“ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจของคนวัยสูงอายุ เกิดจากความรู้สึกผิดหวัง การสูญเสีย การนึกย้อนกลับไปในอดีตหรือสิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิต รวมถึงความยากลำบากในการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุข มีจิตใจที่เศร้าหมอง รู้สึกสิ้นหวัง จนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
ลูกหลาน คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด จึงต้องคอยหมั่นสังเกตภาวะนี้ในผู้สูงอายุ รวมถึงต้องพยายามทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลให้รู้สึกเช่นนี้ จะได้รับมือกับภาวะนี้ได้
ทำไมผู้สูงอายุถึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยครับ
• เมื่อก่อนเคยทำงานทุกวัน แต่ปัจจุบันต้องมาอยู่เฉยๆเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยชินกับการทำงานมาตลอด บางคนก็อาจเคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โต หลายคนอาจทำงานหนักมาทั้งชีวิต พอเกษียณมาชีวิตก็เปลี่ยนสถานะมาเป็นว่างงาน จึงไม่ชินที่จะต้องมาอยู่บ้านเฉยๆ และไม่ได้ทำในสิ่งที่เคยทำมาตลอดนั่นเอง
• เหงาที่ต้องอยู่บ้านคนเดียวพอเกษียณอายุแล้วก็ไม่ได้ออกไปทำงาน กลายเป็นต้องมาใช้ชีวิตอยู่บ้านคนเดียวทั้งวัน เพราะลูกหลานออกไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือกันหมด แน่นอนว่าการอยู่บ้านในวันธรรมดาเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคย เพราะจะต้องพบกับความเงียบเหงา อ้างว้าง จนอาจทำให้นี้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่มีคุณค่าหรือไม่มีประโยชน์ได้
• ความชรามาเยือนเมื่ออายุมากขึ้น แน่นอนว่าร่างกายก็จะไม่เหมือนสมัยตอนที่ยังเป็นหนุ่มสาว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายถือว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดของคนวัยนี้ เช่น ความจำที่แย่ลง หูตึง สายตามองไม่ค่อยเห็น มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงและพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น จนกลายเป็นความรู้สึกที่ต้องโทษตัวเอง เครียด หงุดหงิด รวมถึงเกิดภาวะซึมเศร้าจากความเสื่อมของสมองและระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลเหมือนเดิม
• บทบาทความสำคัญลดลงพอเกษียณอายุแล้ว จากเคยทำงานก็ออกมานั่งๆนอนๆอยู่บ้านโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบอะไร ก็อาจทำให้รู้สึกว่าบทบาทความสำคัญของตัวเองลดลง เพราะเมื่อก่อนเคยเป็นเสาหลักของครอบครัว จากที่เคยช่วยเหลือตัวเองได้ดีกลับต้องมาพึ่งพาคนอื่น เงินที่เคยหาใช้ได้เองก็ต้องรอจากลูกหลานแทน ซึ่งก็อาจทำให้รู้สึกเคว้งคว้างสิ้นหวังจนคิดว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ เป็นภาระให้คนอื่น และยิ่งถ้าคนในครอบครัวไม่สนใจ ไม่มีสังคม ก็อาจจะยิ่งแย่หนักกว่าเดิม
• การพลัดพรากสูญเสียยิ่งผู้สูงอายุคนใดที่มีอายุยืน ก็จะยิ่งมีโอกาสได้เห็นคนรอบข้างจากไปทีละคน ตั้งแต่ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คู่ชีวิต เพื่อนฝูง นอกจากนี้ยังต้องรับมือกับการที่เห็นลูกหลานของตัวเองจากไปก่อนวัยอันควรอีกต่างหาก ส่งผลให้ต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพัง ทำให้ขาดที่พึ่งทางใจ
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือความเสี่ยงที่อาจทำเกิดโรคซึมเศร้ากับผู้สูงอายุ ซึ่งคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดต้องคอยสังเกตและดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอด้วยการ
• ดูแลเรื่องอาหารอย่างใกล้ชิดโดยให้ผู้สูงอายุทานอาหารอ่อนๆ และย่อยง่าย เน้นอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล เพื่อเพิ่มพลังงาน แต่ก็ต้องคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสมด้วย
• หากิจกรรมทำร่วมกับผู้สูงอายุเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุมีการตอบสนอง เพราะการพูดคุยของคนในครอบครัว รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถช่วยลดความเบื่อหน่ายให้กับผู้สูงอายุได้
• สร้างความผ่อนคลาย ช่วยเรื่องการนอนหลับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักเจอปัญหานอนไม่หลับ อาจใช้วิธีเปิดเพลงที่มีจังหวะช้าๆ นุ่มนวล เพื่อสร้างความผ่อนคลาย การเลือกเตียงนอนก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้รู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ง่ายขึ้น
• พยายามเข้าใจผู้สูงอายุให้มากๆพูดคุยถึงปัญหาที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญอยู่ คอยรับฟัง ให้กำลังใจ และแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ เป็นการทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยู่คนเดียว นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดความตึงเครียดให้กับผู้สูงอายุอีกด้วย
เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากโรคซึมเศร้า กลับมามีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นได้แล้วแต่ถ้าลองทำตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม.
ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
ม.มหิดล เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ที่มากับฤดูหนาว
https://www.thaiquote.org/content/249288
กินไม่หยุด กินไม่รู้จักอิ่ม อาจเป็นโรคต้องรักษา
https://www.thaiquote.org/content/249279
เตือนระวัง! PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ดวงตา
https://www.thaiquote.org/content/249258