กระแสดี พร้อมเดินหน้าต่อ ! ‘Sea (ประเทศไทย)’ กางบอร์ดเกมการเงิน Wishlist เกมสนุก ปลูกฝังวินัยการเงินให้เด็กไทย ตั้งเป้าปี 67 เตรียมแจกฟรีอีก 500 กล่อง ขยายผลสู่บุคลากรการศึกษาและเยาวชน
คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ยังขาดทักษะความรู้เรื่องการเงิน ปัญหาเหล่านี้จุดประกายให้ Sea (ประเทศไทย) ยักษ์ใหญ่ที่มี 3 ธุรกิจหลักในไทย ทั้งเกมออนไลน์ Gareena , แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และธุรกิจให้บริการทางการเงินดิจิทัล SeaMoney เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้เยาวชนตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสร้างผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีและลดโอกาสการสร้างหนี้เสียในอนาคต
จึงนำมาสู่ความร่วมมือกับ Wizards of Learning สถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ และ The Money Coach พัฒนาบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” ซึ่งล่าสุด ได้มีการจัดเวิร์คช็อปฝึกอบรมคุณครู ให้สามารถนำบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เริ่มนำร่องนำบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้แล้วในกว่า 20 โรงเรียน
พุทธวรรณ สุภัทรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร Sea (ประเทศไทย) เล่าว่า บอร์ดเกม Wishlist ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักเรียน โดยเฉพาะด้านการกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เรื่องการเงินที่เข้าใจยาก สิ่งใกล้ตัวที่ต้องมีวินัยและการวางแผนตั้งแต่รากฐานชีวิต
จุดเด่นของที่คุณครูพบว่า บอร์ดเกมการเงิน Wishlist เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยสร้างประสบการณ์จำลองที่ช่วยให้เยาวชนที่ยังมีประสบการณ์ทางการเงินค่อนข้างจำกัด ได้ทำความรู้จักกับภาพรวม “จักรวาลทางการเงิน” ความสนุกสนานที่เกิดขึ้นระหว่างเกมทำให้สังเกตเห็นพัฒนาการที่ชัดเจน เด็กได้รู้จักวิธีการบริหารจัดการเงินภายในเกมระหว่างการเล่นรอบแรกและรอบถัด ๆ ไป นี่คือพัฒนาการที่เกิดขึ้นระหว่างเกม ที่เป็นทักษะในการวางแผนชีวิต
การเพิ่มพูนความรู้ เด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้จากการสังเกตวิธีการจัดการการเงินของเพื่อนร่วมเกมอีกด้วย นับเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ช่วยเปิดมุมมองเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรเงินได้อย่างเป็นธรรมชาติ เริ่มมีการจัดการทางการเงินที่ดีขึ้น มีการคิดวิเคราะห์และวางแผนทางการเงินที่ระมัดระวังและตอบโจทย์ ‘รายการความฝัน’ ซึ่งเป็นภารกิจภายในเกมมากขึ้น
ถอดบทเรียนจากเกมสนุกสอดแทรกสถานการณ์ชีวิตจริง
ในระหว่างเกม คุณครู จะทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้(Learning Facilitator) ช่วยถอดบทเรียน ก็จะทำให้ผู้เล่นเชื่อมโยงสถานการณ์ภายในเกมเข้ากับชีวิตจริงได้ และเข้าใจว่าจะนำประสบการณ์จากเกมไปปรับใช้ในการจัดสรรเงินในชีวิตประจำวันของพวกเขาอย่างไร
ปลายทาง ล่าแต้มตาม “ความฝัน” เหนือ “เงินตรา”
กลวิธีของการสร้างบทเรียนจาก เล่นบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist”มีโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ผู้เล่นได้พลิกแพลงวางแผนโดยเริ่มต้นจาก
– ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับบทบาทเป็นเด็กวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตช่วงปิดเทอมใหญ่ที่ต้องทำรายการความฝัน Wishlist ที่แตกต่างกันไปตามการ์ดที่จั่วได้
