20 ปีที่รอคอย IMFอุ้ม หยวน สู่ตระกร้าเงินโลก ศก.ไทย-อาเซียน รับประโยชน์ ค้าขาย-ลงทุน

20 ปีที่รอคอย IMFอุ้ม หยวน สู่ตระกร้าเงินโลก ศก.ไทย-อาเซียน รับประโยชน์ ค้าขาย-ลงทุน


20 ปีที่รอคอย IMFอุ้ม หยวน สู่ตระกร้าเงินโลก  ศก.ไทยอาเซียน รับประโยชน์ ค้าขายลงทุน

สกุลเงินหยวนของจีน
ยกระดับเป็นเงินสกุลหลักของโลก เทียบชั้นดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์สเตอริง และเยน
ในทันทีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยอมรับให้เงินหยวน
เข้าสู่ระบบตะกร้าเงิน
SDR ของไอเอ็มเอฟ
นับตั้งแต่เดือนตุลาคม
2559 เป็นต้นไป

ถึงตอนนั้นตลาดการค้า
ตลาดการเงิน และตลาดการลงทุนของโลก รวมทั้งของอาเซียน
จะเคลื่อนไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ

วิน พรหมแพทย์”ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี เปิดเผยว่า “การเข้ามาของหยวน จะก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสกุลเงิน
ในตะกร้าสกุลเงินหลัก (
Special Drawing Rights หรือ SDR Basket) จากเดิมที่มีสกุลเงินในตะกร้าเพียง
4 สกุล มาเป็น สัดส่วนใหม่คือ ดอลลาร์สหรัฐ 41.73%,ยูโร 30.93 % , หยวน 10.92%,เยน
 8.33%, ปอนด์สเตอริง
8.09%  

“การเข้ามาของสกุลเงินหยวน
ในตะกร้าเงิน
SDR ทำให้บทบาทสกุลเงิน
เยน และปอนด์สเตอริงที่เคยอยู่ในลำดับ
3-4 ถอยลงไปเป็นลำดับ 4-5
โดยมีสกุลเงินหยวน เบียดแทรกขึ้นมามีความสำคัญเป็นลำดับที่ 3

กว่าที่เงินหยวน
จะถูกบรรจุอยู่ในตะกร้าเงินของไอเอ็มเอฟ  ทางการจีนต้องใช้ความพยายามผลักดันนานกว่า
20 ปี  และผลลัพธ์ที่คาดหมายจะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในหลายมิติ”
นักวิเคราะห์จาก
CIMB กล่าว

ผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมาคือธนาคารกลางทั่วโลก
มีแนวโน้มที่จะลดการถือครองทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง
รัฐบาลจีน และธนาคารกลางแห่งประเทศจีน
สามารถออกตราสารหนี้ผ่านสกุลเงินหยวนได้โดยตรง โดยมีผลต่อเม็ดเงินลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นของจีน

สำหรับผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและภาคการเงินของไทย
 “วิรไท สันติประภพ”
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เงินหยวนเข้าในตะกร้าเงินของ
IMF  ข้อดีคือทำให้ความเสี่ยงในการสำรองสกุลเงินหยวนในทุนสำรองทางการของประเทศลดลง
และยังทำให้สภาพคล่องเงินหยวนมีมากขึ้น เพราะเมื่อหยวนได้รับการยอมรับ
คนใช้มากขึ้น จะเกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินและตลาดตราสารหนี้ที่เป็นเงินหยวนเพิ่มมากขึ้น  แต่ยอมรับว่าธปท
.
ยังไม่ได้นับเงินหยวนเข้าไปในทุนสำรองระหว่างประเทศโดยตรง

 
             ด้าน “ รศ
.บุญธรรม ราชรักษ์” คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดเผยกับ THAI QUOTE ว่า “ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คิดว่า อาเซียนเองต้องเตรียมความพร้อมเพราะจะได้รับประโยชน์ในเชิงบวก
โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ
CLMV ที่จีนมีอิทธิพลในด้านการค้าการลงทุนอยู่แต่เดิมค่อนข้างสูง
รวมถึงในประเทศไทย ช่วงหลังจีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
โดยในระยะสั้นประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก
รวมถึงในภาคการค้าด้วย”  

ขณะที่ภาคธุรกิจไทย
“พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” ที่ปรึกษาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย
เปิดเผยกับ
THAIQUOTE ว่า  “เรื่องนี้
น่าจะมีผลในเชิงบวกกับไทย เนื่องจากไทยและจีนค้าขายกันมานาวนาน และมีมูลค่าสูง
การได้เงินหยวนมาเป็นอีกสกุลเงินในภาคธุรกิจ จึงเป็นทางเลือกให้กับประเทศไทยมากขึ้นใน
 แต่จะได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่
คงต้องรอดู  คงต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากยังมีค่าเงินสกุลหลักของโลกและในภูมิภาค
อย่างเงินเยน  รวมถึงเงินดอลลาร์
ที่ในระยะสั้นนี้ คงยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กันต่อเนื่องไปก่อน”
ที่ปรึกษาสภาหอการค้าฯกล่าว  

ความจริงที่จะเกิด
กับ ความคาดหมายที่สะท้อนผ่านมุมมองของบุคคลที่หลากหลาย
จะสอดคล้องไปในท่วงทำนองเดียวกันหรือไม่ คงต้องรอเวลาให้ถึงวันที่
1 ตุลาคม 2559

 ที่มา : thaiquote