ผ่าแผนปั้น โคเนื้อจากอีสาน ยกระดับแบรนด์ พรีเมียม

ผ่าแผนปั้น โคเนื้อจากอีสาน ยกระดับแบรนด์ พรีเมียม


2.การจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรและออกแบบผ้าไหม
3.การยกระดับ SMEs สู่ “Factory 4.0”
4.การพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังสู่ “Tapioca 4.0”

1 ใน 4 ข้อเสนอดังกล่าว คือ การยกระดับพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อ (อีสานวากิว) ซึ่งมีเนื้อโคคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ โดยในอุตสาหกรรมดังกล่าว กำลังประสบปัญหาการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเนื้อส่วนที่เหลือจากเกรดพรีเมียม รวมทั้งลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ เพื่อยกระดับเนื้อโคที่มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับสู่การจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ โดยเนื้อส่วนที่เหลือนั้น มีปริมาณมากขึ้น 80% จากโคเนื้อ 1 ตัว

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อ (อีสาน วากิว) โดยใช้ศูนย์ ITC จ.นครราชสีมา เพื่อการพัฒนาแปรรูปเนื้อวัวส่วนเหลือทิ้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และการสร้างแบรนด์ โดยศูนย์ ITC จะเป็นพื้นที่เพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และให้การสนับสนุนเครื่องจักร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ก่อนนำไปสู่การทำตลาดเพื่อเชิงพาณิชย์ต่อไป และมอบหมายให้สถาบันอาหารเข้ามาดูแลเรื่องของการกระบวนการแปรรูป โดยจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี

ทั้งนี้ การพัฒนาในเรื่องดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่กว่า 10 กลุ่ม จำนวน 400 ราย มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานกว่า 1,000 ราย และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ได้กว่า 200 ล้านบาท

ขณะเดียวกันการร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อวากิวดังกล่าว จะเป็นโมเดลเพื่อเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ที่จัดทำขึ้นอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางคือเกษตรกรผู้เลี้ยง ระบบการเลี้ยง โรงชำแหละ และโรงตัดแต่งเนื้อส่วนต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ทันสมัย การแปรรูปชิ้นส่วนเหลือทิ้งเพื่อการเพิ่มมูลค่า

ด้าน ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการเทคโนธานีมหาวิทยาลัยสุรนารี กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อวากิวยังคงประสบปัญหาระบบการเลี้ยง โรงคัดกรอง โรงเชือดที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาสนับสนุนเพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมโคเนื้อที่มีคุณภาพ โดยคาดว่าจะใช้เงินทุนในการยกระดับอย่างครบวงจรทั้งหมดประมาณ 30 ล้านบาท

ขณะที่นายสุริยา บุญเที่ยง ผู้ประกอบการโควากิว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า อีกหนึ่งปัญหาคือเรื่องของระบบโลจิสติกส์ และเรื่องของแหล่งเงินทุน ซึ่งจะมาช่วยในการผลิตแหล่งอาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงโคเนื้อให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี สำหรับเงินทุนสินเชื่อที่ยื่นกู้จากกองทุนประชารัฐที่มีดอกเบี้ยถูกนั้น ถือเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรผู้ประกอบการ แต่ใช้ระยะเวลานานถึง 2 ปีแล้วก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ

อย่างไรก็ตาม ดร.อุตตม ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงพร้อมที่เดินหน้าในโครงการ โดยในส่วนของเรื่องเงินทุนนั้น จะต้องสอดรับกับการใช้ตามลักษณะของกองทุน ตนจะให้มอบหมายหน่วยงานของกระทรวงฯที่มีกองทุนประชารัฐเข้าไปดูแล รวมทั้ง SME Bank ที่มีสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนยกระดับธุรกิจของ SMEs โดยจะให้ธนาคารเข้าไปประสานในเรื่องดังกล่าว โดยกองทุนประชารัฐนั้นขณะนี้กำลังปรับปรุงเพื่อการอนุมัติสินเชื่อให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจะพร้อมที่จะอนุมัติสินเชื่อในเร็วๆ นี้

ด้านนายวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ (SME Bank) กล่าวว่า เบื้องต้นธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในบางกลุ่ม โดยต่อจากนี้จะต้องมีการดีไซน์สินเชื่อที่สามารถรองรับทั้งส่วนของต้นน้ำ คือเกษตรกรกลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนในการทำอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

สุดท้ายนี้ หากอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปโคเนื้อดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อแน่ว่าจะสามารถสร้างให้พื้นที่ของ “นครชัยบุรินทร์” เกิดเป็นศูนย์กลางของการเลี้ยงโคเนื้อวากิวเพื่อการส่งออกได้อย่างแน่นอนในอนาคต