เส้นทาง 124 ปี กีฬาโลก เวทีเปิดกว้างนักกีฬาหญิง จุดเริ่มต้นความเท่าเทียม

by ESGuniverse, 30 กรกฎาคม 2567

ประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก 124 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นโอลิมปิก มีนักกีฬาหญิงเข้าร่วมขิงชัย 2.2% เพิ่มเป็น 50% ในปีนี้ ความยั่งยืนที่เริ่มต้นจากการเปิดกว้างรับความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าเพศไหนก็มีความสามารถลงชิงชัยเจ้าเหรียญทองในกีฬาระดับโลกได้

 

 

อดีตที่เกมกีฬา การต่อสู้ ใช้พลัง มีเฉพาะผู้ชาย การแข่งขันกีฬา โอลิมปิก จึงเป็นการแข่งขันที่มีนักกีฬาหลักคือผู้ชายเท่านั้น จนกระทั่งโลกในยุคปัจจุบัน ที่เพศสภาพต่าง ๆ คือสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม การเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับโลก จึงค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปี 1900 ที่มีสัดส่วนนักกีฬส่งผลไปถึงโปรแกรมกีฬาแบบสมดุลทางเพศ ผู้หญิงร่วมแข่งขันเพียง 2.2% จนผ่านมา 124 ปี สัดส่วนผู้หญิงกลับได้รับการยอมรับ เป็นนักกีฬาให้เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาต่าง ๆ รวมถึงบทบาทในการเป็นผู้ฝึกสอน การออกอากาศ และการบริหารจัดการกีฬาไม่แตกต่างจากผู้ชาย โอลิมปิกปีนี้ ปารีส ปี 2024 จึงมีสัดส่วนผู้หญิงถึง 50% เท่าเทียมกับผู้ชาย

โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เปิดเผยว่าถึงแนวคิดการประกาศเจตนารมณ์ทำให้โอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุดในทุกมิติ ทั้งในด้านของจากการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในโอลิมปิก โดยเป็นมติของทางคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (NOC) กว่า 196 คน (96%) เห็นตรงกันให้คัดเลือกนักกีฬา 2 คน ที่เป็นชายและคนหญิงร่วมกันถือธงของประเทศ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นทางสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม

 

 

 

โปรแกรมการแข่งขันกีฬาเพิ่ม 28 รายการจาก 32 รายการได้มีความเท่าเทียมทางเพศอย่างเต็มที่ โดยมีจำนวนกิจกรรมเหรียญที่ให้ทั้งนักกีฬาหญิงและชายอย่างสมดุลเท่าเทียม สะท้อนได้จากพิธีเปิดระหว่างคําสาบานของโอลิมปิก มีผู้ชายและหญิงเคียงคู่กันในวาระสำคัญ โดย ฟลอเรนต์ มาเนาดู (Florent Manaudou) และ เมลิน่า โรเบิร์ต-มิชอน (Mélina Robert-Michon) ผู้ถือธงชาวฝรั่งเศส และผู้จุดคบเพลิงในโอลิมปิก นักกีฬาชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างตำนานโอลิมปิกชาวฝรั่งเศส เท็ดดี้ ไรเนอร์ (Teddy Riner) และ มารี-โจเซ่ เปเร็ก (Marie-José Pérec)

ส่วนตารางการแข่งขันเพื่อชิงเหรียญทอง ทั้งหมดมี 152 รายการที่เป็นการแข่งขันกีฬาผู้หญิง และ 157 รายการที่เป็นการแข่งขันกีฬาของผู้ชาย และมี 20 การแข่งขันที่มีทั้งหญิงและชาย นั่นหมายถึง กิจกรรมมากกว่าครึ่งของการชิงชัยเหรียญที่ปารีส เปิดกว้างให้กับนักกีฬาผู้หญิงลงแข่งขัน

 

 

 

กลยุทธ์เพิ่มเท่าเทียม หนึ่งก้าวพื้นที่สะท้อน ความยั่งยืน

มารี ซัลลัวส์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและพัฒนาองค์กรของ IOC เปิดเผยถึงการจัดการเพิ่มความเท่าเทียมในการแข่งขัน เดินแผนยุทธศาสตร์ล้อไปกับวาระโอลิมปิก Olympic Agenda 2020 ที่ได้กำหนดความเท่าเทียมทางเพศเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันต้องมีความเท่าเทียมทางเพศ จึงตั้งใจออกแบบการแข่งขันให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาท ในเกมกีฬาเท่าเทียมกับผู้ชาย

“เรามีความสุขและภาคภูมิใจที่ได้เฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะความเท่าเทียมทางเพศ เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างทีม ไม่ใช่เพียงแค่นักกีฬา ยังขยายไปถึงผู้ฝึกสอน การบริหารกีฬา และการออกอากาศ”

เส้นทางความเท่าเทียมจากโอลิมปิกในอดีต

ในอดีตผู้หญิงถูกกีดกันอย่างหนักในการเข้าร่วม 3 ปี ก่อนเกมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จะเริ่มต้นที่ ปารีสในปี 1924 เกิดการการชุมนุมเล็ก ๆ ของนักกีฬาหญิงที่นําโดยอลิส มิลเลียต ( Alice Milliat) ต้องจัดการแข่งขันเอง เพราะถูกกีดกัน ไม่ให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

 

