กลยุทธ์การนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน ESG (Environment, Social and Governance) โดยผู้นำสร้างวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรทีมุ่งเน้นการสร้างความสุขกายและใจที่ดีต่อใจ ดีต่อเรา ดีต่อโลกซึ่งช่วยสนับสนุนทั้งความสุขสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
โดยอาจารย์กฤษณ์ รุยาพร
Co-Founder IDGs Asia Pacific Innovation Center -Leadership Hub Thailand
CEO University of Happiness
ผู้แต่งหนังสือขายดี : ศาสตร์ผู้นำสู่ความยั่งยืน, เหนือกว่ากำไร, Well-Being Leader, DNA Of Leadership Happiness
ทางสองแพร่งของผู้นำ (ความสุข VS ความสำเร็จ)
เมื่อโลกเดือด สังคมป่วน ชีวิตรวน ทำให้เกิดทางสองแพร่งของผู้นำที่ต้องเลือกระหว่างความสำเร็จและความสุข ผู้นำที่มุ่งเน้นต่อความสำเร็จเพียงตัวเลขและผลลัพธ์จะทำให้ทีมงานมีความเครียด หมดความสนุก หมดไฟและหมดพลังในการทำงาน
ความสำเร็จและความสุขสามารถไปด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้หมายถึงแค่การบรรลุเป้าหมายทางอาชีพหรือการเงิน แต่ยังรวมถึงความพอใจในสิ่งที่ทำ ความสัมพันธ์ที่ดี และการมีสุขภาพที่ดี
การหาจุดสมดุลระหว่างความสำเร็จและความสุข จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับค่านิยมของตนเอง และไม่ลืมให้ความสำคัญกับเวลาที่ใช้กับคนที่รัก การดูแลตัวเอง และการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และที่สำคัญเป็นไปได้ไหมที่เราสร้างสมดุลระหว่างทั้งสองด้านเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนและมีความสุขในกระบวนการ
สงครามแย่งผู้นำ (Talent War)
‘สงครามแย่งผู้นำ’ เป็นสมรภูมิที่ผู้นำและองค์กรจะต้องเข้าใจว่า ถ้าสภาวะแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรสร้างความเครียดและความเจ็บป่วยทางร่างกาย อาจเกิดการแข่งขันในการแย่งตัวที่รุนแรงขึ้น องค์กรที่รับรู้ถึงความสำคัญในการสร้าง Proactive Well-Being lifestyle harmony จะเป็นกุญแจสำคัญในการ Engage สมองและหัวใจของผู้นำที่สามารถมีพลังชีวิตเพื่อผลักดันให้เกิด Outstanding Performance ในการทำงาน
ถ้าผู้นำให้ความรักและเห็นคุณค่าในการพัฒนาทั้ง ร่างกาย (Physical) อารมณ์ (Emotional) ความคิด (Mental) และจิตวิญญาณ (Spiritual) เพื่อสร้าง Holistic Well-Being ที่ครบทั้ง 4 มิติในความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกับกลุ่ม Successor และ Talent leader ด้วยแล้ว การสร้างแรงบันดาลใจ การปลุกพลังชีวิต และการรักษาคนดีและคนเก่งซึ่งเป็นกลยุทธ์ Social Well-Being Collaboration ของตัว S ใน ESG Strategy ก็จะเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งกันที่ยั่งยืน
‘ผู้นำสร้างสุข’ และ ‘กลยุทธ์การสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน'(Leadership Well-Being transformation as a ESG Strategy)
เป็นแนวคิดที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงแต่ช่วยในการพัฒนา ESG Strategy โดยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนทั้งความสุขและความยั่งยืนได้ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนา Inner Leadership Mastery Develop Blueprint ของบันได 11 ขั้นดังนี้:
- การพัฒนาความตระหนักรู้
- การฝึกสติ (Mindfulness): สนับสนุนผู้นำให้ใช้การฝึกสติในการรับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
- การเรียนรู้เกี่ยวกับ ESG: เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ ESG และผลกระทบที่มีต่อองค์กรและสังคม
- การเป็น Creator ที่ตั้งเป้าหมายอันทรงพลังที่ชัดเจน
- การขยาย Limited belief ของ Fixed Mindset ที่จำกัดสู่ความเป็นไปได้ใหม่ที่ทรงพลัง
