กระทรวงพลังงาน ผลักดันทุกพื้นที่ให้เข้าถึงการใช้ไฟฟ้า มีแสงสว่างเป็นจุดเริ่ม เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการสื่อสารร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ หมู่บ้านตะเพินคี่ จ.สุพรรณบุรี อยู่ในเขตพื้นที่อุทยาน ที่ไม่สามารถตั้งเสาไฟฟ้าในพื้นที่ได้ ลดงบประมาณ และรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความเท่าเทียมแห่งโอกาสในทุกพื้นที่ห่างไกลความเจริญ
การไม่มีไฟฟ้าใช้ในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน หมู่บ้านตะเพินคี่ตั้งอยู่บนเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย จ.สุพรรณบุรี ซึ่งห่างไกลจากตัวเมืองประมาณ 160 กิโลเมตร หรือเดินทาง 3-4 ชั่วโมง ไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายของอุทยานแห่งชาติพุเตยที่ไม่สามารถติดตั้งเสาไฟได้
ชุมชนชาวกระเหรี่ยงหมู่บ้านตะเพินคี่มี 58 ครัวเรือน ทุดครัวเรือนมีบ้านเลขที่ถูกต้อง แต่ยังขาดไฟฟ้า การใช้แผงโซลาร์เซลล์เดิม 120 วัตต์ ไม่สามารถรองรับความต้องการในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการขาดโอกาสทางด้านการศึกษา
ด้วยข้อกฎหมายของอุทยานแห่งชาติ การติดตั้งสายไฟและเสาไฟฟ้าในพื้นที่สูงไม่สามารถทำได้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการปักเสาไฟมีต้นทุนสูง จึงเกิดการสำรวจความต้องการไฟฟ้าเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
โครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชนพึ่งพาตนเอง (Off Grid) ระบบไฟฟ้าเพื่อบ้านพักอาศัย (Solar Home) เป็นโครงการส่งเสริมการใช้ระบบโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าแต่ละครัวเรือนในพื้นที่ห่างไกลของอุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นวิธีพึ่งพาตนเองที่ช่วยตอบโจทย์ด้านกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านงบประมาณ ในขณะเดียวกันยังช่วยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิน
โครงการติดตั้งโซลาร์โฮมในหมู่บ้านตะเพินคี่ โดยขอความร่วมมือจากกระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัดสุพรรณบุรี และอุทยานแห่งชาติพุเตย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความยั่งยืน 3 ด้าน (3E’s Sustainability): เศรษฐกิจ (Economic) ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ความเท่าเทียม (Equity) สร้างโอกาสการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง และสิ่งแวดล้อม (Environmental) ลดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยงบประมาณ 2.8 ล้านบาทในปี 2564 ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 500 วัตต์ต่อครัวเรือน 58 ครัวเรือน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน
กระทรวงพลังงานเดินหน้าโครงการโซลาร์เซลล์
ฉัตรชัย คุณโลหิต ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึง นโยบายหลักของกระทรวงพลังงานต้องการส่งเสริมให้ประชาชนทุกพื้นที่เข้าถึงการใช้ไฟฟ้า จึงได้เดินหน้าต่อในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และพร้อมช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการมีไฟฟ้าใช้ในพื้นที่ห่างไกลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่เสาไฟฟ้าไม่สามารถเข้าถึงได้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนห่างไกลไฟฟ้า ถือเป็นพื้นฐานการยกระดับการพัฒนาชีวิตเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
“การส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลกับสายส่งไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นอยู่ตามเกาะ หรือตามเขาต่าง ๆ สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ มีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง จากากรใช้เงินงบประมาณของกองทุนเพื่อส่งเสริมว่าพลังงานในการสนับสนุนตัวแผงโซล่าเซลล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเป็นติดตั้งบนหลังคาหรือในรูปแบบการติดตั้งบนพื้นดินที่เป็นรูปของมินิกริด (Mini Grid) แล้วทางเราก็มีการติดตามประเมินผลว่าสิ่งที่เราได้ส่งเสริมไปเนี่ยมีประโยชน์ต่อประชาชน”
ฉัตรชัย ยังกล่าวถึง เป้าหมายแผนการพัฒนาพลังงานแห่งชาติ ที่จะมุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืน ตามความตกลงการประชุมรัฐภาคีสมาชิกความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศต่าง ๆ (COP) ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 (พ.ศ.2593) ด้วยการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การเข้าถึงไฟฟ้าในครัวเรือน ชาวบ้านในชุมชน เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งป้จจุบันประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่สัดส่วนถึง 60% และ ในจำนวนนี้ 40% มาจาก ถ่านหินแต่มีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพียง 10% จึงต้องช่วยกันเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้มี 51% ภายในปี 2580
