เป็นที่รู้กันดีว่า “พลาสติก” ถือเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยๆปี ยิ่งถ้าขยะพลาสติกหลุดรอดไหลลงสู่ทะเลแล้ว นอกจากจะทำลายทัศนียภาพแล้ว ยังทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลต่อสัตว์ทะเลตายเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นแหล่งปนเปื้อนของเชื้อโรคอีกด้วย ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุ ปี 2560 พบปริมาณขยะมูลฝอยจังหวัดชายทะเล 23 จังหวัด มากถึง 11.47 ล้านตัน โดยจำนวนดังกล่าวมีขยะพลาสติกอยู่ประมาณ 340,000 ตัน โดย 10-15% มีโอกาสปนเปื้อนลงทะเล ซึ่งขยะพลาสติกส่วนใหญ่จะเป็น ถุงพลาสติก, ขวดน้ำพลาสติก, แก้ว,
โฟม, หลอด เป็นต้น
ถึงแม้เราจะรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและหันมาใช้ถุงผ้าเพื่อลดปริมาณขยะแล้วก็ตาม แต่คงจะดีกว่านี้หากขยะพลาสติกที่กำลังไหลลงสู่ทะเลได้นำมาเพิ่มมูลค่าทำประโยชน์ด้วยนวัตกรรมต่างๆ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
โดยล่าสุด บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC)และมูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทย ร่วมกันออกแบบและพัฒนาบ้านจากวัสดุอัพไซคลิงหลังแรกแห่งประเทศไทย โดยมีแนวคิด Waste to Worth ที่สร้างด้วยวัสดุที่ได้รับการแปรรูปมาจากพลาสติกที่ใช้แล้วกว่า 3 ตัน ส่วนหนึ่งมาจากสายการผลิตของ P&G และชุมชน พร้อมตั้งเป้าที่จะลดปริมาณพลาสติกที่จะไหลลงทะเลให้หมดภายในปี 2030
นายชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริษัทความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร CG กล่าวGC ต้นแบบและนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ และขยายผลไปสู่โครงการต่างๆ ภายใต้แนวคิด GC Circular Living เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินดำเนินการอย่างครบวงจร “Loop Connecting” ตั้งแต่การคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง สร้างรายได้เพิ่ม และขยะพลาสติกได้รับการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็น Upcycled Products ใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
สำหรับบ้าน Upcycling หลังนี้ ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วทั้งประเภท HDPE Bottle และ Multilayered Flexible Packaging ที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บและคัดแยกร่วมกันในชุมชน กว่า 3 ตัน โดย GC ได้ประสานความร่วมมือและทำงานร่วมกับพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ประกอบการ โดยใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้เทียม Eco Board และ Eco Roof เพื่อนำมาสร้างเป็นตัวบ้านและหลังคาบ้าน พร้อมกันนี้ได้ประสานกับ Habitat for Humanity ในการส่งมอบให้ผู้ขาดแคลนที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ นับว่าโครงการนี้สามารถขยายผลไปสู่ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ต่อยอดกลยุทธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลาสติกยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต
บ้าน Upcycling หลังแรกนี้นอกจากจะเป็นต้นแบบที่สร้างความมั่นใจถึงวัสดุที่มีคุณภาพสูง สามารถใช้งานแทนวัสดุเดิมได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังตอบโจทย์ Loop Connecting หรือความร่วมมือกับพันธมิตรของ GC อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากร อีกทั้งยังเปิดโอกาสสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์รีไซเคิลคุณภาพสูง ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข่าวที่น่าสนใจ
“วราวุธ” บุกถ้ำนาคา ดูงานซ่อม-ฟื้นฟู ลั่นใครทำลายธรรมชาติ จับทันที พร้อมสั่งปิด