อียู คลอดระเบียบแบนสินค้าทำลายป่า ผู้ส่งออก-SME ไทยเร่งรับมือก่อนสาย

อียู คลอดระเบียบแบนสินค้าทำลายป่า ผู้ส่งออก-SME ไทยเร่งรับมือก่อนสาย


“องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าระหว่างปี 2533-2563 มีพื้นที่ป่าทั่วโลกถูกทำลายไปราว 420 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์เท่ากับ 6.25 ไร่) หรือคิดเป็น 10 % ของป่าที่เหลืออยู่ในโลกใบนี้ ที่สำคัญอัตราการสูญเสียป่ายังคงระดับความรุนแรงนี้ต่อไป

 

เท่ากับว่าทุกๆปีป่าทั่วโลกจะเสียหายไป 10 %” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในคำนำประกาศ กฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation – free products Regulation : EUDR) ของสหภาพยุโรป หรือ อียู

สหภาพยุโรป ได้เชื่อว่าเป็นผู้นำทางการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม ได้ตัดสินใจงัดมาตรการทางเศรษฐกิจมาหยุดยั้งสถานการณ์การทำลายป่าที่รุนแรงดังกล่าว เพื่อลดความสูญเสียทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และภาวะโลกร้อนที่นำมาซึ่งภัยพิบัติรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะในทั่วพื้นที่ทุกมุมโลก รวมทั้งช่วยส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs ของสหประชาชาติ

เมื่อต้นเดือน มิถุนายน 2566 อียู ได้ประกาศ กฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation – free products Regulation : EUDR) หรือ Regulation 2023/1115 โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าหรือสินค้าที่วางจำหน่ายในอียู ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 7 กลุ่ม ต้องลงทะเบียนและจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งที่มา ผู้ผลิต และพิกัดทางภูมิศาสตร์ของที่ดินที่ใช้เพาะปลูกหรือทำปศุสัตว์

สำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้อง 7 กลุ่มประกอบด้วย น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ไม้ โกโก้ กาแฟ ยาง วัว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น หนังสัตว์ ช็อกโกแลต ยางรถยนต์ ฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามกฎระเบียบฉบับนี้ มีเวลาให้ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง ได้ปรับตัวจัดเตรียมความพร้อมข้อมูลเป็นเวลา 18 เดือน ซึ่งก็เป็นเวลาที่ไม่นานนัก

ทั้งนี้อียูอยู่ระหว่างจัดระบบในการรายงาน และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น การจัดลำดับกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการทำลายป่า โดยยึดหลักการวิจัยซึ่งพบว่า ปาล์มน้ำมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า 34 % ถั่วเหลือง (32.8 % ผลิตภัณฑ์จากไม้ 8.6 % โกโก้ 7.5 % กาแฟ 7 % โค 5 % และยางพารา 3.4 % โดยการจัดกลุ่มดังกล่าวจะมีผลต่อการจับตา รวมทั้งอัตราบทลงโทษ

การออกกฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลกระทบกับผู้ส่งออกสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังยุโรปอย่างแน่นอน ดังนั้นระหว่างนี้ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งจัดเตรียมระบบข้อมูลต่างๆ รวมทั้งติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือ SME ที่แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ส่งออกโดยตรง แต่กฎระเบียบของอียูนั้นครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กที่อยู่ในห่วงโซอุปทานของสินค้า รวมทั้งเกษตรกรอีกด้วย

สำหรับกฎระเบียบ Deforestation จะไม่หยุดอยู่ที่ 7 กลุ่มสินค้า แต่จะขยายขอบเขตครอบคลุมสินค้าอื่นๆต่อไป ดังนั้นวันนี้การดูแลป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นทางเลือกที่ใครคิดจะทำหรือไม่ก็ได้ แต่ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนสังคมบนโลกใบนี้ ต้องเดินตามฉันทามติโลก แน่นอนหมายรวมถึงผู้ประกอบการไทยด้วย…

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

ประเทศสิงคโปร์ ต้นแบบของความแตกต่าง ที่ไม่แตกแยก
https://www.thaiquote.org/content/250911

Carbon Software’s แคร์โลกแบบ Real-time เทคโนโลยีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
https://www.thaiquote.org/content/250908