“เรื่องของพลังงานในอนาคตก็เราจะเป็นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนแถวนี้มันจะช่วยได้มากน้อยยังไง คือการส่งเสริมพลังงานทดแทนแม้ว่าจะเป็นจุดเล็ก ๆ ของชาวบ้านก็เป็นส่วนสําคัญที่จะไปสู่ตรงนั้น เพราะว่าเป็นการที่ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ประเทศไทยเราต้องยอมรับว่าในระบบใหญ่ของเราบเราใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเนี่ยประมาณ 60% นะครับ มีอยู่40% ที่มาจากถ่านหิน และเรื่องพลังงานทดแทนแล้วพลังงานทดแทนปัจจุบันเนี้ยอยู่ที่ประมาณ 10% เราก็ตั้งเป้าจะต้องเพิ่มขึ้น 51% ในปี 2580”
กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลสายส่งไฟฟ้าสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ โดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมพลังงานสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมัน และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น การส่งเสริมพลังงานทดแทนเป็นส่วนสำคัญในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต ปัจจุบันพลังงานทดแทนในประเทศอยู่ที่ประมาณ 10% โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 51% ภายในปี 2580
โซลาร์เซลล์เปลี่ยนชีวิต 58 ครัวเรือนในอุทยานแห่งชาติพุเตย
สิทธิชัย ณ นคร พลังงานจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานพลังงานจังหวัด เปิดเผยถึง โครงการโซลาร์เซลล์ช่วยให้ชุมชน 58 ครัวเรือนในพื้นที่อุทยานพุเตยเข้าถึงพลังงานพื้นฐาน ยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืนขึ้น จากหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ทั้งครัวเรือน เพราะเงื่อนไขทางกฎหมายที่ไม่สามารถเดินสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติได้ และหากต้องติดตั้งจะต้องมีต้นทุนสูง และยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้กระทรวงพลังงาน ต้องการให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) เป็นทางออกของการทำให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้มีไฟฟ้าใช้ เพื่อสร้างโอกาสด้านต่าง ๆ ให้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ได้ดำเนินชีวิตเช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย
“แต่เดิมหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ด้วยเงื่อนไขทางกฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นที่อุทยาน ไม่คุ้มค่าในการติดตั้งเสาของการไฟฟ้า ทางกระทรวงพลังงานร่ววมกับอุทยานแห่งชาติพุเตย และองค์การท้องถิ่นวังยาว ได้เข้ามาทำระบบโซลาร์เซลล์ Rooftop ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ได้เข้าถึงปัจจัยพื้นฐานทั้งหมด 58 ครัวเรือน และยังเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้มีแสงสว่างใช้ ได้ศึกษาหาความรู้ และชาวบ้านสามารถดำเนินชีวิตได้ในแต่ละวัน”
ชาวบ้าน 58 ครัวเรือน มีขีดจำกัดการใช้ไฟฟ้าครัวเรือนละ 500 วัตต์ เนื่องจากให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน หากใช้กำลังไฟมากกว่านี้อาจส่งผลกระทบต่ออุทยานได้ สิทธิชัย ณ นคร กล่าวเพิ่มเติมว่า
ที่ผ่านมา การขาดแคลนไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เพราะจำกัดการใช้เพียงครัวเรือนละ 500 วัตต์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในอุทยาน แต่ก็ส่งผลทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอื่น ๆ ที่จำเป็น ทำได้เพียงใช้ไฟฟ้าเล็กน้อย เช่น การให้แสงสว่าง หุงข้าว พัดลม เพราะเป็นอุปกรณ์ไม่ใช้กำลังไฟจำนวนมาก แต่ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ โดยเฉพาะการสร้างโอกาสทางการศึกษา เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
“500 วัตต์ มีขีดจำกัดในการใช้เท่ากับ การใช้งานปัจจัยพื้นฐานจำเป็นในครัวเรือน เช่น การให้แสงสว่าง หุงข้าว พัดลม และอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้กำลังวัตต์เยอะ ซึ่งกำลังไฟฟ้าถือป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ไม่ได้เน้นความสะดวกสบายการเพิ่มกำลังไฟฟ้าในการใช้งาน จึงทำให้ชีวิตมีความอยู่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างแน่นอน”
– จัดการปัญหาใช้ไฟเกินกำลัง พร้อมให้ความรู้ชุมชนดูแลโซลาร์เซลล์ยั่งยืน