- ระบุเป้าหมายที่ต้องการ การพัฒนาทักษะใหม่ การสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว
- การเป็นตัวอย่างและต้นแบบที่มีสุขภาพกายและใจที่ดีต่อตนเอง ทีมงานและสังคม
- ผู้นำที่มีสุขภาพจิตดีสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น และนำทีมด้วยความเห็นใจ
- การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีสามารถช่วยลดความเครียดในทีม ส่งผลต่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- การแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม: ผู้นำควรแสดงออกถึงความตั้งใจในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบทางสังคมและสร้างความยั่งยืน
- สร้างวัฒนธรรมการที่มีความสุขและความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
- กำหนดค่านิยม: สนับสนุนการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่บริหารความสุขสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
- การรับฟังและสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ: ให้โอกาสทีมแสดงความคิดเห็นและต่อยอดความคิดในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี
- สนับสนุนสุขภาพกายและจิตใจและความเป็นอยู่
- โปรแกรมสนับสนุนสุขภาพ: สร้างกิจกรรมที่ช่วยให้พนักงานสามารถพัฒาให้กายและใจแข็งแรงตลอดจนมีภูมิต้านทานในการบริหารจัดการกับความเครียด
o กินอย่างชาญฉลาด (Eat Wisely)
o เป้าหมายของความสุขในชีวิต (Mental happiess)
o ภูมิต้านทานความเครียด (Emotional Resilience)
o เติมฮอร์โมนความสุข (Happy Hormones)
o ร่างกายที่มีพลัง (Hi-Energetic Body)
- สร้างสมดุลชีวิตการทำงาน: ส่งเสริมการทำงานที่ยืดหยุ่นและสนับสนุนการใช้เวลาส่วนตัว
- การสร้างแผนปฏิบัติการ
- แบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นขั้นตอนเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้ในแต่ละสัปดาห์
- กำหนดกิจกรรมที่ชัดเจน เช่น การเข้าร่วมการอบรม การอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง หรือการใช้เวลาในการออกกำลังกาย
- การปรับพฤติกรรม
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการใช้เวลาสำหรับการทำสมาธิ
- สร้างกิจวัตรประจำวันที่สนับสนุนการเติบโตและการพัฒนา
- สร้างการมีส่วนร่วม
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน: ให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการพัฒนาองค์กร
- กิจกรรมสร้างทีม ชุมชนและสังคม: จัดกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ
- การประเมินและปรับปรุง
- การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง: ตรวจสอบความก้าวหน้าในด้านสุขภาพกายจิตใจและความยั่งยืน
- ติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น การบันทึกสิ่งที่ทำได้และสิ่งที่ยังต้องปรับปรุง
- ปรับแผนหากพบว่ามีอุปสรรคหรือความท้าทายใหม่ ๆ
- ปรับกลยุทธ์ตามผลลัพธ์: ใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแนวทางและกลยุทธ์ในการสร้างองค์กร
โดยการดำเนินการตามกลยุทธ์เหล่านี้
- การเฉลิมฉลองความสำเร็จ
- เมื่อบรรลุเป้าหมายในแต่ละสัปดาห์หรือเดือน ควรให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ
- การเฉลิมฉลองความสำเร็จช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
- การรักษานิสัยใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- มีแผนในการรักษานิสัยและวิถีชีวิตใหม่ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาตนเอง แต่ยังสร้างผลกระทบที่ดีต่อทีม องค์กร สังคม ทำให้ผู้นำสามารถนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน