พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 60 ว่า ตัวอย่างความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ตนให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาหนี้สิน ก็คือ เรื่อง “กฎหมายขายฝาก” ซึ่งคาดว่าจะมีข้อสรุปได้ ในไม่ช้า ตนได้ยินมา 40 กว่าปี ถึงเรื่องของเกษตรกรรายย่อยที่มักสูญเสียที่ดินทำกินไป เพราะ “สัญญาขายฝาก” เนื่องจากยากไร้ ขาดเงินทุน และเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนในระบบ อย่างเช่น ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงต้องหาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากนายทุนเงินกู้เรียกร้องให้นำโฉนดที่ดินมาเป็นหลักประกัน โดยการทำ “สัญญาขายฝาก”
สำหรับพี่น้องเกษตรกรเหล่านั้น ไม่มีความรู้ทั้งเนื้อหาของสัญญา ไม่รู้ทั้งกฎหมายขายฝาก สมัยก่อนบางทีก็อ่านหนังสือไม่ได้ด้วย หลักการตามกฎหมายเขาว่า…กรรมสิทธิ์ในที่ดิน จะตกเป็นของผู้รับขายฝากทันที นั้นกฎหมายท่านต้องเรียนรู้ด้วย ยกเว้นแต่ผู้ขายฝากจะมาไถ่ถอนตามกำหนดเวลา ถ้าไม่ไปถอนตามเวลาก็ทันที เราเสียเปรียบตลอดถ้าเราไปยอมเขาแบบนั้น แต่ทุกคนเดือดร้อนจะให้ทำอย่างไร ผู้รับขายฝากก็สามารถไปจดทะเบียนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินนั้นได้เลย ทำกันง่าย ๆ ที่สำนักงานที่ดิน ง่ายกว่าการบังคับจำนองอีก บางทีเวลาถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก นายทุนเงินกู้ก็ไม่อยู่ไม่ว่างเสียดื้อ ๆ ก็ให้มันเลยเวลาไป ซึ่งนี้เป็นการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ทำอย่างนี้ไม่ได้ มันต้องช่วยเหลือกัน เกษตรกรมีเงินไปไถ่ถอน ก็ทำไม่ได้เลยเวลา ตนคิดว่าหมดไปแล้วก็ยังมีอยู่ เมื่อ 1 – 2 เดือนก่อนก็มีคดีฆาตกรรมอยู่ครัวที่จังหวัดภาคใต้ สืบสาวราวเรื่องก็มีปัญหาจากการขายฝาก
“เรื่องแบบนี้ ตนคิดว่าจะต้องแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรรายย่อยให้ได้ ในทุกพื้นที่ เพราะว่าไปเป็นหนี้เป็นสินกับเรื่องการเอาเงินทุนมาลงทุนแต่ละครั้ง แต่ละฤดูกาล บางทีก็เอาเงินของนายทุนมา เจ้าของโรงสีบ้าง เจ้าของโรงน้ำตาล โรงหีบอ้อยบ้าง ซึ่งมันเป็นระบบ ซึ่งมันก็จำเป็นในบางครั้ง แต่บางครั้งก็ต้องไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ประชาชนก็ต้องรู้กฎหมาย เอาของเขามาแล้วก็ต้องเป็นหนี้ไปตลอดไปนั้นแหละ ทุกครั้งๆก็เหมือนกันปลูกไปก็ไม่ได้ไปขายใคร ก็ต้องขายให้เจ้าหนี้นั้นแหละ และท้ายที่สุดที่ดินทำกินก็หายไป”
ทั้งนี้เรื่องนี้จะเป็นอีกประการที่ตนเน้นจะทำให้ได้ในปีนี้และปีหน้า เราจะต้องแก้ไขอย่างไร เราจะยกเลิกกฎหมายขายฝากไปเลย หรือจะแก้ไข้เพิ่มเติมให้พี่น้องเกษตรกรคนจนมีหลักคุ้มครองมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่ทำในรัฐบาลนี้ รัฐบาลอื่นคงทำไม่ได้ ต้องช่วยตนให้ทำให้ได้ มันจะเกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ บรรดาพวกนายทุนต่างๆ ตนไม่ได้ว่าท่านไม่สุจริต เพราะฉะนั้นท่านต้องเห็นใจคนจนเขาบ้างว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เขามาว่าเราว่าเป็นนายทุนเอื้อประโยชน์นายทุนอยู่แบบนี้ ตนว่าต้องลดช่องว่างเหล่านี้ให้ได้ จำเป็นต้องลดช่องว่างของรายได้ให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจะทำให้ช่องว่างของรายได้เท่ากันไม่ได้ แต่เรามีมาตรการทนแทนเราก็จะสามารถทำให้คนยากคนจนมีแหล่งเงินสุดท้ายยามวิกฤติ โดยที่ไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียที่ดิน
อย่างไรก็ตามหลายเรื่องที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ ก็จะต้องดำเนินการต่อไป ธนาคารที่ดินก็มี มันเป็นแต่เพียงเริ่มแรกในการที่จะทำให้ขยายออกไปให้มันทั่วถึง มันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะใช้เงินจำนวนมาก ก็จะต้องมาดูเรื่องของกฎหมายทำทุกอย่างให้พร้อม เรื่องนี้ก็ได้ให้ “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย” ได้บรรจุเป็นวาระเร่งด่วน ในการพิจารณาหาแนวทางแก้ไขแล้ว ทั้งระบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุป เพื่อดำเนินการก่อน ในโอกาสแรก โดยไม่ต้องรอการปฏิรูปในกรอบใหญ่ เพราะเวลาที่มีอยู่อีกประมาณ 1 ปี โดยจะได้สอดคล้องกับโมเดลแก้ปัญหาความยากจนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังมีจังหวัดจำนวนมากที่มีปัญหาความยากจนต่ำกว่าเกณฑ์พื้นฐาน PTT รายหัว
