การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้ากำลังกลายเป็นทางเลือกสำคัญในการจัดการขยะล้นเมือง พร้อมสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนโยบายสนับสนุน
เชื้อเพลิงขยะจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่ง ซึ่งการนำขยะมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลงังานไฟฟ้าและความร้อน หรือ “Waste to Energy”เป็นแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต โดยมีปัจจัยเร่งสำคัญจากปัญหาขยะล้นเมืองที่ทำให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญ และหามาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ปี 2565 ระบุว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 25.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับปี 2564 คิดเป็นปริมาณการเกิดขยะเฉลี่ยประมาณ 1.07 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขณะเดียวกันหากพิจารณาการจัดการขยะมูลฝอยของไทย พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับปี 2564 สาเหตุจากองค์กรส่วนปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบการกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้รับการส่งเสริมตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580(AEDP 2018) โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FiT) นับเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อการประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะที่ยงัมีโอกาสให้เติบโตได้ในอนาคต
ตารางอัตราการเกิดและการกำจัดขยะมูลฝอย
ปัจจัยบวกได้รับการส่งเสริมจาก AEDP 2018
การผลิตไฟฟ้าจากขยะได้รับการส่งเสริมตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานไฟฟ้าจากขยะชุมชนที่ 900 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 จากข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ณ เดือนตุลาคม 2566 พบว่า สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากขยะชุมชนอยู่ที่ 376.81 เมกะวัตต์ โดยมีทิศทางเติบโตดีสะท้อนจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (CAGR) ตั้งแต่ปี 2563-2565 ที่ 6.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานหมุนเวียนรวมทุกประเภทในการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ 2.7%
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสถานภาพโครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ (ไม่รวมโครงการที่ยกเลิกคำขอ ยกเลิกการตอบรับซื้อ และยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟ) พบว่า มีจำนวน 54 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 529.1 เมกะวัตต์หรือคิดเป็นสัดส่วน 58.8% ของเป้าหมายตามแผน โดยแบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้า SPP จำนวน 6 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 269.5 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้า VSPP จำนวน 48 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 259.6 เมกะวัตต์
ตารางเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าจากขยะกับปริมาณการติดตั้ง
สัดส่วนการผลิตแต่ละประเภทที่ไม่เท่ากัน
เมื่อพิจารณากำลังการผลิตติดตั้งจำแนกตามเทคโนโลยีการผลิต (เฉพาะที่จ่ายไฟเข้าระบบแล้ว) พบว่าการผลิตพลงังานไฟฟ้าจากขยะส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีระบบเตาเผาขยะ (Incineration) ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 323.6 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วน 78.8% ของกำลังการผลิตติดตั้้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็นระบบการเผาไหม้ระบบมวลรวม (Mass-Fired Combustion Systems) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 46.9 เมกะวัตต์ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงขยะเป็นพลังงาน (Refuse Derived Fuel – Fired Combustion Systems) หรือ RDF มีกำลังการผลิตติดตั้ง 276.7
เมกะวัตต์)
รองลงมา เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas to Energy) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 50.2 เมกะวัตต์ และเทคโนโลยีผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 18.6 เมกะวัตต์คิดเป็นสัดส่วน 12.2% และ 4.5% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด ตามลำดับ
ส่วนโครงการที่ลงนาม PPA แล้ว แต่ยังยังไม่จ่ายไฟเข้าระบบ มีกำลังการผลิตติดตั้ง 118.7 เมกะวัตต์ โดยโครงการทั้งหมดใช้เทคโนโลยีระบบเตาเผาขยะ แบ่งเป็นระบบการเผาแบบมวลรวม 99.5 เมกะวัตต์และการเผาโดยใช้เชื้อเพลิง RDF 19.2 เมกะวัตต์ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะของไทย ส่วนใหญ่เป็นระบบเตาเผาขยะที่ใช้ RDF เป็นเชื้อเพลิง
สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ RDF เป็นการนำขยะมาผ่านกระบวนการจัดการต่าง ๆ ได้แก่ การคัดแยกด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักร การลดขนาด การผสม การทำให้แห้ง การอัดแท่ง การบรรจุและเก็บ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ สามารถนำไปใช้เผาร่วมกับถ่านหิน เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรมบางประเภท ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมซีเมนต์(ที่มา: บทความเรื่อง “6 เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากขยะ”, สถาบันพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ตารางสัดส่วนการผลิตที่ดำเนินการแล้ว และส่วนที่กำลังจัดทำใบอนุญาต