การเข้าใกล้จุดสังเกตของความเท่าเทียมทางเพศเป็นสําคัญอย่างเหลือเชื่อ

ในปี 2012 ที่ IOC อนุญาตให้ผู้หญิงแข่งขันในกีฬาทุกประเภท และในปี 2014 มีองค์กรมุ่งมั่นที่จะบรรลุความเท่าเทียมกันทางเพศในหมู่นักกีฬาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยตั้งเป้าหมายหลายชุดเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้

นักกระโดดไกลชาวเชโกสโลวะเกียเข้าแข่งขันในการแข่งขันกีฬาโลกหญิงปี 1922 ซึ่งเป็นเกมครั้งที่สองที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนอง หลังจากถูกปฏิเสธการเข้าร่วม ทาง IOC ได้อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าแข่งขันในเกมการแข่งขันกีฬากรีฑาของกีฬาโอลิมปิก

นักยกน้ำหนักโอลิมปิกจูร์ดัน เดลาครูซ (Jourdan Delacruz) กล่าวกับ CNN ว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าตกใจที่ตอนนี้เป็นปี 2024 และเพิ่งเข้าใกล้ความเท่าเทียม มันไม่เพียงแต่หมายความว่าผู้หญิงจะกลายเป็นคู่แข่ง แต่เพิ่มการเข้าถึงจากระดับรากหญ้ามากขึ้น มีตัวแทนจากผู้หญิงมากขึ้น ที่เป็นตัวแทนของเด็กผู้หญิงที่ก้าวสู่เกมการแข่งขันระดับโลก

นิโคล ลาวอย (Nicole LaVoi) ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยทักเกอร์เกี่ยวกับเด็กผู้หญิงและสตรีในกีฬา กล่าวกับ CNN ว่า มีตัวชี้วัดบางอย่างและความรับผิดชอบบางอย่างในแง่ของการเข้าถึงตัวชี้วัดเป้าหมายเหล่านี้ และหนึ่งในนั้นคือการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน นั่นจึงสําคัญมาก

“เมื่อเวลาผ่านไป จํานวนนักกีฬาหญิงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้เพิ่มขึ้นสัดส่วนจาก 11.4% ของนักกีฬาในปี 1960 เป็น 28.9% ในปี 1996 จนเป็น 44.2% ในปี 2016 และ 50% ในปี 2024”

 

 

 

ใช้เวลากว่าหนึ่งศตวรรษ ที่เมืองหลวงของฝรั่งเศส คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้เพิ่มสัดส่วนนักกีฬาชายและหญิงจํานวนเท่า ๆ กันจะแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย เพราะมีนักกีฬาชาย 5,630 คนและนักกีฬาหญิง 5,416 คน เข้าร่วมการแข่งขันในปารีส สัดส่วนจำนนนักกีฬาผู้หญิง 49% ของประชากรนักกีฬาทั้งหมด แต่ยังถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการแสดงออกถึงความความเท่าเทียมทางเพศในกีฬา เชื่อมั่นในศักยภาพของผู้หญิง

มิเคเล่ ดอนเนลลี (Michele Donnelly) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการกีฬาที่มหาวิทยาลัย Brock ผู้เชี่ยวชาญความเท่าเทียมทางเพศในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกล่าวกับ CNN Sport ว่า ความเท่าเทียมกันเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกัน ที่นอกจากตัวเลขแล้ว ควรจะเพิ่มด้านของสถานะการยอมรับของนักกีฬา นอกจากนี้ประสบการณ์ที่ยังคงขาดหายไปจากประสบการณ์ส่วนใหญ่ของนักกีฬาในการแข่งขัน และการสร้างประสบการณ์ให้นักกีฬาเห็นถึงความสำคัญของการยอมรับในความเป็นผู้หญิง

โมเรล แมคเคน (Morelle McCane) นักมวยโอลิมปิกของสหรัฐฯ บอกกับ CNN ว่า ที่ผ่านมามีการต่อสู้อย่างหนักเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันที่นี่ จึงต้องการขอบคุณทุกคนในอดีต ที่มีส่วนในการร่วมกันต่อสู้ ทำให้เห็นถึงความรักและห่วงใยที่มี เพื่อสิทธิ์ของนักกีฬาที่เป็นผู้หญิง ถือเป็นสิ่งที่สวยงาม

 

 

 

เพิ่มนักพากย์กีฬาหญิง -โค้ช

ทั้งนี้ ผู้จัดยังได้จัดตารางการออกอากาศใหม่เพื่อให้กิจกรรมของผู้หญิงดําเนินไปในช่วงเวลาที่มีการชมสูงสุด จึงมีการเพิ่มจำนวนนักพากย์กีฬาสัดส่วน 40% เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในทุกระดับ และเกิดมุมมองหลากหลายแตกต่าง ยุติธรรม ในการออกอากาศ รวมไปถึงการพัฒนาผู้ฝึกสอนและผู้นำหญิง ที่จะเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น จากที่ผ่านมา มี 13%ในปี 2020 ที่โตเกียว

นอกเหนือจากการฝึกสอน IOC กำลังทำงานร่วมกับสหพันธ์นานาชาติเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ตัดสินและกรรมการหญิง ในหลากหลายกีฬา ประกอบด้วย เทนนิส, ไตรกีฬา, พายเรือ, แล่นเรือใบ และฮอกกี้ ที่มีจำนวนการเป็นตัวแทนหญิงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ในหมู่เจ้าหน้าที่ในการแข่งบัน ปารีส 2024

ที่มา

https://olympics.com/ioc/news/genderequalolympics-paris-2024-making-history-on-the-field-of-play#


https://edition.cnn.com/2024/07/26/sport/olympic-games-gender-parity-paris-2024-spt-intl/index.html