สำหรับพี่น้องเกษตรกรเหล่านั้น ไม่มีความรู้ทั้งเนื้อหาของสัญญา ไม่รู้ทั้งกฎหมายขายฝาก สมัยก่อนบางทีก็อ่านหนังสือไม่ได้ด้วย หลักการตามกฎหมายเขาว่า…กรรมสิทธิ์ในที่ดิน จะตกเป็นของผู้รับขายฝากทันที นั้นกฎหมายท่านต้องเรียนรู้ด้วย ยกเว้นแต่ผู้ขายฝากจะมาไถ่ถอนตามกำหนดเวลา ถ้าไม่ไปถอนตามเวลาก็ทันที เราเสียเปรียบตลอดถ้าเราไปยอมเขาแบบนั้น แต่ทุกคนเดือดร้อนจะให้ทำอย่างไร ผู้รับขายฝากก็สามารถไปจดทะเบียนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินนั้นได้เลย ทำกันง่าย ๆ ที่สำนักงานที่ดิน ง่ายกว่าการบังคับจำนองอีก บางทีเวลาถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก นายทุนเงินกู้ก็ไม่อยู่ไม่ว่างเสียดื้อ ๆ ก็ให้มันเลยเวลาไป ซึ่งนี้เป็นการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ทำอย่างนี้ไม่ได้ มันต้องช่วยเหลือกัน เกษตรกรมีเงินไปไถ่ถอน ก็ทำไม่ได้เลยเวลา ตนคิดว่าหมดไปแล้วก็ยังมีอยู่ เมื่อ 1 – 2 เดือนก่อนก็มีคดีฆาตกรรมอยู่ครัวที่จังหวัดภาคใต้ สืบสาวราวเรื่องก็มีปัญหาจากการขายฝาก
“เรื่องแบบนี้ ตนคิดว่าจะต้องแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรรายย่อยให้ได้ ในทุกพื้นที่ เพราะว่าไปเป็นหนี้เป็นสินกับเรื่องการเอาเงินทุนมาลงทุนแต่ละครั้ง แต่ละฤดูกาล บางทีก็เอาเงินของนายทุนมา เจ้าของโรงสีบ้าง เจ้าของโรงน้ำตาล โรงหีบอ้อยบ้าง ซึ่งมันเป็นระบบ ซึ่งมันก็จำเป็นในบางครั้ง แต่บางครั้งก็ต้องไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ประชาชนก็ต้องรู้กฎหมาย เอาของเขามาแล้วก็ต้องเป็นหนี้ไปตลอดไปนั้นแหละ ทุกครั้งๆก็เหมือนกันปลูกไปก็ไม่ได้ไปขายใคร ก็ต้องขายให้เจ้าหนี้นั้นแหละ และท้ายที่สุดที่ดินทำกินก็หายไป”
ทั้งนี้เรื่องนี้จะเป็นอีกประการที่ตนเน้นจะทำให้ได้ในปีนี้และปีหน้า เราจะต้องแก้ไขอย่างไร เราจะยกเลิกกฎหมายขายฝากไปเลย หรือจะแก้ไข้เพิ่มเติมให้พี่น้องเกษตรกรคนจนมีหลักคุ้มครองมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่ทำในรัฐบาลนี้ รัฐบาลอื่นคงทำไม่ได้ ต้องช่วยตนให้ทำให้ได้ มันจะเกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ บรรดาพวกนายทุนต่างๆ ตนไม่ได้ว่าท่านไม่สุจริต เพราะฉะนั้นท่านต้องเห็นใจคนจนเขาบ้างว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เขามาว่าเราว่าเป็นนายทุนเอื้อประโยชน์นายทุนอยู่แบบนี้ ตนว่าต้องลดช่องว่างเหล่านี้ให้ได้ จำเป็นต้องลดช่องว่างของรายได้ให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจะทำให้ช่องว่างของรายได้เท่ากันไม่ได้ แต่เรามีมาตรการทนแทนเราก็จะสามารถทำให้คนยากคนจนมีแหล่งเงินสุดท้ายยามวิกฤติ โดยที่ไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียที่ดิน
อย่างไรก็ตามหลายเรื่องที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ ก็จะต้องดำเนินการต่อไป ธนาคารที่ดินก็มี มันเป็นแต่เพียงเริ่มแรกในการที่จะทำให้ขยายออกไปให้มันทั่วถึง มันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะใช้เงินจำนวนมาก ก็จะต้องมาดูเรื่องของกฎหมายทำทุกอย่างให้พร้อม เรื่องนี้ก็ได้ให้ “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย” ได้บรรจุเป็นวาระเร่งด่วน ในการพิจารณาหาแนวทางแก้ไขแล้ว ทั้งระบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุป เพื่อดำเนินการก่อน ในโอกาสแรก โดยไม่ต้องรอการปฏิรูปในกรอบใหญ่ เพราะเวลาที่มีอยู่อีกประมาณ 1 ปี โดยจะได้สอดคล้องกับโมเดลแก้ปัญหาความยากจนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังมีจังหวัดจำนวนมากที่มีปัญหาความยากจนต่ำกว่าเกณฑ์พื้นฐาน PTT รายหัว