เอกชนเสนอบินปล่อยน้ำบรรเทาฝุ่นพิษ ฟรี! แพทย์ชี้ ควันบุหรี่ร้ายกว่าดีเซล

เอกชนเสนอบินปล่อยน้ำบรรเทาฝุ่นพิษ ฟรี! แพทย์ชี้ ควันบุหรี่ร้ายกว่าดีเซล

วันนี้ (31 ม.ค.62) รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อ Weerachai Phutdhawong ระบุว่า
แชร์ให้ถึงอัศวิน….
========
ไอเดียของ กัปตันปิยะ ตรีกาลนนท์ CEO บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด ที่ยินดีบินให้ “ฟรี” ไม่คิดค่าใช้จ่าย ขนน้ำได้เที่ยวละ 140 กก. ต่อลำ โดยเราสามารถบินเกาะหมู่หน้ากระดาน 10-20 ลำ (wing span 10เมตร บินห่างกันระหว่างลำข้างละ20เมตร)กินพื้นที่หน้ากระดานได้คราวละ 1,000เมตร(1กิโล) เพื่อปล่อยละอองน้ำนาน 20นาที นั่นหมายถึงได้พื้นที่ทางยาว 40กิโลเมตร ทางกว้าง1กิโลเมตรต่อเที่ยว
วันนึงบินได้4-5เที่ยวสบายๆครับ
========
ขอแค่น้ำและอุปกรณ์ใส่น้ำ และรัฐอำนวยความสะดวกด้านกฏหมายการบิน อ.อ๊อด จะร่วมบินไปพร้อมกับทีมนี้ครับ
========
เครื่องบินมี 47 ลำ
========
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2088316267925339&set=a.131146436975675&type=3&theater

ควันบุหรี่ อีกหนึ่งตัวการวิกฤติฝุ่น PM 2.5
นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยในการแถลงข่าว “ถอด N95 ร่วมแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว” จัดโดยแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2562 ตอนหนึ่งว่า ก่อนหน้านี้ควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ถูกยกให้เป็นหนึ่งในตัวการของปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แต่ส่วนที่ยังไม่มีการพูดถึงคือควันจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่คนอาจคิดว่าไม่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จากงานวิจัยที่มีการทดลองเปรียบเทียบ โดยนำรถยนต์ดีเซลติดเครื่องไว้ภายในห้องปิด เป็นเวลาต่อเนื่อง 30 นาที เทียบกับการจุดบุหรี่ทิ้งไว้จำนวน 3 มวน ในสภาพเดียวกัน แล้วทำการวัดระดับ PM 2.5 ผลที่ปรากฏพบว่าควันจากบุหรี่เพียง 3 มวน มีระดับค่า PM 2.5 สูงถึง 591 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร (มคก./ลบ.ม.) ขณะที่ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ดีเซลวัดได้ 250 มคก./ลบ.ม.เท่านั้น
นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า แม้แต่ในบุหรี่ไฟฟ้าเองก็เคยมีการทดสอบในต่างประเทศ โดยมีการตรวจวัดค่า PM2.5 ในโรงแรมแห่งหนึ่งที่มีการจัดงานโปรโมทบุหรี่ไฟฟ้าขึ้น โดยตรวจทั้งก่อนและหลังการจัดงาน พบว่าในระหว่างจัดงานบริเวณดังกล่าวมีค่า PM 2.5 สูงกว่าปกติถึง 800 มคก./ลบ.ม. และแม้จะผ่านไปภายหลังจัดงาน 1 วัน ค่าก็ยังลดลงไม่เท่าปกติ แสดงให้เห็นว่ายังคงมีตกค้างหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมด้วย
“เราอาจคิดว่าบุหรี่ที่มีควันนิดเดียวอาจสร้างฝุ่นไม่มาก แต่ความจริงปรากฏให้เห็นแล้วว่าบุหรี่มีส่วนเพิ่ม PM 2.5 มากกว่าที่เราคิดไว้ ซึ่งในไทยเองมีนักสูบมากถึง 10.9 ล้านคน หรือสูบในทุกๆ 6 คน การจุดบุหรี่มากกว่า 10 ล้านมวนในแต่ละวันจะเพิ่มปริมาณฝุ่นมากเพียงใด ดังนั้นผู้ที่สูบอยู่จึงสามารถช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้นได้ รวมถึงทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย ไม่ไปเพิ่มฝุ่นละอองที่เราได้รับในแต่ละวันมากอยู่แล้ว” นพ.สุทัศน์ กล่าว

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
https://www.thaiquote.org/content/64544