-โดยผู้ชนะในเกมนี้จะไม่ใช่ผู้ที่มีเงินมากที่สุด แต่เป็นผู้ที่ได้แต้มจากการทำรายการความฝัน Wishlist ได้สำเร็จมากที่สุด
-นี่คือ บทเรียนสรุป ของปลายทาง นั่นคือ การบริหารจัดการเงินให้ดีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
สิ่งที่บอร์ดเกมการเงิน Wishlist จะพาผู้เล่นไปทำความรู้จักมีหลากหลายแง่มุม เช่น
-การจัดสรรรายรับให้มีสภาพคล่องทางการเงิน
-การแบ่งกระเป๋าเงินออมและใช้จ่าย
-การซื้อสินค้าให้เกิดความคุ้มค่าและตอบโจทย์เป้าหมาย
-การบริหารหนี้สินจากการกู้เงิน การวางแผนการผ่อนสินค้า
-การทำให้เงินงอกเงย เช่น เลือกออมเพื่อรับดอกเบี้ย หรือ เลือกทำงานเพื่อสร้างรายได้เสริม
เปลี่ยนการเงินชวนปวดหัว
สู่ปลุกความท้าทายจัดสรรการเงินสู่ชีวิต
คุณครูบรรณสรณ์ โยธินอุปไมย คุณครูโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ผู้มีส่วนสอนบทเรียนผ่านบอร์ดเกม กล่าวว่า จากการนำเกมเอาไปใช้ในกิจกรรมชมรมกับนักเรียนชั้นมัธยมต้น พบว่าเด็กนักเรียนเกิดความสนใจทันทีและต้องการที่จะเข้ามาลองเล่นแม้ว่าเนื้อหาของบอร์ดเกมจะเกี่ยวกับการบริหารเงิน ซึ่งมองในบริบทของเด็กมัธยมต้นแล้วยังคงเป็นเรื่องยากและไกลตัว
”ในช่วงแรกนักเรียนอาจจะบ่นว่าปวดหัวกับการจัดการเงินที่ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย แต่พอเล่นไปเรื่อย ๆ พวกเขาจดจ่อกับเกมมากขึ้น เห็นวิธีการเล่นที่หลากหลายจากเพื่อน และอยากกลับมาเล่นซ้ำใหม่อีกเพื่อทดลองวิธีการจัดสรรเงินใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่นักเรียนเข้าใจว่าการจัดสรรเงินนั้นมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในชีวิต หลังจากนี้จะลองนำไปสอนในกลุ่มเด็กมัธยมปลายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยที่จะต้องรับผิดชอบการทางการเงินมากขึ้น”
ทางด้าน คุณครูศิริพร ทุมสิงห์ คุณครูแนะแนว โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เผยว่า จากกิจกรรมที่ได้เวิร์กชอป ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถเริ่มนำบอร์ดเกมไปสอนเด็ก ๆ ได้หลากหลายวัย ตั้งแต่ชั้นประถม เด็กมัธยมต้น และมัธยมปลาย เพราะว่าเกมสามารถสร้างความเข้าใจได้ในหลายระดับ โดยเราสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์การสอนของตัวเอง รวมถึงความเข้าใจของเด็ก ๆ อีกด้วย ซึ่งหลังจากเล่นเกมเราสามารถต่อยอดในการให้ความรู้ หรือช่วยวิเคราะห์จุดที่พลาดการเล่นเกม เพื่อนำไปเชื่อมกับเนื้อหาเรื่องการจัดทางการเงินในวิชาเรียนได้ด้วย นอกจากเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้แล้ว การมาทำความรู้จักกับบอร์ดเกม Wishlist ในครั้งนี้ก็กระตุ้นให้คุณครูอย่างเราหันหลับมามองการจัดสรรเงินของตนเองด้วยเช่นกัน
สำหรับก้าวต่อไป Sea (ประเทศไทย) มีเป้าหมายที่จะผลักดันบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ให้เกิดการเข้าถึงในวงกว้างยิ่งขึ้น โดยเตรียมทยอยแจกบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” อีกราว 500 กล่องในปี 2567 เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชน ผ่านแหล่งการเรียนรู้ เช่น TK Park และ กิจกรรมการส่งเสริมความรู้ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับใครที่สนใจบอร์ดเกมการเงินดีๆ สำหรับเด็กแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดบอร์ดเกมWishlist ในเวอร์ชั่น Print & Play ไปเล่นได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้จาก SeaAcademy.co และสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมเกี่ยวกับบอร์ดเกม Wishlist ได้ทาง Facebook Sea Thailand