แหล่งดำเนินการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
ในปัจจุบันการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงขยะ RDF จากขยะชุมชน ดำเนินการโดย 2 หน่วยงาน คือ บริษทัเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการผลิตเชื้อเพลิงขยะ RDF ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนเป็นการจัดหาเชื้อเพลิงขยะให้กับผู้ผลิตปูนซีเมนต์ โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ คือ บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์(โครงการ 1-3) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ. ทีพีไอ โพลีน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 180 เมกะวัตต์(คิดเป็น 43.9% ของกำลัง
การผลิตติดตั้งทั้งหมดของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะที่จ่ายไฟเข้าระบบแล้ว)สามารถรองรับขยะชุมชนได้วันละ 23,500 ตัน และสามารถผลิตเชื้อเพลิงขยะได้วันละ 11,750 ตัน เป็นต้น
ส่วนการผลิตเชื้อเพลิงขยะ RDF ที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นการดำเนินการโดยหน่วยงาน อปท. แต่ละแห่ง หรือโดยผู้ประกอบการเอกชนรายอื่น ๆ โดยในการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชน หรือขยะเก่าจากหลุมฝังกลบขยะของ อปท. เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือนำไปจำหน่ายต่อ ได้แก่ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 9.8 เมกะวัตต์ สามารถรองรับขยะมูลฝอยชุมชนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่เกิน 500 ตันต่อวัน เป็นต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการพลงังานได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 30 มิถนุ ายน 2565 ซึ่งสามารถเปิดรับซื้อได้ทันทีภายหลงัจากการไฟฟ้าออกประกาศไปจนถึงวนั ที่29 ธันวาคม 2566 กำหนดขายไฟฟ้าเข้าระบบปี 2568-2569 เป็นสัญญาแบบ Non-Firm ในรูปแบบ FiT ทั้งนี้ ต้องเป็นโครงการที่ผ่านการเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว ซึ่งจากการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น พบว่า มี 34 โครงการ และมีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารวม 282.98 เมกะวัตต์โดยมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้า (FiT) 5.78 บาทต่อหน่วย สำหรับโรงไฟฟ้า VSPP และ 3.66 บาทต่อหน่วย สำหรับโรงไฟฟ้า SPP (ที่มา: มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 (ครั้งที่ 158) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565)
สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะยังมีแนวโน้มแข่งขันสูง โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนของบริษัทผ้ผูลิตไฟฟ้ารายใหญ่ในกลุ่ม IPP และ SPP ที่มีศักยภาพทางการเงินและเทคโนโลยีมีแนวโน้มเข้ามาขยายกำลังการผลิตและลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่มากขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตติดตั้งในปัจจุบันยังมีกำลังการผลิตติดตั้งเหลือให้พัฒนาอีกกว่า 370.9 เมกะวัตต์ ประกอบกับอัตราการรับซื้อไฟฟ้ายังอยู่ในระดับสูงและไม่ต้องมีการแข่งขันประมูลด้านราคา คาดว่าจะจูงใจให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และนอกตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่เป็นผู้ประกอบการด้านการกำจัดและคัดแยกขยะ
แนวโน้มธุรกิจ
แนวโน้มธุรกิจผลิตพลงังานไฟฟ้าจากขยะในระยะ 1 ปี ข้างหน้า คาดว่าจะยังขยายตัวดีโดยได้แรงหนุนสำคัญจากการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2018) ซึ่งจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลงังานสะอาดในรูปแบบ Feed-in-Tariff ระหว่างปี 2565-2573 ประกอบกับกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะหรือเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) ยังได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI (อยู่ในกลุ่มกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ A1) รวมถึงแรงหนุนจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ประกอบกับแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ตลอดจนการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในหลายอุตสาหกรรม นับเป็นปัจจัยที่เร่งให้ความต้องการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะหรือการใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลให้สามารถเติบโตได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดีธุรกิจมีแนวโน้มเผชิญกับการแข่งขันสูง จากนักลงทุนทั้งรายเก่าและรายใหม่สนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น สาเหตุจากอัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่สูงและไม่ต้องมีการประมูลแข่งขันด้านราคา รวมถึงยังมีกำลังการผลิตติดตั้งเหลือให้พัฒนาอีกพอสมควร นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการรวบรวมปริมาณขยะที่เพียงพอในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะมีผลต่อต้นทุนในการดำเนินการ ตลอดจนการสร้างโรงไฟฟ้าขยะบางแห่งอาจไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากความกังวลถึงเรื่องความปลอดภัย ปัญหามลพิษ และผลกระทบต่อสุขภาพ นับเป็นปัจจัยกดดันการเติบโตของธุรกิจในระยะต่อไป.
ที่มา: ศูนย์วิจัยธุรกิจธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์