ไทยยูเนี่ยน เดินกลยุทธ์เปลี่ยนน่านน้ำมหาสมุทร SeaChage เข้าเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตามCDP ได้ระดับB สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก เผย 4 ด้านติดA ติด ท็อป10% ESG Score
การเปิดเผยข้อมูลตามกรอบการประเมิน Carbon Disclosure Project (CDP) ถือเป็นหลักเกณฑ์ขององค์กรประเมินด้านความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก ซึ่ง CDP คือ องค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไร มีหน้าที่พัฒนาระบบการตรวจวัด รายงาน และเปิดเผยข้อมูล พร้อมกับจัดทำรายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการบริหารความเสี่ยงในภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล สร้างความเข้าใจ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2022 (ปี 2566) ที่ผ่านมา มีองค์กรจำนวนเกือบ 18,700 องค์กร เข้าร่วมการรับการประเมินเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมของพวกเขาผ่าน CDP
CDP ได้ร่วมมือกับพันธมิตร Down Jones Sustainability Indices -DJSI) ส่งเสริมมาตรฐานแนวทางการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ กลุ่มก๊าซเรือนกระจกให้กับนักลงทุน ได้ตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความยั่งยืน มีการบริหารความเสี่ยงในด้านผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
ไทยยูเนี่ยน ในฐานะผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ1 ของโลก ได้วางกลยุทธ์ความยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2559 และมีการปรับปรุงยกระดับในปี 2566 ภายใต้ “SeaChange@2023” สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับมหาสมุทร เพื่อกลับมาฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ นำความอุดมสมบูรณ์ให้คืนสู่ท้องทะเล จึงเข้าร่วมกับการพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
ประเมินจาก CDP เป็นครั้งแรก
นายอดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มความยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยยูเนี่ยนเข้าร่วมการประเมินจาก CDP ในปีนี้เป็นครั้งแรก และได้รับผลการประเมินในระดับระดับ B ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยขององค์กรในภูมิภาคเอเชียและระดับโลกซึ่งอยู่ในระดับ C และสูงกว่าค่าเฉลี่ยการประเมินภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ในระดับ B-
ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับระดับ A ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
-การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3)
-เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
-โครงการริเริ่มเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
-การกำกับดูแลด้วยธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ การประเมินจาก CDP มีหลักเกณฑ์ยึดถือด้านความโปร่งใสและการดำเนินการ ซึ่งมีบริษัทฯ ที่เข้าร่วมกว่า 21,000 แห่ง นำข้อมูลจากตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่าและความมั่นคงของน้ำ
นายอดัม กล่าวว่า บริษัทได้วางเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42 %ในขอบเขตที่ 1 , 2 และ 3 (Scop1-2-3) ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยทั้งสองเป้าหมายได้รับการตรวจสอบโดยองค์กร Science Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงของปารีสโดยตรง
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทวีความรุนแรงและส่งผลต่อระบบนิเวศ และด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ที่เราจัดสรรงบประมาณไว้ 7,200 ล้านบาท หรือกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับในปี 2565 และได้ประกาศไปเมื่อกลางปี 2566 จำนวน 11 ข้อ ที่ครอบคลุมการดูแลทั้งผู้คนและโลกอย่างยั่งยืน”
ติด 10% ESG Scores
นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยน ยังเป็นหนึ่งในบริษัทฯ ที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่โดดเด่นและได้รับการยอมรับระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับรายชื่อใน S&P Global Sustainability Yearbook 2024 มีคะแนนสูงสุดระดับ 10% (Top 10% S&P Global ESG Scores) ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
สำหรับหลักเกณฑ์ ESG Scores ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร มีการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านโภชนาการและสุขภาพ ด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
โดยใช้หลักเกณฑ์สอดคล้องกันจาก S&P Global ในข้อมูลด้านการเงินและการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก
โดยในปี 2566 มีบริษัท เข้าร่วมการประเมินผลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่เรียกว่า Corporate Sustainability Assessment (CSA) มากกว่า 9,400 แห่ง และมีบริษัทเพียง 759 แห่ง ที่ผ่านการประเมินและได้รับการจัดอันดับรายชื่ออยู่ใน Sustainability Yearbook ประจำปี 2024 (2567)
ผลการประเมินจาก CDP และ S&P Global เป็นอีก 2 การประเมินดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืนระดับโลกที่ไทยยูเนี่ยนได้รับ นอกเหนือจากการได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ DJSI เป็นปีที่ 10 ติดต่อกันในปี 2566 และยังครองอันดับ 1 ดัชนีอาหารทะเลยั่งยืน Seafood Stewardship Index (SSI) ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืนและเป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