สำหรับที่มาของโครงการ บูรณาการจาก 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัดสุพรรณบุรี และอุทยานแห่งชาติพุเตย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 เพื่อสำรวจและแก้ปัญหาพลังงานในชุมชนอุทยานพุเตย มาจากกองทุนส่งเสริมพลังงาน มีอายุการใช้งานหลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ยาวนานถึง 10-15 ปี พร้อมการรับประกัน 2 ปี นอกจากนี้ยังให้ชาวบ้านได้รับความรู้เรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและการดูแลซ่อมแซมเองหลังหมดประกัน
ทางด้าน สาวิตรี เชื้อพงษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติพุเตย ได้กล่าวว่า โครงการพัฒนาโซลาร์รูฟท็อปในพื้นที่อุทยาน เพื่อต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวบ้านตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ห่างไกล จึงเข้าไปมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่อุทยานที่ต้องเข้ามาดูแลและอำนวยความสะดวกแก่คนในชุมชน
“โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ตามที่ผอ.ได้บอกว่าในเขตพื้นที่อุทยาน ระบบสาธารณูปโภคมีข้อกำจัดในเรื่องของการติดตั้งบางข้อของกรมอุทยาน ในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีมากขึ้น เพราะว่าถ้าตามนโยบายรัฐบาล ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตระบบสาธารณูปโภค เพราะคนไทยทุกคนต้องเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค จึงเข้าไปติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคา และเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยาน สามารถอำนวยความสะดวกและสนับสนุนได้”
โครงการเริ่มตั้งแต่ปี 2562 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้านในพื้นที่อุทยาน ด้วยระบบโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคา ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เข้าไปร่วมมือสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์ ภายใต้ข้อจำกัด ในการมีอุปสรรต้องติดตั้งสาธารณูปโภคในเขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกและสนับสนุนให้แก่คนในชุน
– จากใจคนในชุมชนถึงการได้ใช้ไฟฟ้าดั่งอนาคตใหม่
ชาญวิวัฒน์ เนรียะ ชาวบ้านหมู่ 5 ได้เผยถึงความสำคัญของไฟฟ้ากับชีวิตของเขาว่า ไฟฟ้าเป็น 1 ใน 4 ปัจจัย ที่รวมอยู่กับที่อยู่อาศัย การใช้ชีวิต การมีไฟฟ้าใช้ จึงช่วยเพิ่มโอกาสในด้านอื่น ๆ เพราะการเริ่มต้นจากมีแสงสว่าง ทำให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรมากมายหลากหลายด้าน ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงยกระดับขีวิตให้ดีขึ้น ทุกคนในชุมชน จึงมีโอกาสเข้าถึงการใช้ชีวิตขั้นพื้นพื้นฐานได้สะดวกขึ้นจากเดิม
“ในฐานะผู้ใช้ไฟ รู้สึกยินดี เพราะก่อนหน้านี้เราไม่มีไฟฟ้าใช้ ก่อนหน้านี้ต้องใช้เตาถ่านด้วยความยากลำบาก ทางกรมพลังงานฯ ได้อำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น สามารถหุงข้าวไฟฟ้า การมีแสงสว่างในครัวเรือน ทำให้ต่างจากเดิมอย่างชัดเจน การติดตั้งไฟฟาทำให้ปัจจุบันมีชีวิตที่ดีขึ้น”
โอกาสการศึกษา สู่โรงเรียนห่างไกล
อ.บุญเรือง โพธิ์เกตุ โรงเรียนบ้านกล้วย ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านตะเพินคี่ กล่าวว่า ปัจจัยโรงเรียนยังต้องการการสนับสนับสนุน ระบบโซลาร์เซลล์เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน เนื่องจากปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ในการสอน เป็นอุปสรรคของทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษา ที่ควรจะได้รับ เกิดความแตกต่างในการเข้าถึงโอกาสด้านการศึกษา ขาดโอกาสในการเรียนรู้เท่าที่ควร ปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขได้ เมื่อมีการติดตั้งแผงโซลาร์ จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนในการมาทำระบบ Solar Cell เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษา และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
– พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนชีวิตชาวบ้านตะเพินคี่
หมู่บ้านตะเพินคี่ในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย จ.สุพรรณบุรี ที่มีทั้งหมด 58 ครัวเรือน ได้รับการพัฒนาโดยติดตั้งโซลาร์เซลล์ Rooftop ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายของอุทยาน แม้โครงการจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนหลายด้าน เช่น แสงสว่าง การหุงข้าว และการปั๊มน้ำ แต่พลังงานไฟฟ้าก็ยังไม่เพียงพอต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ของเด็กนักเรียน ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา อีกทั้งโรงเรียนต้องแบ่งไฟฟ้าไปใช้ในส่วนที่จำเป็น เช่น โรงอาหารและระบบน้ำสะอาด