มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. ฉลองครบรอบ 50 ปี เปิดตัวของที่ระลึกการกุศล จากเยาวชนพิเศษส่งต่อความสุขยั่งยืนสู่สังคม

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. ฉลองครบรอบ 50 ปี เปิดตัวของที่ระลึกการกุศล จากเยาวชนพิเศษส่งต่อความสุขยั่งยืนสู่สังคม

ซี.ซี.เอฟ.บ่มเพาะเยาวชนและเด็กด้อยโอกาสมายาวนานกว่า 1.3 ล้านคน ให้มีทักษะ ความคิด แก้ปัญหา เอาตัวรอดและเติบโตมีอนาคตยั่งยืน ครบรอบ 50 ปี ร่วมส่งต่อหัวใจแห่ง ‘ผู้ให้’ ผ่านเยาวชนพิเศษชุด ‘Together’ ประดิษฐ์ของที่ระลึก เพื่อให้มีทักษะอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้ ในภาวะสังคมเปราะบาง

 

 

เด็กเยาวชนทุกคนคืออนาคตของสังคม และประเทศ จึงสมควรได้รับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานการศึกษา และการเข้าถึงโอกาสในการยกระดับพัฒนาศักยภาพ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. (Community Children Foundation – CCF) มีภารกิจหลักในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ และการพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนการส่งเสริมสิทธิเด็กในการทำงานร่วมกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อปกป้องสิทธิของเด็ก ตลอดจนการพัฒนาชุมชน เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชน สร้างโอกาสในการทำงานและการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับผู้ปกครองและชุมชน

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่เด็กทุกคนมีโอกาสเติบโตและพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

ในปีนี้ครบรอบ 50 ปี มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ได้เปิดตัวของที่ระลึกการกุศลชุดพิเศษ ‘กระเป๋าผ้า Together’ และพวงกุญแจ ‘Together’ ที่ออกแบบในรูปแบบ Collaboration ระหว่างศิลปินเยาวชนบุคคลออทิสติกต้นแบบประจำปี 2567 

อเล็ก ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ เยาวชนพิเศษที่มีหัวใจศิลปะและเด็ก ๆ ในมูลนิธิจากโครงการปั้นเยาวชนคนมืออาชีพ ได้พัฒนาผลงานนี้โดดเด่นด้วยดีไซน์ของที่ระลึกน่ารักและมีเอกลักษณ์ เพื่อเป็นของขวัญที่มาพร้อมความหมาย  เหมาะสำหรับเป็นของขวัญที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและแบ่งปันแก่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการ ‘Together’ เป็นสื่อถึงการสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนพิเศษในการก้าวสู่เส้นทางแห่งอาชีพและการสร้างสรรค์ ผู้ที่มองหาของขวัญปีใหม่ที่น่ารักและมีความหมายสามารถเลือกกระเป๋านี้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการมอบความสุขให้ทั้งผู้ให้และผู้รับ

 

 

 

ทุ่มเทสร้างโอกาสให้เด็กด้อยโอกาส 

พร้อมเดินหน้าสู่อนาคตเพื่อความยั่งยืน

ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสกว่า 1.3 ล้านคน ไม่ว่าจะเป็นด้านโภชนาการ สุขอนามัย และการศึกษา ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการอุปการะเด็กและโครงการพิเศษ ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพอย่างครบวงจร

ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดคือเยาวชนในอุปการะหลายคนสามารถเติบโตจนมีอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ อีกทั้งยังมีผู้ที่กลับมาทำหน้าที่ ‘ผู้ให้’ สนับสนุนการพัฒนาสังคมและเยาวชนรุ่นต่อไป มูลนิธิยังคงมุ่งมั่นสู่ทศวรรษใหม่ด้วยการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมไทยเพื่อความยั่งยืนและอนาคตที่มั่นคง

เด็กควรมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับอนาคต ทั้งด้านการคิด การแก้ปัญหา และการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากบทบาทของโรงเรียนแล้ว เด็กเองก็ต้องมีแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพราะโลกในปัจจุบันไม่เหมือนเดิม

 

 

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ๆ เปิดเผยว่า ในโอกาสนี้ มูลนิธิฯ จึงได้จัดเตรียมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมหลากหลายกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น อาทิ งานระดมทุนเพื่อการกุศล งานนิทรรศการ ‘5 ทศวรรษเพื่อเด็กไทย’ และกิจกรรมแสดงผลงานที่สร้างสรรค์ของเด็ก เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งกิจกรรมนี้มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ ได้ร่วมกับ อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ เยาวชนออทิสติกที่ค้นพบตัวเองจากโลก จินตนาการออกแบบของที่ระลึกการกุศล ‘Together’ ผลิตในรูปแบบของกระเป๋าผ้าและพวงกุญแจ เป็น Collaboration 

