานร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่
และทั้งหมดนี้ คือภาพรวมผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
ที่วันนี้กำลังขับเคลื่อนเดินหน้าอย่างเต็มสูบท่ามกลางกระแสกดดันทั้งจากปัญหาภายในและภายนอก
แต่ทั้งหลายทั้งปวง “ยุทธศาสตร์และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล”
จะสำเร็จหรือไม่หลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่าหัวใจสำคัญคงอยู่ที่เรื่องเดียวนั่นคือ “ความเชื่อมั่น”
คงต้องมาลุ้นมาเอาใจช่วยให้รัฐบาลทำสำเร็จเพราะจนถึงขณะนี้แผนเดินหน้าเศรษฐกิจได้ถูกจับวางไว้เป็นที่เรียบร้อย…สาธุ
ๆ ๆ