รายงานจากธนาคารโลกระบุว่าโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.08 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษนับจากนี้ไป ภายใต้สมมติฐานโลกมีการปล่อยมลพิษในระดับสูงสุดต่อเนื่อง จะส่งผลต่อปริมาณการผลิตด้านการเกษตรที่น่ากลัว
ตามที่ทราบกันอยู่ว่าในปีนี้โลกเราต้องเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนิญโญกันอีกครั้ง และอาจจะเป็นครั้งใหญ่กว่าครั้งก่อน ๆ ที่เหล่ามนุษยชาติเคยเผชิญมาตั้งแต่ปี 1880 โดยโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.08 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษมาโดยตลอด และอัตราของการอุ่นขึ้นนั้นได้เพิ่มความเร็วขึ้นอีกกว่าสองเท่าจากเดิมตั้งแต่ปี 1981 ด้วยอัตราถึง 0.18 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษในปีที่ผ่านมา และเป็นปีที่หกที่มีอากาศร้อนที่สุดตามสถิติด้านอุณหภูมิที่องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศของสหรัฐอเมริกา (NOAA) บันทึกเอาไว้
ผลผลิตข้าวลดทั่วโลก
การเผชิญกับเอลนิญโญ การทบกับปริมาณอาหารทุกชนิด รวมทั้ง “ข้าว” สินค้าการเกษตรหลักของไทย จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรของไทย ได้อ้างอิงรายงาน ผลผลิตข้าวโลก ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนมกราคม 2566 มีผลผลิต 502.968 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 514.954 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 2.33
นอกจากนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนมกราคม 2566 การค้าข้าวโลกจะมีปริมาณ 502.968 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.33 โดยแบ่งเป็นการใช้ในประเทศ 516.097 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.77 การส่งออก/นำเข้า 54.375 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 3.63 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 169.983 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 7.17
– ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา ไทย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย ตุรกี อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา
– ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป กานา เม็กซิโก เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ แองโกลา จีน ไอเวอรี่โคสต์ กินี อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล ศรีลังกา และเวียดนาม
– ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ไนจีเรีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ตารางผลผลิตข้าวโลก(ประมาณการมกราคม 2566)
อ้างอิง :https://shorturl.asia/nI7Kh
อ้างอิง: https://www.nstda.or.th/sci2pub/global-climate-change-and-food-security/
เวิล์ดแบงก์ เตือนไทยรับมือผลผลิตลด
ทางด้านธนาคารโลก เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด เรื่องความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของไทย ปี 2564 (Climate Risk Country Profile: Thailand 2021) จัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Development Bank (ADB) ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาระสำคัญส่วนหนึ่งระบุว่า สภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงมีผลต่อภาคเกษตรและมีอิทธิพลต่อประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหาร
โดยผลทางตรงคืออุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่วนผลทางอ้อมก็คือปริมาณแหล่งน้ำจะลดลงและฤดูกาลผันแปร แร่ธาตุในดินที่จะเปลี่ยนแปลงไป นอกจากยังเกิดการระบาดของแมลงและโรคพืชต่างๆ หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของเชื่อโรคสายพันธุ์ใหม่ๆมารุกรานพืชผล รวมไปถึงพื้นที่เพาะปลูกที่จะลดลง
ในรายงานฉบับเดียวกันระบุว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยพบว่า ปริมาณฝนตกระหว่างฤดูเพาะปลูกข้าว คือ ก.ย.-ต.ค. มีสัดส่วนลดลง ขณะที่อุณหภูมิกลับเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวลดลง
จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยจะมีปริมาณฝนตกลดลงราว 10 % ในอีก 60 ปีข้างหน้าหรือราวปี 2080 และปริมาณน้ำต่อการเพาะปลูกจะลดลงราว 29 % ดังนั้นคำแนะนำสำหรับประเทศไทยคือต้องหาทางรับมือการลดลงของผลผลิตข้าวในสัดส่วนร้อยละ 5.3 ช่วงปี 2041-2050 หรืออีก 20 ปีจากนี้ ภายในการเทียบกับฐานปี 1991-2000
ส่งผลราคาอาหารแพงขึ้นในอนาคต
รายงานข่าวจากเว็บไซต์สาระวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าอุตสาหกรรมอาหารเองก็เป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากบทวิเคราะห์ของ โจเซฟ พัวร์ (Joseph Poore) และโทมัส เนเมเซก (Thomas Nemecek) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ในปี พ.ศ. 2561 ได้ประเมินเอาไว้ว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดนั้นคิดเป็นร้อยละ 74 เกิดจากกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่อาหาร ส่วนกิจกรรมด้านอาหารนั้นปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นปริมาณร้อยละ 26 เท่านั้น
อ้างอิง: https://www.nstda.or.th/sci2pub/global-climate-change-and-food-security/
แน่นอนว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ที่ทำให้ผลผลิตภาคเกษตรลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารต้องแบกรับราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ตั้งแต่การจัดเก็บหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การเก็บรักษาหลังแปรรูป และขนส่งจัดจำหน่าย ซึ่งทั้งหมดมีต้นทุนจากราคาพลังงาน
มีการประเมินว่า กระบวนการเก็บรักษาอาหารด้วยการแช่เย็นและแช่เยือกแข็ง ได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยประเทศในเขตอบอุ่น หากอุณหภูมิภายนอกอาคารเพิ่มจาก 17 องศาเซลเซียส ไปเป็น 25 องศาเซลเซียส ห้องเย็นจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 11
ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่าค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index: CPI) อาจจะสูงขึ้นแบบมีอัตราเร่งมากกว่าเดิม ซึ่งแสดงว่าราคาอาหารในอนาคตกำลังสูงขั้นนั้นเอง และย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารในหลายประเทศทั่วโลก
อ้างอิง: https://shorturl.asia/nI7Kh
https://www.bangkokbiznews.com/business/960136
https://www.nstda.or.th/sci2pub/global-climate-change-and-food-security/
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
อาเซียน ออกมาตรฐานใหม่ ยั่งยืน โปร่งใส ไม่ฟอกเขียว
https://www.thaiquote.org/content/250893
จอห์น เลวานดอฟสกี้ ผู้พัฒนาชุดตรวจโรคมาลาเรียให้กับคนจนในประเทศกำลังพัฒนาเพียง 0.0343 บาท และใช้ซ้ำได้
https://www.thaiquote.org/content/250825