ผลงานการออกแบบจาก เยาวชนออทิสติกต้นแบบปี 2567 ผสานจินตนาการร่วมกับเด็ก ๆ ในโครงการ ‘ปั้นเยาวชนคนมืออาชีพ’ ที่ถูกบ่มเพาะและได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฯ พัฒนาทักษะ พื้นฐานในการประกอบอาชีพ จนสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพและมีรายได้เสริมของตนเองได้ ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ งานประดิษฐ์พวงกุญแจแมว, จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานประดิษฐ์พวงกุญแจกระต่าย และจังหวัดยโสธร งานประดิษฐ์พวงกุญแจปลา เป็นต้น

 

 

 

อยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม 

มีความสุขและสดใส

อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ ศิลปินเยาวชนบุคคลออทิสติกต้นแบบ ประจำปี 2567 สื่อถึงงาน Together ว่า คือสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไม่ว่าใครจะมีความแตกต่างอย่างไร เช่นเดียวกับภาพ Digital Art แนวคิดของภาพนี้ หูเป็นกระต่ายหน้าเป็นเสือ และแมว ลายบนหน้า เป็นปลา เป็นภาพที่รวมสัตว์ สัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีกที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขบนฟ้าและในทะเล 

ปัจจุบัน อเล็ก กำลังศึกษาอยู่คณะมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยความมุ่งมั่นของครอบครัว อเล็กได้รับการเลี้ยงดูและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข แม้ต้องเผชิญข้อจำกัดทางร่างกายตั้งแต่เกิด แต่เขาสามารถสร้างสรรค์จินตนาการผ่านงานเขียน จนกลายเป็นนิยายออนไลน์เรื่องแรก ‘Paper Heart (หัวใจกระดาษ)’ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก 

ในปี 2566 ครอบครัวของอเล็กได้จัดนิทรรศการ ‘โลกของอเล็ก’ ภายใต้แนวคิด You can do it, I can do it. งานแสดงเพียง 3 วัน ภาพวาดของเขาจำนวน 17 ภาพขายหมด โดยภาพที่ชื่อเดียวกับแนวคิดงานต้องจัดทำซ้ำถึง 5 ครั้ง เพราะมีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก

ทุกคนอาจจะเกิดมาไม่เหมือนกัน  เหมือนกับตัวผมเองนี่แหละ  ผมอยากให้ ทุกคนค้นพบสิ่งที่ชอบและลงมือทำ  ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร จริง ๆ  และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it”

 

 

แม้มิได้เป็นดอกซากุระ ก็ไม่ต้องร้องไห้

แม้นเกิดเป็นดวงตะวันไม่ได้ ก็จงเป็นดวงดาวเถิด

รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. กล่าวเสริมว่า การที่ประเทศไทยที่จะเป็นสังคมน่าอยู่ ทุกคนควรมีอาชีพที่สุจริตและยั่งยืน ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา แต่ควรได้รับการฝึกฝนทักษะที่เหมาะสมตั้งแต่ในโรงเรียน โดยการเรียนรู้ทักษะอาชีพจะช่วยให้เยาวชนสามารถสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานเสริม 

ทั้งนี้ ทั้งภาครัฐ โรงเรียน และชุมชน ควรร่วมมือกันสนับสนุนเด็ก ๆ ให้มีทักษะการทำงาน แนวคิดนี้เน้นให้เด็ก ๆ มีความฝัน มุ่งมั่น และเห็นคุณค่าในตัวเองเสมอ ไม่ว่าจะเผชิญเส้นทางแบบใด

“แม้มิได้เป็นดอกซากุระ ก็จงอย่ารังเกียจที่จะเกิดมาเป็น บุปผาพันธุ์อื่นเลย 

ขอเพียงแต่ให้เป็นดอกที่งามที่สุด ในพันธุ์ของเรา ภูเขาฟูจิมีอยู่ลูกเดียว แต่ภูเขาทั้งหลายก็หาไร้ค่าไม่  แม้นเกิดเป็นดวงตะวันไม่ได้ ก็จงเป็นดวงดาวเถิด

เป็นอะไรก็จงเป็นเสียอย่างหนึ่ง แต่เป็นอะไรไม่ใช่สิ่งสำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า จงเป็นอย่างดีที่สุด ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรก็ตาม”  เป็นสุภาษิตญี่ปุ่น ในนิยาย เรื่องข้างหลังภาพ 2497 ดร. วรากรณ์ กล่าว

 

สนับสนุนของที่ระลึก ‘กระเป๋า together’

ที่ www.ccfthai.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 747 2600 หรือ 089 029 2093 / email: [email protected] / LINE: @ccfthai