“อัครารีซอร์เซส” เหมืองทองคำมฤตยู!

“อัครารีซอร์เซส” เหมืองทองคำมฤตยู!


แบบไหน แต่ปฏิกิริยามหาชนต่อเหมืองทองคำ กลับตรงกันข้าม ด้วยเหตุผลง่ายๆ…ชาวบ้านกลัวพิการทุพลภาพ

และตายอย่างน่า เอน็จอนาถ!

ที่เมืองไทยปี 2544 ในยุคสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดประตูต้อนรับ กลุ่มทุนข้ามชาติจากออสเตรเลียชื่อ “คิงส์เกตคอนโซลิเดเต็ด” เข้ามาเปิด “บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด” ในเบื้องต้น ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อัครารีซอร์เซส” เพื่อลงทุนทำกิจการเหมืองทองคำบริเวณเขตรอยต่อ 3 จังหวัดได้แก่เพชรบูรณ์-พิจิตร-พิษณุโลกโดยได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ”ทักษิณ ชินวัตร”เป็นประธานคณะกรรมการกิจการเหมืองทองคำ

บริษัท อัครารีซอร์เซส จำกัดของกลุ่มคิงส์เกตฯ ที่ได้รับการสนับสนุนแบบชุดใหญ่ไฟกะพริบจากรัฐบาลทักษิณ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในชุมชนรอบเหมืองทองคำ….ความปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันฉันญาติมิตร ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนาน แปรเปลี่ยนเป็นความแตกแยก ร้าวฉาน โดยมีเหตุปัจจัยจากผลประโยชน์ของเหมืองทองคำ กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์ค่าตอบแทนจากเหมืองทองคำ และเล็งประโยชน์เฉพาะหน้าเป็นที่ตั้ง โดยไม่สนใจว่า คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม จะเสียหายยับเยินแค่ไหน เพียงใด

ย่อมเป็นธรรมดาที่จะ”เชียร์ขาดใจ” ยกย่องเชิดชูเหมืองทองคำดีที่สุดในโลก

ในทางตรงกันข้าม กลุ่มชาวบ้านจำนวนมากที่ “ไม่ศิโรราบ” ให้กับผลประโยชน์ที่เหมืองทองคำพยายามหยิบยื่นให้เพราะตระหนักดีถึงผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองทองคำต่อชีวิตความเป็นอยู่..ต่อสิ่งแวดล้อม มันใหญ่หลวงน่าสพรึงกลัวยิ่งนัก ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวให้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควบคุมดูแลการดำเนินกิจการเหมืองทองคำอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวบ้านในการปกป้องคุ้มครองตัวเอง และ แผ่นดินถิ่นกำเนิดให้ปลอดภัยจากกิจการเหมืองทองคำ โดยฝากความหวังไว้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่ถึงกับ “สิ้นหวัง” แต่ต้องเผชิญกับ ”

ความผิดหวังรุนแรง” ขณะที่ความหวาดระแวงและความวิตกกังวลต่อพิษภัยเหมืองทองคำของชาวบ้านค่อยๆเผยความจริงอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น….

คณะแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เมื่อครั้ง คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการ ได้ลงพื้นที่ตรวจเลือด..ตรวจปัสสาวะ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงเหมืองทองคำ พบว่ามีปริมาณสารหนู..แมงกานิส สูงเกินค่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลกหลายเท่าตัว โดยที่ประเด็นนี้เคยถูกหนังสือพิมพ์ และ สำนักข่าวหลายแห่งในประเทศ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ “ซิดนีย์มอร์นิ่งเฮอรัลด์” ของออสเตรเลียตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว

ผลการตรวจโดยคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ทีมงานคุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ มีความสอดคล้องกับกับผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพชาวบ้านในชุมชนรอบเหมืองทองคำ โดยนักวิชาการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งสะท้อนถึงอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยชุมชน ยิ่งไปกว่านั้น ผลการตรวจวิเคราะห์ภาวการณ์รั่วซึมของบ่อเก็บกากแร่ เหมืองทองคำ โดยคณะนักวิชาการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับนักวิชาการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ด้วยเทคโนโลยีไอโซโธป และทีมงานจาก Geological Survey of Japan ที่ใช้เทคโนโลยีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตรวจจับการนำไฟฟ้าของสารปนเปื้อน ล้วนยืนยันถึงการรั่วและซึมของบ่อเก็บกากแร่ เหมืองทองคำออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตชาวบ้าน ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ผลการตรวจวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ยังไปในทิศทางเดียว กับ คำพิพากษา ศาลปกครองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2557 ซึ่งบ่งชี้ว่าเหมืองทองคำ โดยบริษัทอัครารีซอร์เซส จำกัด มีพฤติกรรม ที่ ละเมิดกฎหมายไทย และมีข้าราชการไทยบางคนปล่อยปละละเลยให้เกิดการกระทำละเมิดสาระสำคัญของคำพิพากษา ดังกล่าว ซึ่งมีนางนฤมล ธรรมครองอาตม์ เป็นตุลาการเจ้าของสำนวน มีถ้อยคำชี้ชัดข้าราชการ 4 ตำแหน่ง คืออธิบดีกรมทรัพยากรพื้นฐานและเหมืองแร่ /อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม / ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร / อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ละเลยต่อหน้าที่ตามกฏหมาย กรณีให้อนุญาตย้ายพิกัดในการสร้างบ่อเก็บกากแร่ที่ 2 (TSF2) ต่างไปจากที่ระบุไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และให้อนุญาตขยายโรงงานส่วนขยาย โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาการทำเหมืองทองคำ นับเนื่องจากปี 2544 เป็นต้นมา จนกระทั่งถูกสั่งให้ยุติการประกอบกิจการลงทั้งหมดตามคำสั่ง คสช.ที่ 72/2559 เมื่อปี 2559 มีการคำนวณปริมาณการใช้วัตถุระเบิดสะสมรวม27,750 ตัน หรือ 27.75 ล้านกิโลกรัม และมีการใช้ไซยาไนด์สะสมรวม 2,250 ตัน หรือ 2.25 ล้านกิโลกรัม เศษซากวัตถุระเบิดเกือบ 28 ล้านกิโลกรัม และไซยาไนด์กว่า 2 ล้านกิโลกรัมย่อมฟุ้งกระจายอยู่โดยรอบเหมืองทองคำนั่นแหละ โดยอ้างอิงตามทฤษฏีว่าด้วยสสารย่อมไม่สูญหายไปไหน แต่จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปเท่านั้น แน่นอนว่าการเปลี่ยนรูปของสสารที่ถูกใช้งานในขุมเหมืองทองคำ “แบบเปิด” มีแนวโน้มที่จะเป็นที่มาของสารพัดสารพิษหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารหนู/แมงกานิส/ซัลเฟต / ไซยาไนด์ /แคดเมียม รวมไปถึง “ไฮโดรเจนไซยาไนด์” หรือ “แก๊สพิษ” ซึ่งเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารไซยาไนด์กับอากาศบรรดาสารพิษสารพัดชนิดที่ทั้งรั่วหลายชนิด ทั้งรั่วและซึมจากบ่อเก็บกากแร่ของเหมืองทองคำ หากแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มความเสี่ยงของการเจ็บป่วยโรคร้ายแรงหลายโรค

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง..โรคกล้ามเนื้ิออ่อนแรง…อวัยวะผิดรูป…พาร์กินสันรวมไปถึงก่อให้เกิดความผิดปกติของพันธุกรรม หรือโครโมโซม

นอกเหนือจากการกระทำ และ อกุศลกรรม ของ บริษัทอัครารีซอร์เซส จำกัดและกลุ่มคิงส์เกตฯ ต่อคนไทย..ต่อแผ่นดินไทย และสิ่งแวดล้อมไทย แล้วยังมี “หลุมดำ” ขนาดใหญ่กรณี “เงินโอนปริศนาข้ามชาติ” จำนวน 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ ประมาณ 2,500 ล้านบาท จากออสเตรเลียเข้ามายังประเทศไทย ไปยังบัญชีบุคคลบางคน ซึ่งน่าสงสัยจะมีส่วนเกี่ยวพันกับการเอื้อประโยชน์แก่การประกอบกิจการเหมืองทองคำของ กลุ่มคิงส์เกตในประเทศไทย ซึ่งรอคอยการชำระสะสางจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

สรุปรวบยอดรวมความแล้วพฤติกรรมการดำเนินกิจการเหมืองทองคำ ของบริษัท อัครารีซอร์เซสจำกัด เข้าข่ายขัดกับหลักการตามข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังมีประวัติการกระทำความผิดหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมิได้ดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยตามมาตรฐานเยี่ยงเดียวกับที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศออสเตรเลียการที่กลุ่มคิงส์เกตฯ อ้างเหตุคำสั่ง คสช.ที่ 72/2559 ซึ่งออกมาเพื่อคุ้มครองคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางสากล ไปร้องต่อ คณะอนุญาตโตตุลาการระหว่างประเทศ โดยระบุกล่าวหารัฐบาลไทย กระทำการขัดกับหลักการตามข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งทำคลอดออกมาสมัยรัฐบาลทักษิณ

จึงเป็นกระทำในลักษณะดันทุรังเอาสีข้างเข้าถู ทั้งที่รู้แน่ชัดที่ผลลัพธ์ที่จะออกมาไม่ต่างอะไรกับ”บูมเมอแรง”

ผู้เขียน :พฤกษา ประชาชื่น