9 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก เปิดโปรเจกต์ “Transform to Net Zero” หนุนทุกธุรกิจช่วยลดโลกร้อน

9 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก เปิดโปรเจกต์ “Transform to Net Zero” หนุนทุกธุรกิจช่วยลดโลกร้อน


กลุ่มผู้นำบริษัท 9 แห่งริเริ่มโครงการ “Transform to Net Zero” โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งมอบงานวิจัย คำแนะนำ และแผนแม่บทที่นำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อให้ธุรกิจทุกแห่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้สำเร็จ

 

โครงการริเริ่มใหม่นี้นำโดยสมาชิกผู้ก่อตั้งอย่าง A.P. Moller – Maersk, Danone, Mercedes-Benz AG, Microsoft Corp., Natura &Co, NIKE, Inc., Starbucks, Unilever และ Wipro รวมถึงกองทุน Environmental Defense Fund (EDF) โดยได้รับการสนับสนุนจาก BSR ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการให้กับโครงการนี้

โครงการ Transform to Net Zero จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพลิกโฉมธุรกิจที่จำเป็นสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 นอกเหนือไปจากการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้กว้างขึ้น โดยมีจุดโฟกัสอยู่ที่นโยบาย นวัตกรรม และการเงิน เพื่อมอบผลลัพธ์ที่ใช้งานได้จริงแก่ทุกฝ่ายแม้จะมีบริษัทรายอื่น ๆ เข้าร่วมเพิ่มเติม ภายใต้การกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุผลลัพธ์การดำเนินงานให้ได้ภายในปี 2025

โครงการริเริ่มนี้จะดำเนินงานตามหลักการดังต่อไปนี้

1. มุ่งสร้างนวัตกรรมพลิกวงการ : ดำเนินงานตามพันธสัญญาของสมาชิกแต่ละราย และนำสิ่งนั้นไปปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะในเรื่องกลยุทธ์องค์กร บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบ การเงินและการดำเนินงาน การบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดซื้อ นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา การตลาด และกิจการสาธารณะ

2. นำโดยหลักวิทยาศาสตร์ ข้อมูลและกลวิธีจากแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด : มุ่งใช้แนวทางที่เป็นมาตรฐานเพื่อบรรลุหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส พร้อมยกระดับคุณภาพและความพร้อมของการวิจัย ข้อมูล และเครื่องมือสำหรับทุกคน และสร้างผลตอบแทนสูงสุดต่อสภาพอากาศจากการลงทุน

3. ใช้ประโยชน์จากโครงการที่ดำเนินอยู่ : มุ่งส่งเสริมความร่วมมืออย่างเปิดกว้างร่วมกับโครงการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่มีอยู่เดิม (โครงการตามที่เข้าร่วม สนับสนุน เป็นภาคส่วน และในแง่ระเบียบวิธี) เพื่อใช้ประโยชน์จากการดำเนินงานที่มีอยู่และยกระดับการพลิกโฉมธุรกิจสู่การลดการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

4. บรรษัทภิบาลและควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็ง: ที่ระดับสูงสุดขององค์กร โครงการบรรษัทภิบาลและการควบคุมดูแลจะผนึกกำลังสู่การบรรลุเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ไม่ว่าจะด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม บริการ และโมเดลธุรกิจ

5. มุ่งลดและกำจัดการปล่อยคาร์บอนทั่วทั้งองค์กร : การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์อาศัยการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วทั้งห่วงโซ่มูลค่า ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์กำหนดให้เราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามวิทยาการล่าสุด และเพิ่มขีดความสามารถของเราในการกำจัด GHG ในอนาคตอันใกล้ เพื่อกรุยทางให้บริษัทต่าง ๆ และทั้งโลก ร่วมบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศ โดยจะมีการบูรณาการกระบวนการส่งเสริมสภาพอากาศหลากหลายรูปแบบเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

6. การลงทุนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม : มุ่งมั่นตั้งใจลงทุนและเร่งการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อยกระดับสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงการจับมือเป็นพันธมิตรกับภาคส่วนอื่น ๆ

7. ร่วมกำหนดนโยบาย: ยกระดับนโยบายสาธารณะที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและเร่งให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้เร็วขึ้น พร้อมประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สมาคมการค้า เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

8. ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ: รายงานและเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในเรื่องการยกระดับสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ต่อผู้มีส่วนได้เสียรายสำคัญ ทั้งนักลงทุน ลูกค้า ผู้บริโภค รวมถึงฝ่ายกำกับดูแลหากจำเป็น พร้อมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกคน

9. การเปลี่ยนผ่านอย่างเหมาะสมและยั่งยืน: เรารู้ว่ากลุ่มคนชายขอบและชุมชนผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด ดังนั้น เราจะช่วยสร้างเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และยั่งยืนสำหรับประชาชนทุกเพศ เชื้อชาติ และทุกระดับ

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